วันก่อนอ่านหนังสือ “ บริหารงานวิจัยไม่ยาก ( มาก ) อย่างที่คิด ” ของ อาจารย์ วิบูลย์ วัฒนาธร กับ อาจารย์ เสมอ ถาน้อย อ่านถึงบทที่ 7 IRDA กับการเป็น Chaordic Organization ทำให้ต้องไปค้นเรื่อง สกว. กับความเป็นองค์กรเคออร์ดิค ที่ อ. หมอวิจารณ์เขียนไว้หลายปีก่อน
จากนั้นก็ค้นต่อ ไปเจอบทความจากหนังสือ THE CHAORDIC ORGANIZATION: OUT OF CONTROL AND INTO ORDER
World Business Academy Perspectives - Vol. 9, No. 1 1995
ที่ Dee W. Hock เขียนเอาไว้
Dee W. Hock เล่าถึงการที่ VISA USA and VISA International ต้องกำหนดตัวเองเป็น Chaordic Organization, อ.หมอวิจารณ์ก็เขียนเรื่องของ สกว. กับความเป็นองค์กรเคออร์ดิค ส่วน อ.เสมอ ถาน้อย ก็เล่าเอาไว้ในหนังสือว่า IRDA จะนำรูปแบบ Chaordic Organization มาทดลองใช้กับการบริหารงาานใน IRDA
คงไม่อธิบายเรื่อง Chaordic Organization โดยละเอียดนะครับ แต่มีความรู้สึกว่า G2K และเฮฮาศาสตร์ก็เป็นองค์กรหรือชุมชนที่เป็น Chaordic
โจทย์ก็มีอยู่ว่า ใช่หรือไม่ใช่ ถ้าไม่ใช่ก็จบ แต่ก็ต้องไปหาว่า คุณเป็นใคร? ตามคำถามยอดฮิตที่ชอบมากๆของเล่าฮูแสวง
ถ้าใช่ ก็ต้องเอากระจกไปส่องดูทั้ง 6 องค์ประกอบคือ
1. Purpose ความมุ่งมั่นขององค์กร
2. Core principles หลักปฏิบัติของคนในองค์กร
3. Participants ภาคีหรือผู้มีส่วนร่วม
4. Organization concepts หลักการจัดระบบการทำงาน
5. Constitution ข้อตกลงของสมาชิกในองค์กร
6. Practice การนำไปสู่การปฏิบัติ
ต้องดูว่าองค์ประกอบทั้ง 6 ครบถ้วนหรือไม่ องค์ประกอบตัวไหนไม่ชัดเจน ไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่ครบ ไม่ชัดเจนก็คงจะเดินต่อไปลำบาก ต้องนั่งคุยกันจนตกผลึก เข้าใจตรงกันระดับหนึ่ง จึงจะเดินต่อไปได้ราบรื่น
ทุกคนก็ควรจะทำความเข้าใจกับ Chaordic Organization เพราะจะทำให้การพูดคุยกันสามารถหาข้อยุติ หรือสามารถสรุปได้เร็วขี้น ในกรณีศึกษา การนั่งคุยกันจนตกผลึก บางครั้งใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี
ยกตัวอย่างแค่เรื่องเดียว เรื่อง Complex adaptive system ( CAS ) ซึ่งจะต้องมีหลายศูนย์และกระจายอำนาจ จัดรูปแบบของตัวเองและปรับตัวได้ ยึดหลักการ มีความมุ่งมั่นในภารกิจ ความหลากหลาย ยิ่งสมาชิกมีความแตกต่างมากยิ่งทำให้ระบบแข็งแรง Chaordic Organization เชื่อในระบบซับซ้อนที่มีความแตกต่างหลากหลาย แต่จะนำสิ่งนี้มาสร้างความสำเร็จให้องค์กร
ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ก็จะนำเอาระบบสั่งการ ( Control ) มาใช้ จะกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆขึ้นมา เพื่อให้เกิดความเหมือนโดยคิดว่าจะเป็นแนวทางสู่ความสำเร็จ ทำให้สูญเสียความคิดริเริ่มที่แตกต่างหลากหลายอันจะนำไปสู่การคิดค้นวิธีการหรือแนวทางใหม่ๆ ( Innovations ) เพื่อใช้แก้ปัญหา ซึ่งความคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าในมนุษยชาติ แถมมีต้นทุนที่ต่ำที่สุดด้วย
เฮฮาศาสตร์ที่ไปดงหลวงอ่านแล้วทำการบ้านไปด้วย คงต้องฝากเรื่องนี้ให้สมาชิก G2K ช่วยกันคิดและให้คำตอบในเรื่องนี้ด้วยครับ
เขียนแล้วเครียดเล็กน้อย ขอ อิอิอิอิ ให้หายเครียดหน่อย
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย คนชอบวิ่ง ใน เฮฮาศาสตร์สองแคว
สวัสดีค่ะ
เขียนไวจังค่ะ เพิ่งคุยกันเมื่อกลางวันเอง ราณียังอ่านได้บทแรกอยู่เลย ต้องเรียนรู้อีกมากค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะที่print มาให้อ่านค่ะ ขอบคุณจริง ๆค่ะ