ความตรง (Validity)


การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

 ความตรง (Validity)  

หรือความถูกต้องเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของ     เครื่องมือวิจัยกล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตรงกับที่ต้องการจะวัด การตรวจสอบความตรงทำได้หลายวิธี ดังนี้


1.1)  ความตรงตามเนื้อหา  (Content  Validity)  เป็นการมองโดยส่วนรวมว่าเครื่องมือหรือชุดของคำถามหรือแบบวัดนั้น  ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวัดได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่  เช่น   แบบประเมินคุณภาพของการพยาบาล ผู้วิจัยสร้างไว้จำนวน 30-40 ข้อ ย่อมต้องการการตรวจสอบว่า 30-40 ข้อนั้น เป็นตัวแทนของพฤติกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ต้องการประเมินแล้วหรือยัง การตรวจสอบต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาของเครื่องมือนั้น ๆ ในทางปฏิบัติต้องการผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ครั้งละ 3-5 ท่าน ภายหลังการตรวจสอบผู้สร้างเครื่องมือจะนำข้อแนะนำที่ได้รับมาแก้ไขปรับปรุงจนกว่าจะได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญความเห็นพ้องต้องกันของผู้เชี่ยวชาญ แสดงถึงการมีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือนั้น คิดเป็นร้อยละ 80


1.2)  ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-Related  Validity)   เป็นการประเมินความตรงตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานการตรวจสอบที่มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดได้จากเครื่องมือที่สร้าง กับค่าที่วัดได้จากเกณฑ์ ความสำคัญอยู่ที่เกณฑ์ที่ผู้วิจัยเลือกว่าถูกต้องตามหลักทฤษฎี ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปหรือไม่ เกณฑ์ที่เลือกใช้มี 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ต้องการให้เครื่องมือนั้นวัดได้ตรงตามเกณฑ์ กล่าวคือ


1.2.1)  ตรงตามสภาพ (Concurrent  Validity)  หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามสภาพความเป็นจริงโดยทั่ว ๆ ไปในเวลานั้น


1.2.2)  ความตรงตามทำนาย (Predictive  Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามความจริงที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง หรือในอนาคต ซึ่งสามารถทำนายได้


1.3)  ความตรงตามโครงสร้าง (Construct  Validity)   เป็นการมองความตรงของเครื่องมือวิจัยในแง่ที่จะบอกว่าสิ่งที่ได้มาจากการวัดนั้นมีความตรงตามแนวคิดเชิงทฤษฎีอย่างไร ซึ่งเป็นการยากที่จะตรวจสอบเนื่องจากแนวคิดเชิงทฤษฎีนี้มักอยู่ในรูปนามธรรม ความตรงตามโครงสร้างมีความสำคัญในแง่ของการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีและสิ่งที่วัดได้จริงจากการปฏิบัติ เช่น ในเรื่องสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ความถนัด ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้มีโครงสร้างทางทฤษฎีอย่างไร เมื่อนำมาถ่ายทอดเป็นข้อความในเครื่องมือวิจัย องค์ประกอบและรายละเอียดต่าง ๆ ในเครื่องมือนั้นตรงตามทฤษฎีมากน้อยเพียงใด  ถ้าวัดได้ครบถ้วนถือว่ามีความถูกต้องตามโครงสร้างการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างอาจใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือใช้  Known  group  technique  ขึ้นอยู่กับว่าวิธีใดจะเป็นไปได้

หมายเลขบันทึก: 13799เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2006 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ความตรง (Validity)
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

 

 ความตรง (Validity)  

หรือความถูกต้องเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของ     เครื่องมือวิจัยกล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตรงกับที่ต้องการจะวัด การตรวจสอบความตรงทำได้หลายวิธี ดังนี้


1.1)  ความตรงตามเนื้อหา  (Content  Validity)  เป็นการมองโดยส่วนรวมว่าเครื่องมือหรือชุดของคำถามหรือแบบวัดนั้น  ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวัดได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่  เช่น   แบบประเมินคุณภาพของการพยาบาล ผู้วิจัยสร้างไว้จำนวน 30-40 ข้อ ย่อมต้องการการตรวจสอบว่า 30-40 ข้อนั้น เป็นตัวแทนของพฤติกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ต้องการประเมินแล้วหรือยัง การตรวจสอบต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาของเครื่องมือนั้น ๆ ในทางปฏิบัติต้องการผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ครั้งละ 3-5 ท่าน ภายหลังการตรวจสอบผู้สร้างเครื่องมือจะนำข้อแนะนำที่ได้รับมาแก้ไขปรับปรุงจนกว่าจะได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญความเห็นพ้องต้องกันของผู้เชี่ยวชาญ แสดงถึงการมีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือนั้น คิดเป็นร้อยละ 80


1.2)  ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-Related  Validity)   เป็นการประเมินความตรงตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานการตรวจสอบที่มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดได้จากเครื่องมือที่สร้าง กับค่าที่วัดได้จากเกณฑ์ ความสำคัญอยู่ที่เกณฑ์ที่ผู้วิจัยเลือกว่าถูกต้องตามหลักทฤษฎี ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปหรือไม่ เกณฑ์ที่เลือกใช้มี 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ต้องการให้เครื่องมือนั้นวัดได้ตรงตามเกณฑ์ กล่าวคือ


1.2.1)  ตรงตามสภาพ (Concurrent  Validity)  หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามสภาพความเป็นจริงโดยทั่ว ๆ ไปในเวลานั้น


1.2.2)  ความตรงตามทำนาย (Predictive  Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามความจริงที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง หรือในอนาคต ซึ่งสามารถทำนายได้


1.3)  ความตรงตามโครงสร้าง (Construct  Validity)   เป็นการมองความตรงของเครื่องมือวิจัยในแง่ที่จะบอกว่าสิ่งที่ได้มาจากการวัดนั้นมีความตรงตามแนวคิดเชิงทฤษฎีอย่างไร ซึ่งเป็นการยากที่จะตรวจสอบเนื่องจากแนวคิดเชิงทฤษฎีนี้มักอยู่ในรูปนามธรรม ความตรงตามโครงสร้างมีความสำคัญในแง่ของการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีและสิ่งที่วัดได้จริงจากการปฏิบัติ เช่น ในเรื่องสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ความถนัด ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้มีโครงสร้างทางทฤษฎีอย่างไร เมื่อนำมาถ่ายทอดเป็นข้อความในเครื่องมือวิจัย องค์ประกอบและรายละเอียดต่าง ๆ ในเครื่องมือนั้นตรงตามทฤษฎีมากน้อยเพียงใด  ถ้าวัดได้ครบถ้วนถือว่ามีความถูกต้องตามโครงสร้างการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างอาจใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือใช้  Known  group  technique  ขึ้นอยู่กับว่าวิธีใดจะเป็นไปได้

 

ดีเลยครับ เพราะ ทำงานเกี่ยวกับการทำเครื่องจักรครับ ..

ลูำกค้าบอกว่า อยากให้มีการทำ Validity ของเครื่องจักร ก็ยัง งง อยู่ว่าจะเริ่มที่ไหน

ลอง Search ดูได้บทความจากพี่มา เป็นประโยชน์มากครับ ได้ idea ไปปรับใช้เลย

วันนี้ขออนุญาต สำเนา ไปปรับใช้หน่อยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

Pong+

ขอบคุณคะ กำลังฝึกหัดเรียนรู้เรื่องงานวิจัย มาอ่านเจอเป็นประโยชน์มากคะ

  • ยินดีครับCMUpal ผมเขียนไว้ตอนที่เรียนวิจัยครับ

ขอบคุณมากคะ กำลังจะสอบวิจัย อ่านชีทอาจารแล้วงงมากเลย พออ่านอันนี้แล้วเข้าใจเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท