สวนป่ากับการศึกษาในระบบ


เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมีโอกาสครั้งแรกไปที่มหาชีวาลัยอีสาน หรือ สวนป่า กับทีมอนุกรรมการจัดการความรู้ มมส. ภาพที่เห็นก็เต็มไปด้วยความสมบูรณ์ทั้งสวนป่า สวนเกษตรกรรม ปศุสัตว์ กับระยะเวลาอันยาวนาน

ทำให้รู้ว่าสิ่งที่เขียนไว้ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งแบ่งระบบการศึกษาไว้ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย นั้นแยกส่วนกันแล้ว คงจะไม่ประสบความสำเร็จดังเจตนารมณ์ที่เขียนไว้

โดยเฉพาะการศึกษาในระบบ ทั้งขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา นั้น สะท้อนความจริงผลผลิตที่ออกมาในปัจจุบัน (รวมถึงตัวผมด้วย) จำเป็นต้องมีการทบทวนระบบกลไกกันอีกยกใหญ่

ภูมิหลัง ตัวผมนั้น เรียนเรื่องของการศึกษามาจบ ป.ตรี-กศ.บ. ป.โท-กศ.ม. พอเข้าใจความเป็นมาของการศึกษาไทยมาบ้าง โดยเฉพาะจบมาแล้วทำงานเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับมหาลัย ยิ่งต้องน่าคิดให้หนักกับสภาพการศึกษาปัจจุบัน

สำหรับผมสิ่งที่ได้จากการไปมหาชีวาลัย สวนป่าในครั้ง นอกจากจะไปทำหน้าที่กรรมการเพื่อจัดทำแผนปี 51 KM-MSU ขอสะท้อนความคิดเล็กๆการศึกษาปัจจุบัน

สิ่งหนึ่งคือ ผู้นำ(ไม่ใช่ผู้บริหาร) ต้องคิดนอกกรอบบ้าง แต่ไม่ไร้กรอบ ใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ เปลืองตัวมากหน่อยก็คงต้องลองดู นำสิ่งที่อยู่ในระบบการศึกษามา บูรณาการ กับสิ่งที่อยู่นอกระบบการศึกษา พร้อมค้นหาแหล่งเรียนรู้ที่เป็น อีกทางเลือกให้ผสมกันอย่างลงตัว พอดีพองาม โดยเฉพาะผู้เรียนในกลุ่มพิเศษ เฉพาะ

อย่างมหาชีวาลัย หรือ สวนป่า กับ โรงเรียนเม็กดำ น่าจะเป็นตัวอย่างการผสมผสาน บูรณาการการศึกษาในระบบ กับการศึกษาตามอัธยาศัย ได้ดีครับ

แม้กระทั่งในแท่งอีก 2 แท่งการศึกษา คือ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาก็ต้องใช้วิธีการบูรณาการระบบการศึกษาอย่างนี้เช่นกัน

ปล.ผมไม่ใช่นักวิชาการอะไรเลย ตำแหน่งเป็นเพียง พนักงานการศึกษา แต่ศึกษาเรื่องของระบบการศึกษาไทยมาบ้าง จึงอยากบันทึกสิ่งที่ได้มาจากการไปในครั้งนี้ครับ

สุดท้ายคิดไปก็คงเท่านั้นถ้า ผู้นำระดับที่เรียกว่าTOPสุดๆ คือ Rattamontee Phates Thaiไม่เอาด้วย หรือแต่ละแท่งการศึกษา 3 แท่ง รวมถึงชุมชน แหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่า ไม่เอาด้วย ก็คงเป็นไปอย่างนี้เรื่อยๆครับ

ขอยกสำนวนท่านอาจารย์จิตเจริญ ที่ผมชอบมากคือ ร่วมกู่สร้างสรรค์ พัฒนาคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 143100เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2007 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

  การพัฒนาทุกภาคส่วนในบ้านเมืองเราขณะนี้ คนวางนโยบายก็ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ ความคิดยิ่งกว่าการจินตนาการ ส่วนผู้ปฏิบัติได้รู้เห็นความเป็นจริง ที่สุด การพัฒนาที่แท้จริง ก็เป็นเพียงตัวเลข การจะทำสิ่งใดให้สำเร็จผลบางครั้งต้องใช้เวลา และความมุ่งมั่น ไม่ใช่แค่การวางแผนประจำปี แต่ละปีไปเรื่อยๆ ตามแต่จะคิดตัวชี้วัดกันไป

 อยากบอกว่า คนเราจะทำงานได้ดีจริงๆ ปีหนึ่งไม่กี่อย่างค่ะ ไม่ใช่ปีละ40 อย่าง(บางหน่วยงาน)

  • ตามมาดู
  • ถ้าผู้บริหารไม่เอาด้วย
  • คงลำบากเหมือนกันครับน้อง
  • แต่เอาใจช่วยนะครับ

 

สวัสดีครับคุณตันติราพันธ์

ขอบคุณมากครับที่ช่วยสะท้อนถึงระบบการศึกษาในปัจจุบัน

รวมถึงหัวอกผู้ปฏิบัติงานเบื้องล่าง

ปริมาณงานนั้นต้องสัมพันธ์กับคุณภาพงานจริงด้วยครับ

 

สวัสดีครับพี่ขจิต

แต่ก่อนเรียกแต่ท่านอาจารย์ขจิต หลังจากกับมาจากมหาชีวาลัย ขอเรียกว่า ท่านพี่แล้วกันนะครับ

ถ้าผู้บริหาร เป็น ผู้นำด้วย ก็จะสมบูรณ์แบบครับ

เพราะ ผู้นำ กับ ผู้บริหาร นั้นผมเชื่อว่าแตกต่างกัน เราทุกคนสามารถเป็น ผู้นำได้ ครับ โดยเฉพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลง นอกกรอบบ้าง แต่ไม่ไร้กรอบครับ

ขอบพระคุณพ่อครูบาที่ช่วยเข้ามาให้คะแนน เพิ่มน้ำหนักจากความคิดน้อยๆ เรื่องการศึกษาในปัจจุบัน

เมื่อสัก 4 ก่อนผมเคยไปฟังการบรรยายครั้งแรกของพ่อครู ถ้าจำไม่ผิดที่จังหวัดอุบลฯ โรงแรมเนวาดาร์แกรน จัดโดย สมศ.

สะท้อนระบบการศึกษา ระบบการประเมินการศึกษา ได้อย่างอึ้งสำหรับผู้บริหารการศึกษาที่นั่งฟังอยู่เป็นพันคนครับ

ขอบพระคุณครับ

ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมที่สวนป่า ไม่มีงานก็มาเยี่ยมได้นะครับ ถือว่ามาพักผ่อน ชาวสวนป่ายินดีต้อนรับครับ ขาดตกอะไรต้องขออภัยครับเพราะเราอยู่บนความไม่พร้อม แต่จะพยายามอยู่ให้ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท