Work shop นักพัฒนารุ่นใหม่ (ภาคตะวันออก)


นักพัฒนาส่วนใหญ่เริ่มปล่อยงู 2 ตัว ("งง") ที่แต่ละคนจับมันไว้ และสะท้อนความเข้าใจเรื่อง "การจัดการความรู้" ได้เป็นอย่างดี

การจัดการความรู้สำหรับนักพัฒนารุ่นใหม่ (ภาคตะวันออก)

วันที่ 18 - 19 ก.ค. ที่ผ่านมา

จาก 2 วันที่ได้ติดตามเป็นผู้สังเกตการณ์ ในการทำ WS (Work shop) ให้กับกลุ่มนักพัฒนารุ่นใหม่ 6 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี สระแก้ว      ซึ่งนักพัฒนา เป็นกลุ่มที่ทำงานร่วมกันมานานอยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้มีโครงการชุมชนเป็นสุขที่เขาได้ทำงานในทิศทางเดียวกัน ของแต่ละจังหวัด โดยผู้จัดการโครงกาชุมชนเป็นสุข (คุณอนุ) เห็นว่าการทำงานของนักพัฒนายังต้องมีเรื่องของ การใช้ระบบการทำงานที่ดี ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้งานนั้นๆไปสู่ความสำเร็จในด้านต่างๆ จึงเห็นสมความว่าควรมีการทำ WS เรื่อง การจัดการความรู้ เพื่อให้นักพัฒนามี "เป้าหมาย" ของงานนั้นๆ ชัดเจนมากขึ้น และสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้ไปปรับใช้ได้กับงานของตนเอง

ซึ่งจากการทำ Ws ผมเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นมากมาย จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้...

เห็นความตั้งใจของกลุ่มนักพัฒนารุ่นใหม่ใน 6 จังหวัด (ภาคตะวันออก) ซึ่งการนำ KM เข้าไปอยู่ในการรับรู้ของเหล่านักพัฒนา ถือเป็นรื่องใหม่สำหรับพวกเขา  แต่ที่สังเกตเห็น คือ การทำกระบวนการต่างๆ ของการจัดการความรู้ครั้งนี้ นักพัฒนาส่วนใหญ่ให้ความสนใจมาก ดูจากการซักถามพูดคุยแล้ว แต่ละจังหวัดน่าจะรับ เครื่องมือ ไปใช้กับงานพัฒนาชุมชนของตัวเองได้

ผมไม่แน่ใจว่าการบรรยายเรื่อง KM ในภาคประชาสังคมครั้งนี้ เป็นครั้งแรกของ อาจารย์ประพนธ์ หรือเปล่า แต่ส่วนตัวผมคิดว่า อาจารย์ทำได้ดีทีเดียว ผมจะทำตัวเป็นนักเรียนที่ดี โดยจะเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้ทุกครั้งที่มีการทำ ws. ในหลายๆที่ ซึ่งครั้งนี้ผมเข้าห้องเรียน KM เป็นครั้งที่ 3 แล้ว และครั้งนี้อาจจะเป็นเพราะอาจารย์ บรรยายได้ดี บวกกับความเข้าใจของผมที่มีอยู่เดิมบ้างแล้ว ทำให้ผมเข้าใน กระบวนการ ขั้นตอน ที่จะนำ KM ไปใช้กับงานมากขึ้น

"พี่อ้อ" จากการสังเกตของผม เห็นว่าพี่อ้อ เริ่มจะหลงเสน่ห์ภาคประชาสังคมบ้างแล้ว เห็นตั้งแต่ ที่จัด Km สัญจรพี่อ้อก็เปรยๆมาว่า เห็นความสำเร็จของภาคประชาสังคมแล้วน่าสนุก น่ายินดีด้วย แถมยังแอบน้อยใจในภาคราชการที่ตัวเอง และ อาจารย์ประพนธ์ ทำอยู่ด้วย แต่ผมก็อยากให้กำลังใจนะครับ เพราะผมเองก็ชอบภาคประชาสังคมเหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันผมก็ต้องรับรู้และทำความเข้าใจ ในเรื่องการจัดการความรู้ในภาคราชการด้วยเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นหาก อาจารย์ประพนธ์ และพี่อ้อเริ่มท้อในภาคราชการ ผมอาจจะฝ่อไปเลย ซึ่งผมยังต้องทำความเข้าใจกับส่วนนี้อีกมาก เผื่อว่าผมทำความเข้าใจผิด จะได้มีอาจาย์ และพี่อ้อ เป็นที่ปรึกษาในภาคราชการต่อไปครับ .....

ทางที่ดีหาเวลามา ws. ในภาคประชาสังคมบ่อยๆซิครับ จะได้มีกำลังใจมากขึ้น 

 "พี่อ้อม" ก็เป็นนางเอกในเวทีประชาสังคมเช่นเคยครับ จะพูดอะไร เสนออะไรก็ "ถูกจริต" (ยืมคำของอ.ประพนธ์มาใช้)ชาวบ้านไปหมด ดูคล่องแคล่วว่องไว แม้กระทั่งฟ้าฝนภาคไหนจะตกที่ไหนวันไหนพี่อ้อมยังรู้ เหมือนกับเป็น เทพธิดาพยากรณ์ ยังไงยังงั้นเลยครับ (รู้เพราะอะไรถามเจ้าตัวได้ครับ)

.........หากจะให้ผม AAR ก็ขอพูดเหมือนกับตอนที่ AAR ก่อนกลับกรุงเทพฯกับกลุ่มนักพัฒนา และทีมงาน สคส. ที่ไปด้วยกันนะครับ

 1.)เป้าหมายและความคาดหวัง

= มี 2 อย่างคือ 1. ต้องการจะเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้ไปกับกลุ่มนักพัฒนา (ซึ่งต้องเรียนรู้จนกว่าจะเข้าใจท่องแท้)

2. ต้องการเห็นกระบวนการทำงานของ นักพัฒนา ในการทำงานพัฒนาชุมชนเรื่องต่าง ซึ่งหากมีเรื่องไหน โดนใจ และมีเรื่องของการจัดการความรู้ที่อยู่ในเนื้องานของกลุ่มนักพัฒนา ก็จะติดตามและนำมาเผยแพ่ต่อไป

2.)สิ่งที่ได้จากเวทีนี้

= สิ่งที่ได้คือ ได้เห็นความตั้งใจของกลุ่มนักพัฒนารุ่นใหม่ และเก่า ซึ่งในแต่ละกลุ่มมีคน 2 Genaretion อยู่ด้วยกัน และทำงานกันได้อย่างดี และจากการฟัง AAR ของกลุ่มนักพัฒนาหลายๆกลุ่ม เห็นว่าส่วนใหญ่มีความเข้าในดี และมีบางกลุ่มน่าจะสามารถนำ เครื่องมือ ไปใช้ได้ในไม่ช้านี้

3.) สิ่งที่ไม่ได้ในเวทีนี้

= ยังไม่เห็นกระบวนการทำงาน "ของจริง" ของนักพัฒนา และยังไม่เห็น Case ในเรื่องของการจัดการความรู้ในแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำงานในบทบาทที่ตัวเองเป็นนักพัฒนา แต่ยังไม่เห็นวิธีการที่จะมีการทำเรื่องการจัดการความรู้แฝงอยู่ในงานนั้นๆของพวกเขา

4.) จะกลับไปทำอะไรต่อ

= คงต้องกลับมาทำงาน ถอดบทเรียนเรื่องการจัดการความรู้ในส่วนอื่นๆ ที่เห็นชัดเจนแล้วก่อนครับ.......... ส่วนกลุ่มของนักพัฒนาที่ได้ไปสังเกตการณ์ครั้งนี้ เห็นว่ายังเพิ่งเริ่มต้น ในเรื่องกระบวนการจัดการความรู้ แต่เห็นแวว ในบางพื้นที่ ที่น่าสนใจทั้งในเรื่องของเนื้อหา และงานที่พวกเขาทำอยู่ เช่น การทำบัญชีครัวเรือนรายรับ - รายจ่าย ให้กับชุมชน หรือ พฤติกรรมการลด ละ เลิก

ซึ่งตอนนี้นักพัฒนาได้เครื่องมือแล้ว หากนักพัฒนาได้ใช้เวลาทำความเข้าใจกับเครื่องมืออีกสักนิดและนำไปปรับใช้ คงจะได้เห็นการจัดการความรู้ในการทำงานพัฒนาชุมชนมากขึ้นครับ.

สรุปก็คือ งานนี้จากความคิดผมดูทุกคนแฮบปี้นะครับ ทั้งฝ่ายนักพัฒนา และทีมงาน สคส. เห็นความตั้งใจของชาวบ้าน เมื่อเกิดมีความตั้งใจ ก็เกิดเป็นความเข้าใจ (แต่อาจจะไม่ทั้งหมด) ที่จะนำ KM เข้าไปพัฒนางานของพวกเขา ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผมเห็นจากเวทีนี้คือ "ความสำเร็จของการทำ WS" ซึ่งทั้งทีมงานและอาจารย์ประพนธ์ สามารถทำให้ชาวบ้านสนใจในเรื่อง "การจัดการความรู้" ได้ดี ด้วยเทคนิคต่างๆ ที่แยบยล และถูกจริตชาวบ้านอีกตามเคยครับ

ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้นักพัฒนาส่วนใหญ่สะท้อนให้ฟังเองว่า "ได้ความรู้เรื่อง KM หลายอย่าง" ซึ่งจากแว็บแรกที่เหล่านักพัฒนาได้สัมผัสเรื่องนี้ เห็นได้ชัดว่าเขายังรู้สึกว่า KM ยากต่อความเข้าใจของเขา

แต่...เห็นการเปลี่ยนแปลง และความสนใจใฝ่รู้มากขึ้น หลังจากครึ่งวันหลังของวันที่ 18 จนกระทั่งวันที่ 19 ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งจบกระบวนการทำ WS เรื่อง "การจัดการความรู้"

ทำให้นักพัฒนาส่วนใหญ่เริ่มปล่อยงู 2 ตัว ("งง") ที่แต่ละคนจับมันไว้ และสะท้อนความเข้าใจเรื่อง "การจัดการความรู้" ได้เป็นอย่างดี ความสำเร็จที่ว่านี้อาจเกิดจากความ "อยาก" ของอาจารย์ประพนธ์ ที่ออกตัวมารับการทำ WS ครั้งนี้ ความตั้งใจของอาจารย์ประพนธ์ และทีมงาน จึงทำให้เวทีนี้ประสบความสำเร็จในสายตาผมครับ.

ป.ล.ผมยอมรับว่าได้มุมมอง-ข้อคิด เรื่องการทำงาน ทั้งจากอาจารย์ประพนธ์ และนักพัฒนาเยอะมากครับ 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1435เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2005 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เพิ่มเติมครับ รู้สึกว่าจะขาดไป 1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท