สารสนเทศที่จำเป็นต่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา


สารสนเทศ

 สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

 (1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

 (2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

(3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

(4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ 

ตัวอย่างรายงานระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา           

1.1 ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา               

1.2 สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างการบริหารและภารกิจ                1.3  ศักยภาพของสถานศึกษา               

1.4  ความต้องการของสถานศึกษา               

1.5  แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น               

1.6  แนวทางการจัดการศึกษา

เว็บไซต์โรงเรียน  www.nakhon3.net2khoknodข้อมูลนักเรียน  จำนวนนักเรียนทั้งหมด  256 คนสารสนเทศความต้องการในการพัฒนา  จากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการในการพัฒนาครู  บุคลากร  นักเรียน  ผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้อง  โดยการใช้แบบทดสอบถามความต้องการในการพัฒนาโรงเรียน  การพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ    อันดับ 1 โรงเรียนจัดวางระบบการบริหารจัดการที่ดี  บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนกระบวนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาโรงเรียนบ่งบอกถึงการกระจายอำอาจและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบคล่องตัว  ตลอดจนวัฒนธรรมองค์กรที่ผนึกกำลังสร้างสรรค์แบบกัลยาณมิตร    อับดับ 2 โรงเรียนพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็งลดความเสี่ยงขจัดภัยอุปสรรค์ที่ก่อปัญหาให้นักเรียน  ตลอดจนการช่วยเหลือส่งเสริมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ    อันดับ 3 โรงเรียนมีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่เกิดจากการมีส่วนร่วม  และการยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาเอกลักษณ์ตามความต้องการของชุมชนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์และทิศทางของโรงเรียน

2)  ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน     

 2.1  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน               

2.2  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน               

 2.3  ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน               

2.4  รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

2.3  ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียนโครงงานทำเยื่อกระดาษจากวัสดุธรรมชาติกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2550ผู้จัดทำโครงงาน  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1อาจารย์ที่ปรึกษา  นางพิมพ์ศรี  บุญลาภความเป็นมาและความสำคัญของโครงงานในปัจจุบันกระดาษสาที่ใช้ในการวาดภาพหรือห่อของขวัญค่อนข้างมีราคาแพง  ประกอบกับเคยเห็นมีการนำเนื้อเยื่อจากพืชมาทำกระดาษได้  จึงเกิดความสนใจที่จะทำกระดาษ  แต่พืชที่พอจะสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษมีจำกัด  และเคยเห็นเขาตัดต้นกล้วยและผักตบชวาทิ้ง  จึงคิดว่าน่าจะนำกาบกล้วยและผักตบชวามาทำกระดาษ  แต่ก็ไม่แน่ใจว่าพืชชนิดใดจะนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษได้ดีกว่ากัน  จึงสนใจทำการศึกษาว่า  กระดาษที่ทำจากกาบกล้วยหรือผักตบชวาจะมีเส้นใยเหนียวหรือยึดกันแน่นกว่ากันวัตถุประสงค์ของการศึกษา                1.  เพื่อทำเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยและผักตบชวา                2.  เพื่อเปรียบเทียบเส้นใยของเยื่อกระดาษที่ทำจากกาบกล้วยกับผักตบชวาสมมติฐานของการศึกษา          กระดาษที่ทำจากกาบกล้วยมีเส้นใยใหญ่  เหนียวและยึดกันแน่นกว่าเส้นใยจากผักตบชวาตัวแปรที่ศึกษา                1. ตัวแปรอิสระ  ชนิดของวัสดุธรรมชาติ  คือก้านผักตบชวา และกาบกล้วย                2. ตัวแปรตาม  คุณภาพของเยื่อกระดาษ ได้แก่ ความอ่อนนุ่มของเส้นใย และสี                3. ตัวแปรควบคุม                                1) ปริมาณวัสดุแต่ละชนิด                                2) ปริมาณที่ใช้เคี่ยวผักตบชวาและกาบกล้วย                                3) เวลาในการเคี่ยว                                4) เวลาในการตากแดด                                5) ชนิด ขนาด และรูของตะแกรงที่กรองผักตบชวาและกาบกล้วยวิธีดำเนินงาน                1. หั่นกาบกล้วยและผักตบชวาเป็นท่อนยาวท่อนละ 1-2 นิ้ว อย่างละ 1 ถ้วยตวง (ทำแยกกัน)                2. นำกาบกล้วยและผักตบชวาไปต้มในน้ำ 3 ถ้วยตวงจนเปื่อย นาน 30 นาที (ทำแยกกัน)                3. นำกาบกล้วยผักตบชวาที่ต้มแล้ววางทิ้งไว้ให้เย็นแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ (ทำแยกกัน)                4. นำกาบกล้วยและผักตบชวาชิ้นเล็กๆ ไปตำในครกให้ละเอียด (ทำแยกกัน)                5. นำกาบกล้วยและผักตบชวาที่ตำละเอียดแล้วใส่ลงในน้ำกวนให้เข้ากันแล้วนำตะแกรงไปช้อนเนื้อเยื่อกาบกล้วยและผักตบชวา แล้วเกลี่ยให้เป็นแผ่นเสมอกัน (ทำแยกกัน)                6. นำกาบกล้วยและผักตบชวาที่ได้  ไปตากแดดให้แห้งแล้วลอกเป็นแผ่น (ทำแยกกัน)ผลการทดลอง

วัสดุที่ใช้ ลักษณะเส้นใย
กาบกล้วย เส้นใยใหญ่  อ่อนนุ่ม  เหนียวและยึดกันแน่น
ผักตบชวา เส้นใยเล็ก กระด้าง กรอบ และยึดกันไม่ค่อยแน่น

สรุปผลการทดลอง                กระดาษที่ทำจากกาบกล้วยมีเส้นใยเส้นใหญ่  อ่อนนุ่ม  เหนียว  และยึดกันแน่นกว่าเส้นใยจากผักตบชวาประโยชน์ที่ได้รับ                สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาการทำกระดาษจากกาบกล้วย  และผักตบชวาไปใช้ทำกระดาษได้  โดยควรเลือกใช้เส้นใยจากกาบกล้วยไปทำกระดาษ  เพราะจะให้เส้นใยที่เหนียวและอ่อนนุ่มกว่าเส้นใยจากผักตบชวา                2. ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน                                อันดับ 1 นักเรียนทุกคนใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนักเรียนกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ                          อันดับ 2 นักเรียนทุกคนอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง   นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด                                อันดับ 3 นักเรียนทุกคนใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ           

3.1  หลักสูตรและการเรียนการสอน               

3.2  การวัดและประเมินผลการเรียน               

3.3  การพัฒนากิจกรรมแนะแนว               

 3.4  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน               

3.5  การวิจัยในชั้นเรียนโครงการวิจัยในชั้นเรียน1. ชื่อเรื่องงานวิจัย  การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านหนังสือไม่ออกสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่อ่านหนังสือไม่ออก  โรงเรียนขอนหาดประชาสรรค์2. คณะผู้วิจัย  ครูกลุ่มสาระภาษาไทย3.  ความสำคัญของปัญหา                จากการประเมินของ สมศ. พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำและประสิทธิภาพด้านการอ่านของนักเรียนยังอยู่ในระดับปรับปรุง  สาเหตุเนื่องจากนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก  จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำไปด้วย  ผู้วิจัยมองเห็นความสำคัญของปัญหานี้  จึงได้จัดทำวิจัยเรื่องนี้เพื่อแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก  โดยจัดทำชุดฝึกทักษะการอ่านหนังสือภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีทื่ 14. วัตถุประสงค์ของการวิจัย                4.1  เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านหนังสือภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ม.1                4.2  เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย ระดับชั้น ม.15.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                5.1  ได้ชุดฝึกทักษะการอ่าน  จำนวน  20  ชุด                5.2  นักเรียนที่ได้ชุดฝึกทักษะ  สามารถอ่านหนังสือออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 ของนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออก6.  ขอบเขตของการวิจัย                 ศึกษาเฉพาะรักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านหนังสือไม่ออก โรงเรียนขอนหาดฯ7.  ข้อตกลงเบื้องต้น                -8. กรอบแนวคิดในการวิจัย                นิยามศัพท์                - ชุดฝึกทักษะการอ่าน  หมายถึง  แบบฝึกทักษะการอ่าน  ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ให้นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออก ใช้ฝึกการอ่าน                - นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก  หมายถึง นักเรียนที่ครูผู้สอนภาษาไทยปรับพื้นฐานระบุว่าเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก9.  ระเบียบวิธีวิจัย                - วิธีการดำเนินการวิจัย                9.1  พัฒนาชุดฝึกทักษะการอานโดยมีขั้นตอนดังนี้                - สร้างชุดฝึกทักษะการอ่าน                - ตรวจสอบผล                - ปรับปรุงจนได้แบบฝึกที่มีคุณภาพ                9.2  ประชากร  คือ  นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขอนหาดประชาสรรค์                9.3  ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า ตัวแปรต้น  ชุดฝึกทักษะการอ่าน                                 ตัวแปรตาม  ความสามารถในการอ่านของนักเรียน                9.4  วิธีการรวบรวมข้อมูล                                ข้อมูลนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออก                                - นักเรียนที่ครูผู้สอนปรับพื้นฐาน ม.1 ระบุว่าเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก                                ข้อมูลผลการอ่านของนักเรียน                                - แบบฝึกทักษะการอ่าน                                - แบบบันทึกการอ่าน                9.5  เครื่องมือการวิจัย                                - แบบสัมภาษณ์สาเหตุการอ่านหนังสือไม่ออก                                - แบบสอบถามข้อมูลนักเรียน                                - แบบบันทึกผลการอ่าน                9.6  การวิเคราะห์ข้อมูล                                - หาค่าเฉลี่ยคะแนนการอ่านของนักเรียนแต่ละคน                                - หาค่าร้อยละของนักเรียนที่อ่านหนังสือออกตามเกณฑ์ที่กำหนด                9.7  การรายงานข้อมูล                                - ใช้ตาราง                                - ใช้แผนภูมิ10.  ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน

4)  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ       

4.1  สภาพบรรยากาศการเรียนรู้               

4.2  ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก               

4.3  การพัฒนาบุคลากร               

4.4  ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชนโครงการหลัก  โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา1. สอดคล้องแผนงานหลักของโรงเรียนข้อที่ 2. สนองยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ข้อที่ 3. ลักษณะโครงการ / กิจกรรม          ต่อเนื่อง4. แผนกลยุทธ์สำนักงานคณะกรรมการ  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  ข้อที่ 5. สนองกลยุทธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ข้อที่ 6. สอดคล้องกับมาตรฐาน สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการเรียนการสอน ข้อที่ 7. หลักการและเหตุผล         การปฏิรูปการศึกษามีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ที่ต้องให้บุคลากรต้องเรียนรู้เพื่อที่จะได้รับรองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงต้องจัดให้มีโครงการนี้เพื่อให้บุคลากรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนำความรู้มาใช้ปฏิบัติให้เหมาะสมและมีบุคลากรอย่างเพียงพอในหน่วยงาน    จากการสำรวจความต้องการการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในระดับมากเพื่อให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้มีความรู้ความสามารถในด้านการจัดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อครูได้มีผลงานในการพัฒนาคุณภาพ มีประสิทธิภาพและได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ8. วัตถุประสงค์          1. เพื่อให้มีระบบการนิเทศภายใน      2. เพื่อให้ครูได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้     3. ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพ ในรูปแบบวิธีการต่างๆ เช่นการอบรมเชิงปฏิบัติการ     4. เพื่อส่งเสริมให้ครูได้ผลงานในการพัฒนาคุณภาพ  ตลอดจนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ9. เป้าหมาย    1. ด้านปริมาณ                                1. 1 ครูทุกคนได้รับการประชุม, อบรม ,สัมมนา                                1. 2 มีครูจ้างเพียงพอตามความต้องการของโรงเรียน                2. ด้านคุณภาพ       ครูทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาในด้านการอบรมศึกษาดูงานอย่างทั่วถึงและมีอัตราส่วนครู: นักเรียนอย่างเพียงพอ10. ตัวชี้วัด      อัตราส่วนครู: นักเรียน, ร้อยละของครู/บุคลากรที่ได้ปฏิบัติงานตรงตามความรู้ความสามารถ11

 อ้างอิง

เว็บไซต์โรงเรียน  www.nakhon3.net2khoknod

แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2550โรงเรียนขอนหาดฯ

คำสำคัญ (Tags): #สารสนเทศ
หมายเลขบันทึก: 138189เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท