เทคโนโลยีสมัยใหม่ สื่อมวลชน คมนาคม สารสนเทศ


เทคโนโลยี
  เทคโนโลยีสมัยใหม่  ไม่วาเทคโนโลยีสื่อมวลชน  เทคโนโลยีโทรคมนาคม  และเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนได้อย่างไรบ้างโดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย เทคโนโลยีสมัยใหม่  ไม่วาเทคโนโลยีสื่อมวลชน เทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต สำหรับทุกคน  โดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัยปัจจุบันเทคโนโลยี   ที่ผลิตขึ้นมาใหม่ในโลกปัจจุบันเปิดโอกาสให้ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ในการช่วยการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแพร่หลาย ออกไปอย่างเหลือเชื่อ และมีผู้สนใจใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นกันอย่างมากมายในเรื่องการเรียนการสอน โดยบางครั้งการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้โดยไม่ มีการวางแผน และเตรียมการที่ถูกต้องให้รอบคอบว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นมาก็คือเป็นเพียงเครื่องประดับสำนักงาน ชิ้นหนึ่งเท่านั้นสำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ ในการจัดการศึกษาทางไกล ปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ทั้งแบบเทคโนโลยีชั้นสูง หรือใช้เทคโนโลยีในระดับต่ำ ที่สามารถนำมาช่วยในเรื่องการจัด การศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพแก่นักเรียน นักศึกษาได้แต่การใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ต้องมีการวางแผนในการที่จะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นอย่างคุ้มค่า ที่จัดหามาโดยต้องคำนึงถึงหลักการดังนี้
                 1. เทคโนโลยีเหล่านั้นจะช่วยอะไรเรา
                 2. เทคโนโลยีที่นำมาใช้งานเพื่อใคร
                 3. เทคโนโลยีที่นำมาจะใช้เพื่อทำอะไร
                  เทคโนโลยีแต่ละอย่างมีข้อจำกัด ซึ่งบางครั้งการจะใช้ในเรื่องของการเรียนการสอนต้องใช้เทคโนโลยี ในลักษณะที่มีการผสมผสานกันใน หลายๆ อย่าง ซึ่งการเลือกใช้เทคโนโลยีในแต่ละชนิดก็แล้วแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                 ในประเทศสวีเดนที่ ใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาทางไกลแบบผสมผสานกัน โดยทางสถาบันเป็นผู้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆ ใน เรื่องของการเรียนการสอน เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), อีเมล์ ระบบการประชุมกลุ่ม การประชุมทางวีดิทัศน์ บริคดิงลิงค์ (briding ling) ห้องเรียนวีดิทัศน์ (Video Class) จดหมาย ฯลฯ โดยทางสถาบันจะเป็นผู้กำหนดว่าเทคโนโลยีแต่ละอย่างจะเหมาะสมกับงานประเภทใด เช่น ถ้าเป็นการประชุมทางไกลก็จะใช้เป็นวีดิทัศน์หรือโทรทัศน์ และงานในรูปแบบอื่น ก็ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละหลักสูตรก็แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ในแต่ละหลักสูตรและกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวตัดสินว่าควรใช้เทคโนโลยีเหมือนๆ กัน โดยตัวโครงสร้างหลักสูตรและกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวตัดสินว่า ควรใช้เทคโนโลยีอย่างไร ส่วนมากหลักสูตรที่มีการพบปะและเวลาน้อยจะถูกชดเชยด้วยเทคโนโลยี และจะทำให้มีผลย้อนกลับอย่างรวดเร็ว และก็เป็น ธรรมดาที่ทุกแห่ง เมื่ออยู่ในที่มีเทคโนโลยีพร้อมเขาก็อยากจะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น แต่เรามีผู้เรียนที่ไม่มีเทคโนโลยีใดเลย สถาบันก็ปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือเทคโนโลยีในการจัดการศึกษาทางไกล และโอกาสที่จะจัดหาหลักสูตรได้หลากหลายมากขึ้น
                 เทคโนโลยีอาจเป็นทางแก้ปัญหาต่างๆ ได้ แต่ก็เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้นไม่ใช่เป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน เนื้อหาในหลักสูตรเป็นสิ่ง สำคัญที่สุด ถ้าหากปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาได้ และมีการวางแผนและเตรียมการในเรื่องการใช้ให้ถูกต้องแก่หลักสูตร และกลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียน นักศึกษา ก็สามารถติดตามข่าวสารได้ตลอดเวลา อย่าให้เทคโนโลยีที่เรานำมาใช้เป็นเพียงเครื่องประดับห้องชิ้นหนึ่ง และ เราจะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีสติ
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม การดำเนินชีวิตมนุษย์ในโลกปัจจุบัน สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแทบทั้งสิ้น เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า เทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านบริหารจัดการงานในองค์กร การติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง สิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้น องค์ประกอบสำคัญที่สถานศึกษานำมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา คือ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาให้มีความพร้อมและเอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษาให้ประสบความสำเร็จทุกด้านตามมาตรฐานการศึกษา โดยคำนึงถึงบริบทของสถานศึกษาที่มีความพร้อมในด้านผู้เรียน บุคลากร และการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ภายใต้การบริหารงานที่คำนึงถึงหลักความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงครามให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน โดยได้ดำเนินโครงการในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยสรุปดังนี้ 1. โครงการพัฒนาระบบเครือข่าย(LAN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบเครือข่ายInternet จากห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 – 2 เชื่อมต่อกับห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการทุกห้อง ห้องเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกห้องเรียน ห้องสมุดของเล่น ห้องศูนย์วิชาการ ห้องธุรการ ห้องผู้อำนวยการ และห้องประชุม ทำให้นักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง สามารถใช้ Internet ในการศึกษาสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ การติดตามข้อมูลข่าวสารทางราชการ และเอกสารทางวิชาการต่างๆได้โดยสะดวก รวดเร็ว 2. โครงการจัดทำ Website สถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของสถานศึกษา ผลงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงครามในด้านความสำเร็จของผู้เรียน ครู และสถานศึกษาในด้านต่างๆ ให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งท่านสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่ http:// www.anuban.net 3. โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศให้เอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษา มีความถูกต้อง ทันสมัย เป็นปัจจุบัน สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการดำเนินงาน 4 แผนงาน คือ งานวิชาการ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารทั่วไป งานบริหารงบประมาณ 4. โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาหลักสูตรคอมพิวเตอร์และการจัดการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ตามหลักสูตรสถานศึกษาให้แก่นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 – 2 ตามหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดกิจกรรมเสริมศักยภาพด้าน Internet และ CAI เพิ่มสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงทุกระดับชั้นเรียน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อวัสดุ ตลอดจนการจ้างครูผู้เชี่ยวชาญจากผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ตลอดปีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 5. โครงการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการอบรมพัฒนาบุคลากรครู ให้สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการจัดการศึกษาได้ทุกคน โดยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ อาทิ การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน การใช้ Internet การผลิตสื่อ CAI E-Book การใช้กล้องดิจิตอลเพื่อการจัดการเรียนการสอน และการศึกษาดูงานด้าน ICT สถานศึกษาต้นแบบ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาดังกล่าว ทำให้โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม สามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงานตามภารกิจของสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ด้านผู้เรียน 1. ผู้เรียนทุกระดับชั้น คิดเป็นร้อยละ 100 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาได้ในระดับดีน่าพอใจ 2. ผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศได้รับเงินรางวัล 50,000.- บาทพร้อมถ้วยรางวัล ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลลานนท์ จากการแข่งขัน ความสามารถการจัดทำภาพยนตร์สั้น โดยใช้โปรแกรม Microsoft Movie Maker งาน ITChalange 2007 จัดโดยบริษัท Microsoft จำกัด ด้านสถานศึกษา 1. บุคลากรครู คิดเป็นร้อยละ 98 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ สื่อ เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สถานศึกษาได้รับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสถานศึกษาจาก Website ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ 3. สถานศึกษามีระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้และบริหารการศึกษาเป็นอย่างดี ด้านผู้ปกครองและชุมชน 1. ผู้ปกครอง ชุมชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรด้านสื่อเทคโนโลยีให้กับสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกด้าน 2. ผู้ปกครอง ชุมชน ให้การยอมรับและเชื่อมั่นในด้านคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงครามเป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับว่าการศึกษานอกโรงเรียนคือ กลไกที่สำคัญที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความรู้ความสามารถของประชากร และพื้นฐาน ความรู้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตการทำงาน และการพัฒนาสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต
           เมื่อสังคมไทยได้เคลื่อนจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมที่มีความสามารถผสมผสานระหว่างสังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม สังคมข่าวสารข้อมูล และสังคมองค์ความรู้ การศึกษานอกโรงเรียนจึงหยุดนิ่งไม่ได้ แต่จำเป็นต้องประเมินระบบและบริการที่จัดอยู่ว่าเหมาะสม และเพียงพอที่จะพัฒนาศักยภาพของประชาชนสำหรับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงใด
           ด้วยเหตุที่คำว่า "สังคมองค์ความรู้" เป็นคำใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีการใช้อย่างกว้างขวาง นักคิดและนักเขียนหลายคน จึงได้ให้ความหมาย สังคมองค์ความรู้ว่า จะเป็นสังคมที่มีระบบเศรษฐกิจที่ใช้พลังความคิดมากกว่ากำลังกาย และจะใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากกว่าแรงงานราคาถูก หรือวัตถุดิบจะมีกระบวนการสร้าง จัดระบบ ถ่ายทอด และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในสังคมองค์ความรู้ส่วนใหญ่ จึงเป็นผู้ที่มีการศึกษาและมีความชำนาญ ทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้ และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ พร้อมที่จะทุ่มเทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในสังคมโลก ทั้งนี้องค์ความรู้ที่จำเป็นมิได้จำกัดเฉพาะองค์ความรู้ ที่ประมวลในเอกสารและตำราเหล่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงประสบการณ์และปรีชาญาณที่สั่งสมในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
            ในสังคมองค์ความรู้ ประชากรจึงจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ความสามารถที่ต่างไปจากสังคมดั่งเดิมหลายประการ ในรายงานของ ธนาคารโลกในเรื่องนี้ ได้ระบุความรู้ความสามารถที่สำคัญไว้ ดังนี้
            มีเครื่องมือในการเรียนรู้ที่จะช่วยในการแสวงหาความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในอดีตงาน การศึกษานอกโรงเรียน จะช่วยแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือ และการชดเชยโอกาสสำหรับผู้ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ แต่ในปัจจุบันระดับการรู้ หนังสือได้พัฒนาจนมีความยากและซับซ้อนมากขึ้น ดังสะท้อนให้เห็นในเครื่องมือประเมินการรู้หนังสือของประชากรระดับนานาชาติ ที่จำแนก การรู้หนังสือเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ การรู้หนังสือทั่วไป การรู้หนังสือวิชาการ และความสามารถที่จะแปลความจากสัญลักษณ์และข้อมูลทาง คณิตศาสตร์ จากการประเมินพบว่าแม้แต่ในประเทศที่พัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา ประชากรที่จบระดับมัธยมศึกษาถึงร้อยละ 59 มีระดับการรู้ หนังสือที่จำเป็นสำหรับสังคมในอนาคตเพียงระดับ 3 เท่านั้น การประเมินและพัฒนาระดับการรู้หนังสือสำหรับสังคมองค์ความรู้ของประชากร จึงเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของงานการศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบัน
นอกจากระดับความรู้หนังสือที่ต้องมีความซับซ้อนแล้ว การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังถือว่าเป็นเครืองมือการเรียนรู้ที่จำเป็นที่ ผู้เรียนจะต้องสามารถเลือกใช้อย่างผสมผสานและเกื้อหนุนกันในสังคมปัจจุบัน
           ความสามารถในการจัดการการเรียนรู้ ไปจนถึงการจัดการชีวิตและการจัดการกิจการ ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในสังคมองค์ความรู้ เช่นกัน เพราะในสังคมดังกล่าวจะเต็มไปด้วยข่าวสารข้อมูลและทางเลือก มีทั้งโอกาสและข้อจำกัด หากประชากรไม่มีความภูมิใจหรือความมั่นใจ ในตนเอง ไม่สามารถจำแนกแยกแยะ ตั้งเป้าหมาย เลือกทางเลือกที่เหมาะสม วางแผน ผลักดัน การนำแผนสู่การปฏิบัติ และการจัดการกับ อุปสรรคปัญหา ย่อมไม่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิต
การศึกษานอกโรงเรียนจะสามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการจัดการด้วยการสอดแทรกในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้มีบทบาทใน การกำหนดเป้าหมาย และแผนการเรียนรู้ของตนเองอย่างจริงจัง โดยผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาความมั่นใจและ ทักษะชีวิต เสริมความเข้มแข็ง ในการบริหารจัดการกิจการและกลุ่มพัฒนาอาชีพ
ท้ายที่สุด สมาชิกในสังคมองค์ความรู้ ยังจำเป็นต้องมีความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย รวมไปถึงความ สามารถในการสื่อสาร สร้างแนวร่วมการมีทักษะชีวิตและระงับความขัดแย้ง และด้วยเหตุนี้การศึกษานอกโรงเรียนจึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้เรียนจากต่างวัฒนธรรมและประสบการณ์ได้พบปะร่วมทำงาน ทำให้เกิดการรับฟังและเรียนรู้จากมุมมองที่หลากหลายซึ่งจะนำไปสู่การ เรียนรู้ และสร้างสรรค์ร่วมกัน และความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ในที่สุด
ในการพัฒนาพื้นฐานความรู้ความสามารถดังกล่าวข้างต้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการศึกษาตลอดชีวิตที่ผสมผสานระหว่างการ ศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ระบบดังกล่าวจะต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องในครอบครัวใน โรงเรียน ในสถานที่ทำงาน ในชีวิตประจำวัน ให้ความสำคัญแก่การวิจัย การพัฒนานวตกรรม และระบบจัดการความรู้ สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถให้บริการอย่างกว้างขวางและทั่วถึงมีระบบการเรียนรู้หลายรูปแบบ แต่เชื่อมโยงทุกระบบทุกรูปแบบด้วยระบบเทียบ โอนความรู้และประสบการณ์ที่ยืดหยุ่น ที่สำคัญจะต้องเสริมความเข้มแข็งให้แก่ผู้เรียนในการจัดการการเรียนรู้ของตน
           ในปัจจุบัน เป็นที่น่าชื่นชมที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้พยายามพัฒนาบริการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วยวิธีที่ เป็นนวตกรรม ในขณะเดียวกันจำเป็นต่องพิจารณาถึงแนวโน้มการพัฒนาของสังคมในอนาคตควบคู่ไปกับการสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มมีการ ปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้จัด ผู้ปฏิบัติ เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษา แหล่งประกอบการ และชุมชนให้ได้เป็นกลไกในการจัดบริการการ ศึกษานอกโรงเรียน นอกเหนือจากการสอนให้ประชาชนมีพื้นฐาน ความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วยังควรจัดให้มีการวาง ระบบที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนที่สำคัญที่สุด คือ การผลักดันให้ทุกคน ทุกหน่วยงานตระหนักว่าต้องเป็นทั้งผู้เรียน ที่จะได้รับประโยชน์และเป็นเจ้าภาพในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อนั้นงานการศึกษานอกโรงเรียนจะเป็นกลไกสำคัญสำหรับสังคมองค์ความรู้ อย่างแท้จริง
               ไม่ควรมีรูปแบบแน่นอน ไม่ควรมีกรอบกำหนด เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีอิสระและมีความหลากหลาย ต้องมีแหล่ง ให้เรียนรู้มากมาย เช่นตำรา หนังสือทั้งของไทยและต่างประเทศ ห้องสมุดในชุมชน อินเตอร์เน็ต วิดีโอ พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ สถาบันต่างๆ เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในรั้วโรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็นแค่สังคมเล็กๆ การใช้ชีวิตในรั้วโรงเรียนจึงมีความหมาย เพียงแค่การเรียนเพื่อให้ได้ปริญญา แต่การเรียนรู้จากสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างคุณค่าทางภูมิปัญญา ที่มิอาจตีมุลค่าเป็นตัวเงิน ออกมาได้ แต่เป็นคุณค่าแท้จริงของชีวิต

หนังสืออ้างอิง
The World Bank, Lifelong Learning in the Global Knowledge Economy
Gamball Paul & Blackwell Paul, Knowledge Management,
Davenport Thomas, The Knowledge Economy and Thailand
คำสำคัญ (Tags): #เทคโนโลยี
หมายเลขบันทึก: 138193เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท