ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเป้า(4)


ด้วยความเชื่อและการนับถือผีก็มีการเลี้ยงผีบรรพบรุษ เซ่นไหว้ผีภูผีป่า ผีไร่ ผีนา มีการรำผีฟ้า รักษาผู้ป่วยในกลุ่มที่มีความเชื่อและนับถือผี แต่ในปัจจุบันประเพณีการรักษาแบบนี้ได้ค่อยเลือนหายไปตามกาลเวลาและความเจริญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข โดยมีการจัดตั้งสุขศาลา เป็นสถานที่ของทางราชการไว้บริการชาวบ้าน เช่น การทำคลอด การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในยุคแรกจะมีเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์ ชาวบ้านเรียกหมอคำหว่าน เป็นผู้มาทำคลอดให้ชาวบ้าน ชาวบ้านให้ความรักใคร่ สนิทสนม เนื่องด้วยลักษณะงานต้องคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านตลอดเวลา

ระบบบริการสาธารณสุขในอดีตถึงปัจจุบัน

          สถานีอนามัยตำบลบ้านเป้า เดิมได้ชื่อว่าสุขศาลาชั้น 2  เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ..2501 ผู้มาเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานครั้งแรกคือนางศุภวรรณ  จุลละนันทน์(คำหว่าน) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์  มีที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเป้า เมื่อสมัยก่อนบริเวณนี้จะเป็นป่าละเมาะ และห่างไกลบ้านเรือนราษฎร จะด้วยเหตุนี้หรืออย่างไรก็ไม่ทราบเมื่อปี พ..2503 จึงได้มีการย้ายสถานที่มาอยู่ภายในหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารที่ทำการจำหน่ายสินค้าชุมชนอยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลบ้านเป้า ซึ่งอยู่ในท้องที่ชุมชนหมู่ที่ 8 บ้านเป้า โดยก่อสร้างเป็นอาคารไม้ยกพื้นใต้ถุนเตี้ย ชั้นเดียว และมีเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานเพิ่มอีก 1 คน คือ นางดวงจันทร์  กาญจนรัตนพันธุ์ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์อนามัยจัตวา ณ ที่แห่งนี้ได้เปิดทำการเป็นสถานบริการด้านสาธารณสุขให้แก่ประชาชนชาวตำบลบ้านเป้าและตำบลใกล้เคียงได้ 12 ปี และเมื่อปี พ.. 2515 สภาตำบลบ้านเป้าได้มอบที่ดินสาธารณประโยชน์โคกแปน จำนวน 6 ไร่ ให้ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารและได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นสถานีอนามัยตำบลบ้านเป้าตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งอาคารสถานีอนามัยดังกล่าวเป็นแบบไม้ชั้นเดียวไม่มีใต้ถุน ทำด้วยไม้ พื้นคอนกรีต อาคารบ้านพักทำด้วยไม้ 2 ชั้น ใต้ถุนสูง จำนวน 2 หลัง ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ หมู่ 8 บ้านเป้า มีนางดวงจันทร์  กาญจนรัตนพันธุ์เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย จนถึง เดือนมกราคมพ..2537ได้รื้อถอนอาคารหลังเก่าออกแล้วสร้างอาคารทดแทนเป็นแบบคอนกรีต 2 ชั้นใต้ถุนสูง มีบันไดทางขึ้น 2 ด้าน ตรงมุขด้านหน้าตัวอาคาร ซึ่งเป็นแบบแปลนอาคารสถานีอนามัยขนาดใหญ่ เป็นอาคารที่ใช้ทำการจนถึงปัจจุบัน (..2549)

ทำเนียบเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยตำบลบ้านเป้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

1.       นางศุภวรรณ  จุลละนันทน์(คำหว่าน)หัวหน้าสุขศาลา พ.ศ.2503 - พ.ศ.2505

2.       นางดวงจันทร์  กาญจนรัตนพันธ์ หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลบ้านเป้า พ.ศ.2504 - 30 กันยายน 2543

3.   นายสุรัตน์  เบ้าลี   เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ.2515 - 24 สิงหาคม 2520

4.  นายประเทือง  ธรรมปาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข24 สิงหาคม 2520 - 1 ตุลาคม 2534

5.  นางสุพรรณ  เกษมศรี เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  พศ.2523 – 2526

6. นางนงค์ลักษณ์  ดิเรกโภค   พยาบาลเทคนิค พ.ศ.2529 – 2535

7. นายสายยันต์  ภิรมย์กิจ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนพ.ศ.2534 - พ.ศ. 2537  

8. นางประไพ  กลางสูงเนิน  เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 1 ตุลาคม 2534 - พ.ศ.2537 

9. นางสมพร  ฤทธิ์ไธสง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน  พ.ศ.2536 – 2545

10.   น.ส.ปัทมา  ภิญโญทรัพย์   เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 เม.ย.2537 - พ.ศ.2538

11.นายชัยวัฒน์  น้อยยาสูง  นักวิชาการสาธารณสุข 1 มิถุนายน 2537 – ปัจจุบัน  

12.  นางนิภา จินดามาตย์ หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลบ้านเป้า พ.ศ.2542 - 6ส.ค.2547  

13. นายปัญญา  ดีขามป้อม เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข มิ.ย.41 - มิ.ย.45, ต.ค.46 - ม.ค.49

14.   น.ส.ปิยวลี(ณัฐชานนท์)  สุขเอนกนันท์  เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข  เมษายน 2546 – 3 มิถุนายน 2547

15.   นางเพ็ญศรี  ทับทอง  พยาบาลวิชาชีพ6 มิถุนายน 2543 – มีนาคม 2550

16.  นายธนิต  หงส์คำ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 3 มิถุนายน 2547 - ธันวาคม 2549 

17. นายสุชาติ  กาญจนสุปัญญา  หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลบ้านเป้า 6 สิงหาคม 2547 - 6 กันยายน 2548

18. นายศักดิ์สิทธิ์  สิงหรา ณ อยุธยา หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลบ้านเป้า 3 มกราคม 2549 ถึง ปัจจุบัน

19. น.ส.อัปสรศรี  ลาภทวี  เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข17 เมษายน 2549 - ปัจจุบัน

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ปัจจุบันมีจำนวน 223 คน (พ.ศ.2549) มี

1. นายเสี่ยน สวัสดิ์ชาติ ประธาน อสม.หมู่ 13 และประธาน อสม.ตำบลบ้านเป้า

2. นายชี  ยาชัย  ประธาน อสม.หมู่ 14 และรองประธาน อสม.ตำบลบ้านเป้า

3. นางหนูเกศ   เนาว์โนนทอง   ประธาน อสม. หมู่ 1

4. นายทองที   พรมหลวง  ประธาน อสม. หมู่ 2

5. นางจินตนา  แก้วศิริ ประธาน อสม. หมู่ 3

6. นายชุมพร  แสงขามป้อม   ประธาน อสม. หมู่ 4

7. นายคำปัน  พรมพฤกษา  ประธาน อสม.หมู่

8. นางมณฑา  ลีลาศ   ประธาน อสม. หมู่ 6  

9. นายสงกรานต์  ทองดี ประธาน อสม. หมู่ 7

10. นางไฉน  พิทักษ์  ประธาน อสม. หมู่ 8

11. นายศิริชัย  ลาภทวี   ประธาน อสม. หมู่ 9

12. นายอำนวย  ขืนเขียว  ประธาน อสม. หมู่ 10 

13. นางเทียบทอง  คุณสมบัติ     ประธาน อสม. หมู่ 11

14. นายสมศักดิ์   หอมชาลี ประธาน อสม. หมู่ 12

ทำเนียบพนักงานลูกจ้างชั่วคราว ของสถานีอนามัยตำบลบ้านเป้า ดังนี้

1.  นางประครอง กางสูงเนิน 

2.  นายศิริชัย     ลาภทวี 

3.   นายทนงศักดิ์ สถิตเป้า

4.นางสาวอุ้มพร  ลาภประเสริฐ 

5.นายธงชัย  ธรรมกุล

สุขภาพของชาวบ้านในอดีตและวิธีการแก้ปัญหาของชาวบ้าน 

          ลักษณะการสาธารณสุขในอดีตยังไม่มีความเจริญมากนัก มีการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำฤดูกาล และโรคระบาด การรักษายังอาศัยหมอพื้นบ้าน มีหมอยาสมุนไพร หมอเป่าหมอตำแย  ด้วยความเชื่อและการนับถือผีก็มีการเลี้ยงผีบรรพบรุษ เซ่นไหว้ผีภูผีป่า ผีไร่ ผีนา มีการรำผีฟ้า รักษาผู้ป่วยในกลุ่มที่มีความเชื่อและนับถือผี แต่ในปัจจุบันประเพณีการรักษาแบบนี้ได้ค่อยเลือนหายไปตามกาลเวลาและความเจริญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข โดยมีการจัดตั้งสุขศาลา เป็นสถานที่ของทางราชการไว้บริการชาวบ้าน เช่น การทำคลอด การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในยุคแรกจะมีเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์ ชาวบ้านเรียกหมอคำหว่าน เป็นผู้มาทำคลอดให้ชาวบ้าน ชาวบ้านให้ความรักใคร่ สนิทสนม เนื่องด้วยลักษณะงานต้องคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านตลอดเวลา และมาถึงยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2549) รัฐบาลมีการนำนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาใช้ มีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่สถานีอนามัยตำบลบ้านเป้า จำนวนบุคลากรเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมี 5 คน ชาวบ้านมารับบริการฝากครรภ์ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค วางแผนครอบครัว และผู้ที่เจ็บป่วยเล็กน้อยจะมารับการรักษาที่สถานีอนามัย หากมีอาการหนักเกินขีดความสามารถก็จะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ และยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการความสะดวกสบายไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาให้บริการก็จะไปรับบริการที่คลินิกเอกชน มีนายแพทย์ และพยาบาลวิชาชีพและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาเปิดให้บริการอยู่ 7 แห่ง ร้านขายยาที่ควบคุมโดยเภสัชกร 1 แห่ง อันเป็นทางเลือกหนึ่งของคนในชุมชน หรืออีกทางเลือกหนึ่งของคนบางกลุ่มก็คือไปรับบริการที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์จังหวัดขอนแก่น หรือคลินิกนายแพทย์ที่อยู่ในเมือง เช่น อำเภอชุมแพ อำเภอภูเขียว เป็นต้น ด้วยเหตุที่ ประชาชนมีพาหนะรถยนต์ส่วนตัวและการคมนาคมสะดวกสบาย ทำให้เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของชาวบ้านซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง เมื่อเขามีโอกาส

จบบริบูรณ์

 เรียบเรียงโดย...สักทอง  ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง

หมายเลขบันทึก: 138191เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ ยินดีที่รู้จัก

 ทำงานที่สถานีอนามัยเหมือนกันค่ะ บ้านเป้าน่าอยู่จัง

เล่าสนุกจังเลยนะคะ

อนามัยสวยจังเลยนะคะ

จาก  บุ๋มบิ๋มค่ะ

อัครเดช ประจญกล้า

ที่สถานีน่าอยู่จังเลยครับ คุณปัญญาสบายดีหรือป่าวครับ จำผมได้หรือป่าว ผมเหน่งนะที่เราเคยพักอยู่ที่หินตั้งเรียนรร.ชาย/6 ว่างก็ Mail มาคุยกับเราหน่อยนะ

สงสัยคุณอัครเดช ประจญกล้า จะทักคนผิดกระมังครับ ลองตรวจสอบข้อมูลดูอีกทีนะครับ

สวัสดีค่ะ

เข้ามาทัก คนบ้านใกล้กัน...อิอิ

P

 สวัสดีเช่นกันครับคุณก้าวแรกที่คลาน ด้วยสายใยรัก..

ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมและทักทาย

ใช่อยู่ภูเม็งหรือเปล่าครับ วัดอุดมคงคาคีรีเขต กระผมมีรูปหล่อหลวงปู่ผางบาตรเปิด 1 องค์

 

ค่ะใช่ แถวนั้นแหละค่ะ

แต่บ้านแม่ อยู่ที่ ภูเขียว คะ

P

ยินดีที่ได้รู้จักครับ ก็ขอเชิญติดตามบันทึกของ ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง นะครับ

คุณย่า คำหว่านเก่งจังเลยคะ

ได้เป้นหัวหน้า

คนแรกเลย

สวัสดีครับ ดีใจที่เคยอยู่บ้านเป้า

สวัสดีค่ะ.. .ดิฉันเป็นหลานสาวของคุณยายดวงจันทร์ กาญจนรัตนพันธ์

ภูมิใจมากที่ได้เกิดมาเป็นหลานของยาย

30หลานคุณย่า

คุณย่าของคุณ ชาวบ้านเขาเรียกว่าคุณหมอ คุณหมอคำหว่าน ซึ่งท่านได้ทำคุณประโยชน์อเนกอนันต์ให้กับชาวบ้านที่นั่น ท่านทำงานด้านการผดุงครรภ์ แม้แต่ตัวผู้เขียนยังสำนึกในบุญคุณของท่านทีได้เกิดมาลืมตาดูโลกก็มีท่านเป็นผู้ดูแลทำคลอดให้

 

30สายยันต์

ขอบคุณครับที่ไม่ลืมชาวบ้านเป้า

30พยบ.สวนสุนันทา

สวัสดีน้องนิว คุณยายของน้องนิวก็เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาด้านสาธารณสุข การผดุงครรภ์ในยุคแรกๆเป็นอย่างมาก สองมือของคุณยายได้จับเข็มฉีดวัคซีนให้กับเด็กๆตลอดชีวิตของท่านไม่รู้กี่หมื่นเข็ม

คิดถึงบ้านเป้าเราจังเลยค่ะ

อดีตเด็ก ม.9 สาวโนนชาด

สายยันต์ ภิรมย์กิจ

โชคดีที่เคยทำงานงาน อนามัยบ้านเป้ารักคิดถึง อนามัยบ้านเป้าจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท