แผนการสอน ที่ใช้ Best practice นำทาง


ในภาคการศึกษานี้ ผมจึงจะลองใช้กรณีศึกษา สดๆใหม่ๆ ที่ผมสรุปประเด็นการพัฒนาแบบ “บูรณาการ” ที่เป็นจริง เป็น successful case ที่เป็นสามารถใช้เป็นสื่อนำการเรียนรู้แนวทาง การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ ไว้ใน Utopia Utopai (สวรรค์เมืองปาย) เป็นกรณีตั้งต้น

 วันนี้เป็นวันแรกที่ผมจะสอนวิชา การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ ประจำภาคปลายปีการศึกษา ๒๕๕๐ สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ชั้นปีที่ ๓ จำนวนเกือบสองร้อยคน 

 071107+010

เมื่อภาคการศึกษาที่แล้วผมลองใช้ ประเด็นปัญหานำทางในการสอน  โดย

  • ให้นักศึกษาแจกแจงปัญหากันเอง
  • ผมช่วยสรุปประเด็นและเชื่อมโยงให้เห็น สมุทัย
  • แล้วย้อนมาหาเป้าหมายของแผน นิโรธ
  • จนถึง มรรค เป็นภาคทางเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา
  • แล้วจึงสรุปประเด็นการเรียนรู้ทั้งหมดด้วยทฤษฏีและหลักการทำงานกับชุมชน และหน่วยราชการทุกภาคส่วน ว่ามีขั้นตอน อุปสรรค และแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร

 ปรากฏว่านักศึกษาส่วนหนึ่งที่ ตั้งท่าจดอย่างเดียว ตามไม่ค่อยทัน  ตั้งแต่ในเชิงปัญหาของพื้นที่ และการจัดการที่นักศึกษาจำนวนหนึ่ง

 

  • ไม่เข้าใจประเด็นและกลไกของปัญหา
  • และไปติดอยู่กับปัญหาแบบฉาบฉวย ไม่ใช่แก่นแท้
  • ที่ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหา จนเข้าใจสมุทัย ได้
  • การกำหนดเป้าหมายในการแก้ไข จึงยิ่งไม่ตรงประเด็น
  • เมื่อผมดึงเข้าทฤษฎีและหลักการ ก็งง และจับอะไรไม่ได้
  • ทำให้ตอบข้อสอบ
    • แบบวัดความจำได้
    • แต่วัดความเข้าใจไม่ค่อยได้
    • และข้อสอบที่วัดการประยุกต์แทบไม่ได้เลย

 หลังการประเมินการสอนโดยผู้เรียนแล้ว ทำให้ผมคิดว่าจะต้องลองปรับวิธีการสอนใหม่ เพื่อให้มีสัดส่วนของการบรรลุผลความสำเร็จในการเรียนรู้ได้สูงกว่าเดิม <ul style="margin-top: 0cm"><ul style="margin-top: 0cm"><ul style="margin-top: 0cm">

  • ทั้งเชิงปริมาณ (คนที่เข้าใจ และนำไปปรับใช้) และ
  • คุณภาพ (ระดับความเข้าใจ และระดับความสามารถในการประยุกต์)
  • </ul></ul></ul><p> เมื่อก่อนหน้านี้ ผมเคยใช้วิธีการ </p><p> </p><ul style="margin-top: 0cm">

  • นำเสนอทฤษฎีในเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อการเรียน
  • หลักการ เทคนิค วิธีการทำงาน แบบเดียวกับขั้นตอน ที่เขียนไว้ในตำราแทบทุกเล่ม
  • แล้วจึงค่อยอธิบายเชิงประยุกต์เข้าสู่การใช้งาน ประเด็นปัญหา ทางออก และแนวทางแก้ไข
  • </ul><p></p><p>ปรากฏว่า นักศึกษาที่เรียนส่วนใหญ่ </p><p> </p><ul style="margin-top: 0cm">

  • ท่องจำได้ดีอย่างเป็นขั้นตอน
  • แต่ ไม่สามารถนำความรู้ไปใช้งานจริงได้
  • และ เมื่อวัดผลแล้ว
    • สามารถตอบข้อสอบแบบท่องได้
    • แต่ตอบข้อสอบแบบวัดความเข้าใจไม่ค่อยได้
    • และไม่สามารถตอบข้อสอบที่วัดการประยุกต์ใช้ได้

    </ul><p> ที่ผมเลิกใช้วิธีการนี้ มาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว เพราะผมไม่เห็นด้วยกับการเรียนแบบท่องจำ แล้วนำความรู้ไปใช้ไม่ได้ </p><p align="center">071107+003</p><p align="center">ดังนั้น ในภาคการศึกษานี้ ผมจึงจะลองใช้กรณีศึกษา สดๆใหม่ๆ ที่ผมสรุปประเด็นการพัฒนาแบบ บูรณาการ ที่เป็นจริง เป็น successful case ที่เป็นสามารถใช้เป็นสื่อนำการเรียนรู้แนวทาง การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ ไว้ใน Utopia Utopai (สวรรค์เมืองปาย) เป็นกรณีตั้งต้น </p><p></p><p>ที่แสดงถึง  ความเหมาะสมของ </p><blockquote>

    ·        ระบบนิเวศเดิม

    ·        การจัดการที่ดินและทรัพยากรที่ดิน

    ·        การจัดการน้ำ และการจัดการแหล่งน้ำ  

    ·        การทำฝายหินชะลอการไหลของน้ำ

    ·        ระบบการทำการเกษตร ทั้งดังเดิม และสมัยใหม่

    ·        ระบบสังคม ประชากร ชนเผ่า

    ·        ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม

    ·        และการพัฒนาการท่องเที่ยงของเมืองปาย 

    </blockquote><p>ที่เป็น Best practice ของการจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ </p><p>โดยเฉพาะ </p><p>ประเด็นแผนสนับสนุนการพัฒนาเชิงการท่องเที่ยวนั้น เมืองปายได้จัดลงตัวได้อย่างพอเหมาะ </p><blockquote>

    ·        มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า น้ำ สังคม เครื่องและระบบอำนวยความสะดวก นานาประการ

    ·        ระบบบริการนักท่องเที่ยวทุกรูปแบบ

    ·        ระบบธุรกิจบริการ ที่พัก อาหาร ความปลอดภัย ของที่ระลึก

    ·        ระบบทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดูแล และตกแต่งไว้เป็นอย่างดี

    ·        ระบบการทำการเกษตรที่ทำให้เกิดทิวทัศน์สวยงามน่าชม

    ·        ระบบชุมชนท้องถิ่นที่สวยงามแปลกตา

    ·        ระบบศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ หลากหลายที่สอดคล้องกลมกลืน เรียบง่าย แต่ลึกซึ้ง สวยงาม 

    </blockquote><p>แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องคิดต่อ แบบเป็นจริงว่า สวรรค์เมืองปาย (Utopia Utopai) นั้น จะเป็นสาวสวย สะพรั่ง ไปได้อีกนานแค่ไหน </p><p>ที่ผมจะดึงเข้าประเด็นปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด ของกิจกรรมที่แม้จะเป็น Best practice อยู่ในปัจจุบัน  </p><p>เช่น  </p><p>จากการประเมินเชิงทรัพยากรน้ำ  </p><blockquote>

    ·        ตอนนี้ก็เริ่มเกิดการแก่งแย่งขาดแคลน และปนเปื้อนของแหล่งน้ำ

    ·        ที่อาจเป็นชนวนจำกัดความร่วมมือของผู้เสียเปรียบในสังคม

    ·        แต่ก็ยังมีข้อเสนอทางออกในการจัดระบบประปาชุมชน แทนระบบประปาภูเขา

    ·        โดยภาพรวมก็จะทำให้ลดโอกาสของการเกิดปัญหาได้ 

    </blockquote><p>ในเชิงสังคม</p><blockquote>

    ·        แรงดึงดูดของรายได้นอกภาคเกษตร อาจทำให้กิจกรรมในภาคเกษตรลดลง

    ·        ที่จะทำให้ภูมิทัศน์เชิงเกษตรลดลงหรือหายไป

    ·        ที่อาจจำเป็นต้องวางแผนด้านนี้ให้ชัดเจน ทั้งในระดับชุมชน เมือง และทั้งพื้นที่ 

    </blockquote><p>และประเด็นที่น่าจะสำคัญ ที่มีผลกระทบค่อนข้างรุนแรง </p><ul>

  • แล้วจึงจะดึงประเด็นเข้าสู่อุปสรรคและแนวโน้มของปัญหา
  • และแนวทางในการจัดการทั้งในปัจจุบันและอนาคต 
  • </ul><p>ที่ผมเชื่อว่าจะทำให้นักศึกษา</p><ul>

  • ติดตามเรื่อง
  • เข้าใจบริบทของ การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ และ
  • น่าจะเริ่มมองเห็นประเด็นทางวิชาการได้ดีกว่าเดิม 
  • </ul><p>และ ในที่สุดผมจะปิดท้ายด้วยวิธีการทำงานแบบมีส่วนร่วม กับทุกภาคส่วนแบบบูรณาการ </p><p>เช่น </p><p>เรื่องนี้ผมได้มีโอกาสหารือกับท่าน ผอ. พิทักษ์ อินทพันธ์ ว่าที่ ผอ. สำนักงานพัฒนาที่ดิน ที่มีภาระหน้าที่ด้านการพัฒนาที่ดิน และ ท่าน ผอ. พิสุทธิ์ ศาลากิจ แห่งกรมพัฒนาที่ดิน ที่เคยทำงานทั้งที่ปาย และปางมะผ้า </p><p>ทั้งสองท่านได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และคาดว่าจะมีโครงการมาสนับสนุนการ พัฒนาที่ดิน </p><p>ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ให้ยั่งยืนสืบไป</p><p> ทั้ง</p><blockquote><p>·        ดินและที่ดิน</p></blockquote><blockquote><p>·        น้ำ และแหล่งน้ำ</p></blockquote><blockquote><p>·        การดูแล ต้นไม้ พืชพรรณ และป่าไม้</p></blockquote><blockquote><p>·        ส่วนงานด้าน สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ นั้นต้องประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านที่เกี่ยวข้องต่อไป</p></blockquote><p> ที่ผมจะค่อยๆปรับกระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของนักศึกษาส่วนใหญ่  </p><p>จะประเมินผล และรายงานมาที่ gotoknow เป็นระยะๆ และสรุปผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ตอนปลายภาคการศึกษา ครับ </p><p align="center">071107+012 </p><p>วันนี้ อยากฟังความเห็นของ</p><ul>

  • นักศึกษาจากชั้นเรียน ที่เข้ามาตามอ่าน และ
  • ท่านปรมาจารย์ ด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ในชั้นเรียนระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าครับ 
  • </ul><p>ท่านเห็นว่าควรจะปรับปรุงอะไรบ้างครับ </p>



    ความเห็น (19)

    สวัสดีครับอาจารย์

    ผมมาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ ผมเห็นด้วยกับวิธีการของอาจารย์นะครับ ผมไม่ได้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ แต่ถ้าเป็นผมจะให้นักศึกษาลงมือทำก่อน แล้วให้เขามาวิเคราะห์ แล้วจึงอธิบายทฤษฎีว่าที่เขาวิเคราะห์มาเข้ากับทฤษฎีข้อนั้นข้อนี้ แล้วให้เขาไปทำอีก คราวนี้เขาน่าจะเข้าใจ แต่ผมไม่ทราบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องเวลาหรือเปล่าครับ

    เทอมนี้ผมจะปล่อยฟรี (learning freedom) ผมจะคุมอยู่ข้างนอกครับ

    จะลองดูครับ

    เวลาพอมี

    เรียน อาจารย์แสวง

    ขอบพระคุณที่อาจารย์กรุณาไปร่วมงาน แผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ

    นักศึกษาส่วนใหญ่ถูกสอนให้ท่องจำจนเคยชิน  (เพราะอาจารย์เองก็สอนง่าย  คือท่องจำมาสอนเหมือนกัน)  แต่นักศึกษาช่างคิดก็คงมีค่ะ   อาจต้องให้เวลานักศึกษา  "ปรับวิธีการเรียนรู้" กันใหม่กระมังคะ

    นักศึกษาโชคดีที่ได้เรียนกับอาจารย์ค่ะ  ตอนตัวเองเป็นนิสิต ไม่มีโอกาสได้เรียนอย่างวิธีของอาจารย์เลยค่ะ

     

    กราบเรียนท่านอาจารย์ ดร.แสวง ครับ

    ปัญหาเรื่องน้ำของปายเป็นประเด็นหนึ่งที่ทั้งชุมชน อปท. ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องหันมาสนใจอย่างแท้จริงครับ ในส่วนที่ท่านอาจารย์พบเห็นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น

    ธรรมชาติของน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ ณปัจจุบัน ปัญหาน้ำในพื้นที่สูงมีปัญหามากในระดับหนึ่งเลยทีเดียว รัฐบาลสนับสนุน งปม.ให้ อปท.ไปบริหารจัดการท้องถิ่นตนเอง อปท.จัดทำโครงการประปาภูเขาระยะทางเป็น 10 กม. ผลคือน้ำแห้งตั้งแต่ต้นน้ำลงมาเลย พอต้นน้ำลำธารเส้นใดแห้งก็ทิ้งไปหาใหม่ ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ อนาคตจะเป็นเช่นไรครับ

    ขอโทษครับอาจารย์

    ผมมัวแต่เล่าสถานการณ์ในพื้นที่

    ผมเห็นด้วยครับที่อาจารย์เปลี่ยนแนว !

    ผมพบคนทำงานที่จบใหม่ทำงานไม่ค่อยเป็นมาเยอะมากทั้งในและนอกวงการสาธารณสุขครับ

    หากนักศึกษามีโอกาสเรียนรู้จากของสด ๆเหมือนแพทย์เรียนผ่าตัด ต้องผ่าตัดคนจริง ๆจึงจะได้Feeling ครับ !

    ผมเป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เข้าเรียนวิชานี้ในวันนี้ ส่วนตัวผมคิดว่าวิธีให้การศึกษาแบบท่องจำมันก็เป็นปัญหาจริงๆตามที่อาจารย์ว่ามาเพราะผมก็ประสบกับตัวเองมาตลอดตั้งแต่ได้เรียนหนังสือ น้อยครั้งมากที่จะได้มีการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากการท่องจำ ด้วยเหตุผลที่ว่า(ตามความเข้าใจของผม)การสอนแบบท่องจำ1.สอนง่าย2.ไม่ยุ่งยาก3.เวลาและงบประมาณอันจำกัด จนส่งผลมาให้ทุกวันนี้ผมรู้สึกว่าผมไม่มีความรู้อะไรมากเลยจากการเรียนในสถาบัน แต่สิ่งที่ผมรู้สึกว่าทำให้ผมเกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้มากที่สุด คือ การได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนอยู่จริงๆ ก่อน แล้วคิดประเด็นหรือปัญหาต่างๆตามด้วยการพิสูจน์ น่าจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้นครับ

    สวัสดีครับอาจารย์ ดร.แสวง

    ผมชอบประเด็นของน้อง ด้อยประสบการณ์ปีสอง มากๆ เลย น้องพูดตรงจุดเกี่ยวกับคุณสมบัติการสอนแบบท่องจำ โดยเฉพาะข้อสุดท้ายคือเวลาและงบประมาณ ทั้งๆ ที่เราก็รู้ว่าข้อสอบเขียนนั้นดีกว่าข้อสอบเลือกตอบ แต่ใครจะกล้าออกข้อสอบให้เด็กสามร้อยคนเขียนครับ? สมมติเขียนกันคนละสองเล่ม ถ้าอาจารย์ไม่มีผู้ช่วยตรวจ คงเสียเวลาสักสองสัปดาห์ได้ ไม่ต้องทำอะไรกันเลย ออกข้อสอบเลือกตอบ ลำบากครั้งเดียว พอสอบเสร็จเข้าเครื่องก็จบเรื่อง ทีนี้การออกข้อสอบแบบเลือกตอบนั้น จะถามแบบให้ใช้ความคิดวิเคราะห์นั้นก็ยากครับ ยิ่งถ้าผู้สอนไม่ได้มุ่งให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ก็ยิ่งยาก ไม่ต้องพูดถึงว่าตัวผู้สอนเองติดกับการสอนแบบท่องจำ ...

    ส่วนวิธีการแก้ไข ผมว่าการใช้แม่แบบ (modeling) เป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ คือเชิญผู้รู้ ผู้อยู่ในพื้นที่มาสอน พูดแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าอาจารย์ดร.แสวงไม่ใช่ผู้รู้ครับ แต่การนำคนหน้าใหม่ๆ มาพูด ได้เปลี่ยนบรรยากาศ สร้างความตื่นเต้นได้ ผมเชื่อว่าถ้าอาจารย์ออกปาก จะต้องมีคนอาสากันมากมายเลยครับ

    ขอบคุณครับ

    ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เคยประสบมาเหมือนกันแต่คนในระบบการศึกษานี้เขายังชอบแบบนี้  แค่ผมบอกไม่อยากใช้ห้องเรียนเป็นที่ศึกษา  อยากใช้ลงพื้นที่ดูของจริงแล้วนำมาวิเคราะห์  สังเคราะห์  เขาจะบอกต้องสอนทฤษฎีก่อนทีนี้ก็ติดตำรา  ติดกรอบไปหมดไม่ไปไหนเลย  แล้วก็ทดสอบโดยท่องๆๆๆๆ  พอจะสอบอัตตนัยอาจารย์ในระบบจะไม่เห็นด้วย  เพราะเด็กเขาไม่ได้ถูกสอนมาแบบนั้น

    Pครับ

    ด้วยความขอบคุณครับ ผมยังเป็นหนี้บุญคุณอาจารย์อภิชัยอยู่มากครับ

    ผมกำลังเปิดโอกาสให้นักศึกษาช่างคิด เหมือนตนที่ใช้นามว่า "ด้อยประสบการณ์ปี ๒" และคนอื่นๆ ได้เรียนรู้จริงๆ ครับ ก็จะลองว่าวิธีนี้จะได้ผลไหม เท่าไหร่

    เพราะมีอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ชอบแบบนี้ครับ

    P

    ครับ ต้องขอรับกวนท่านบ่อยๆแล้วครับ

    Pครับ

    ผมไม่เคยออกข้อสอบเลือกครับ มีแต่บรรยายอย่างเดียวครับ ผมว่าวัดได้ดีกว่า ว่านักศึกษาคิดอะไร รู้อะไร

    เทอมที่แล้วผมออก ๒๑ ข้อ ให้เลือกตอบ ๕ ข้อ เปิดโอกาสให้นักศึกษาตอบตามถนัดของตนเอง

    เทอมนี้ผมประกาศไปแล้วว่าจะออก ๑๐๐ ข้อ ให้เลือกทำ ๕ ข้อเช่นเดิม ให้ประเด็นกว้างกว่าเดิมครับ

    อยากจะฟังว่านักศึกษาคิดอย่างไรเหมือนกันครับ

    Pครับ

    เรื่องลงพื้นที่มีข้อจำกัดทางปฏิบัติครับ

    แต่ผมได้ขอให้ทีมเมืองปาย stand by รอคำถามจากนักศึกษา และส่งรูปที่สำคัญ ส่งประเด็นแทน เลียนแบบการลงพื้นที่ครับ

    ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวน่าจะช่วยได้บ้างนะครับ

    ผมพยายามหาทางเลือกทดแทนอยู่ครับ

    ขอบคุณอีกครั้งสำหรับความเห็นครับ

     

     ตามความคิดของ พี่แว้บ ก็เยี่ยมครับถึงแม้ว่าการไม่ด้ลงพื้นที่จริง แต่ได้รับฟังประสบการณ์จริงก้มีส่วนช่วยในการเรียนรู้มากทีเดียวครับ(เท่าที่เคยได้รับมาจากประสบการณ์)ก็เหมือนได้อ่านตำราหลายๆเล่มในหัวข้อเดียวกัน แต่นี้สนุกกว่าคือได้ฟังหลายๆรูปแบบในหัวข้อเดียวกัน ผมว่าช่วยเรื่องความเข้าใจได้มากทีเดียวครับ

    สวัสดีค่ะอาจารย์

    กะปุ๋มเพิ่งเสร็จภาระกิจสอนพยาบาลที่จบระดับปริญญาโทเกือบสามสิบคน...เรื่องการทำวิจัย (R2R) Class นี้มีเงื่อนไขว่าไม่มีบรรยายค่ะ เพราะผู้สอนไม่ชอบบรรยาย ... ให้ลงมือทำเลยค่ะ นำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบการวิจัย ... เชื่อไหมคะว่า เหมือนเริ่มต้นสอนกันใหม่เลยค่ะ... มหาบัณฑิตจบมาแล้วแต่ไม่มีผลงานวิจัยเลยเพราะต่างขยาดกับการทำวิจัยตั้งแต่สมัยเรียน....

    นี่แหละคะระบบการศึกษา หาใช่เป็นการเรียนรู้ไม่...

    (^______^)

    กะปุ๋ม

     

     

    หากไม่มีข้อชี้แนะจากท่านอาจารย์ ศิษย์คงใช้เวลามากในการลองผิดลองถูก ในการเปิดสู่โลกความจริงของการเรียนรู้ บางครั้งเราศึกษามานานนับสิบๆปีแต่กลับลืมไปว่าเรามีทัพยากรท้องถิ่นที่มีประโยชน์ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต และรากฐานทางวัฒนธรรมที่จะยืนบนขาตัวเองได้  ที่ผ่านมาเราเรียนมากมาย จนไม่รู้ว่าตัวเองยืนอยู่จุดไหน และจะเชื่อมกับโลกความจริงได้อย่างไร สอบเสร็จก็จบ กระบวนการคิดไม่มี ขาดการมองอย่างมีเหตุมีผล อย่างเชื่อมโยงไม่มี คิดแบบแยกส่วนจากการเรียนจนติดนิสัย จนไร้ฐานยืน

    ในชีวิตผมช่วงที่ผ่านมา ทำการเกษตรทำนาให้เสร็จไปวันๆ พอให้มีข้าวกิน และดูเหมือนไร้ศักดิ์ศรี เป็นหนี้สิน ขายนาขายที่ วัวควายหมดไม่มีเหลือ เหนื่อยมากๆ แต่เหนื่อยแล้วไม่มีอนาคต แท้จริงแล้วบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่มันสามารถทำได้ จะเห็นทางสว่างก็พอออกมาสู่โลกความจริง โดยจริงๆแล้วอาชีพเกษตรนั้น เป็นอาชีพที่มีกิน มีเกียรติและยืนอยู่บนขาตัวเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี ส่วนที่สำคัญการเข้าไปสู่กลไกลตลาดเต็มตัว โดยใช้เงินเป็นตัวนำหรือตัวตั้ง ที่ขาดการวางแผน ขาดการทำงานเป็นทีม และขาดองค์ความรู้ที่จะเชื่อมตัวกับสภาพทรัพยากรในท้องถิ่น

     นอกจากนี้ในความเห็นกระผม กลไกลตลาดจะกดราคาสินค้าเกษตรเพื่อสนับสนุน ผู้ส่งออก ทางออกคือเดินตามรอยพ่อของแผ่นดิน เน้นการพึ่งตัวเอง ทำเกษตรต้องวางแผนให้เป็น ประเมินทรัพยากรตัวเอง เช่น ทุน แรงงาน เช่น แผนการใช้ที่ดิน น้ำ การปลูกพืช การใช้แรงงาน กรณีคนแก่และอยู่ในช่วงสร้างตัว ต้องละเอียด มองสภาวะธรรมชาติ มองกลไกตลาดและแผนนั้นต้องหยืดหยุ่นและหลากหลาย  เพื่อลดความเสี่ยงจากกลไกตลาดบีบคั้นและสภาวะแวดล้อม

     

    สวัสดีครับท่านอาจารย์ ดร.แสวง ครับ

    • ผมนึกภาพสมัยเป็นนักศึกษาเรียนวิทยาลัยครู มันหาบรรยากาศการเรียนรู้แบบของท่านอาจารย์นี้ไม่ได้เลยจริงๆ 4 ปีที่เกือบๆ 100 %อึดอัดแทบตาย  วันๆนั่งทำแต่รายงานที่หาคุณค่าใดๆแทบไม่ได้เลย เด็กแย้งบ้างก็ทำเป็นฮึดฮัด โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง เอาเกรดเอาคะแนนมาขู่ บางคนหลงอัตตาถึงกับเอาดีกรีของตัวเองมาเหยียบปากนักศึกษา บรรยากาศมันเป็นแบบนี้จริงๆ คนจบครูจึงไม่ใคร่กล้าคิดอะไรนอกกรอบอย่างที่เห็น ซึ่งส่งผลถึงคุณภาพการศึกษาของไทยอย่างชัดแจ้งในวันนี้
    • หลายปีผ่านไป  นึกว่าบรรยากาศเผด็จการทางการศึกษาจะหมดไป  ที่ไหนได้ พอกลับเข้าไปรับการพัฒนาตามโครงการ(บ้าๆบอๆ)ของหน่วยเหนือในช่วงที่มีการปรับปรุงหลักสูตรเมื่อปี 33 ก็ยังเจอลักษณะเดิมๆอีก  หรือแม้เมื่อเร็วๆนี้  ลองไปฟังการจัดอบรมพัฒนาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ  โดยอาจารย์จาก วค.เดิม ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ....เฮ้อ..... เวรรรรรร.....
    • ที่จริงคำว่า"นักศึกษา" มันน่าจะเป็นอะไรๆที่มากกว่า"การนั่งจดนั่งฟังเลคเชอร์"ในห้องแคบเป็นไหนๆ
    • รูปแบบการศึกษา รวมทั้งการวัดผลประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนแบบ 100 ทำ 5 อย่างที่อาจารย์ออกแบบนี้  ผมว่าน่าจะเป็นการให้โอกาสเด็กในการเปิดโลกทัศน์ของตัวเองอย่างเต็มที่ครับ
    • คาดว่าท่านอาจารย์คงเอาเรื่องนี้มานำเสนอเป็นระยะๆ  ผมจะคอยติดตามเรื่อยๆครับ
    • สวัสดีครับ

     สวัสดีครับP

    แหมมามาดใหม่เลยนะครับ ขอบคุณครับ ผมก็มีปัญหาแบบเดียวกัน จะสอนอะไรต้องเริ่มจากศูนย์ทุกที เลยไปไกลไม่ค่อยได้ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยและพัฒนาทุกรูปแบบผมนึกว่าผมเป็นคนแบกโลกอยู่คนเดียวซะอีก ได้ยินแล้วรู้สึกว่ามีเพื่อนครับ

    Pครับผมไม่เคยวิชาครูมาก่อนก็เลยต้องลองผิดลองถูกอย่างนี้แหละครับฟังครูวุฒิเล่าให้ฟังก็ไม่น่าจะเป็นวิชาครู แต่น่าจะเป็นวิชา เผด็จการด้านการสอนมากกว่าครูวุฒิครับ แล้วสถาบันไหนสอนวิชาครูบ้างครับ ผมอยากไปเรียน ทั้งวัยแก่ๆอย่างนี้แหละครับมีอยู่ยุคหนึ่งสักเกือบ ๓๐ ปีมาแล้ว เขาว่าจะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยไปเรียนวิชาครู (หรือไปซื้อวุฒิครูมาแสดงก็ไม่รู้ครับ) ผมก็อยากเรียน แต่ไม่สนใจวุฒิครับผมไม่ทราบสถาบันไหนเขาสอนวิชา ครู บ้างครับและที่แน่ๆ ไม่น่าจะใช่สถาบันที่ครูวุฒิพูดมา ทั้งสองแห่งแต่ สถาบันไหนครับ ผมจะได้ช่วยเชียร์ และช่วยผลักดันเชิงนโยบายช่วยกันครับการศึกษาไทยจะได้ไม่จมปลัก(ควายนอน) อยู่อย่างนี้ครับ

     

     Pครับผมกำลังเรียนวิธีสอน และจะมีใครสอนวิธีเรียนบ้าง ผมจะไปเรียนด้วยครับ 

    ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะที่เป็นเเรงบันดาลใจให้อยากเป็นนักพัฒนา อยากจะมีการรวมกลุ่มพัฒนาท้องถิ่นเช่นกันค่ะ

    ก็เป็นสื่งที่อยากเห็นครับ

    ขอให้สมปรารถนาครับ

    มีอะไรให้ช่วย บอกได้เลยครับ มีพรรคพวกรออยู่ทั่วประเทศ

    จริงไหมครับ คุณเอก หมอสบาย หมอรอน

     

       สวัสดีค่ะอาจารย์หนูก็เป็นคนนึงที่ได้เรียนกับอาจารย์นะค่ะ หนูว่าการเรียนการสอนแบบท่องจำนั้นเป็นปัญหาสำหรับหนูมากเลยค่ะ เวลาสอบหนูจำได้ ตอบได้ แถมมีแนวข้อสอบอีก เกรดก็ลยได้ A B+ B C+ C มาตลอด  เพื่อน ๆ ก็ว่าหนูเรียนเก่ง GPA ก็เยอะ แต่หนูกลับไม่รู้สึกอย่างนั้นเลยค่ะ เวลาสอบเสร็จก็ลืม มันเป็นวงจรชีวิตมาตั้งแต่ ปี 1 แล้วค่ะ พอได้เรียนอีกวิชาที่มันใช้ความรู้เดิมมาเกี่ยวข้องหนูก็จำอะไรไม่ได้เลย ต้องเริ่มท่องจำใหม่อีก มันก็กลับมาที่เดิม ตอนนี้หนูลองเปลี่ยนวิธีการเรียนของตัวเองใหม่แล้วค่ะ โดยใช้วิธีการของอาจารย์มาประยุกต์ในการเรียนควบคู่กับวิชาอื่น ได้ผลอย่างไรหนูจะมารายงานทีหลังนะค่ะ   ขอบคุณค่ะ

    ครับ จะรอฟังผลครับ

    แต่ระวังนะครับ บางวิชาเขาไม่อนุญาตให้เข้าใจนะครับ เขาให้จำอย่างเดียว

    คนที่เข้าใจอาจสอบตกได้ เพราะ คนสอนอาจยังไม่เข้าใจเท่าคนที่เรียนนะครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท