วันนี้ขอปรบมือดัง ๆ ให้กับนักศึกษาฝึกงานจาก มภร.อุตรดิตถ์
, มภร.อุดรธานี , มภร.นครปฐม ทั้ง 10 คน ที่ฝึกงาน ณ
สำนักหอสมุด
จากการที่สำนักหอสมุดได้รับนักศึกษาฝึกงาน ก็ฝึกกันแบบเดิม
ๆ ที่เราเคยฝึกกันมา เป็นการสื่อสารทางเดียว
โดยนักศึกษาจะต้องฝึกทุกฝ่าย / งาน ของสำนักหอสมุด
แต่ขณะนี้สำนักหอสมุดเกิดมิติใหม่ของการฝึกงานขึ้น ด้วยวิสัยทัศน์ของ
ดร.รุจโรจน์ แก้วอุไร รองผู้อำนวยการ
ฝ่ายวิชาการ
ได้ให้นโยบายว่าการที่นักศึกษามาฝึกงานควรมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำโครงการ
หรือ กิจกรรม ต่าง ๆ
เพื่อให้นักศึกษานำผลงานที่ตนเองทำระหว่างฝึกงานไปเสนอมหาวิทยาลัยของตนเอง
โดยกำหนดว่านักศึกษาทั้ง 3 สถาบัน จำนวน 10 จะต้องจับคู่กัน
และคู่นั้นจะต้องต่างสถาบันด้วยเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรู้จักซึ่งกันและกันด้วย
โอ้โห่งานนี้...พี่เลี้ยงก็งง...เพราะเคยฝึกแต่แบบเดิม ๆ
นักศึกษาไม่ต้องพูดถึง...ไหนจะต้องส่งรายงานที่ฝึกปกติ(แบบเดิม)กับเพื่อสถาบันเดียวกัน
ไหนจะได้รับมอบหมายให้ทำโครงการซึ่งต้องทำกับเพื่อนต่างสถาบันซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
น้อง ๆ บอกว่าอยากจะร้องไห้ ถามว่าพี่หนูจะทำได้หรือ ????
คำถามมากมายตามมา
และแล้ววันนี้ก็ถึงกำหนดนำเสนอผลงาน โดยสำนักงานเลขาฯ ได้เชิญชวนบุคลากรสำนักหอสมุดที่สนใจเข้ารับฟัง นักศึกษาเสนอผลงานทั้ง 5 กลุ่ม ดังนี้
1.
โครงการจัดบอร์ดนิทรรศการวิชาการของสำนักหอสมุด
2.
โครงการเผยแพร่สารสนเทศเสียงตามสายของสำนักหอสมุด
3. โครงการทำวีดิทัศน์ คู่มือ
ประชาสัมพันธ์งานบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
4. โครงการสร้างฐานข้อมูลกฤตภาคออนไลน์
จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
5.
โครงการจัดทำแนะนำหนังสือใหม่ของสำนักหอสมุดในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมดังกล่าวทำให้นักศึกษาได้ปฎิบัติจริง และทั้ง 5
โครงการนี้พบว่านักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
รู้จักการแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่นแม้ว่าจะมาจากต่างสถาบัน
สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ รู้จักจัดสรรเวลาได้อย่างเหมาะสม
ผลงานของนักศึกษาทั้ง 3 มหาวิทยาลัยเกินความคาดหมายของเรา
นี่คือ..มิติใหม่ของการฝึกงาน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย สุนิสา พรหมมณี ใน สำนักงานเลขานุการ สำนักหอสมุด
ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมความสามารถอันเกินตัว (เพราะว่าน้องบางคนตัวเล็ก ผอมบาง ...แต่ความสามารถล้นเหลือ) ของน้องๆ นักศึกษาฝึกงานซึ่งทำผลงานออกมาได้ดีทีเดียว เมื่อเทียบกับระยะเวลาอันจำกัด
นักศึกษาฝึกงานสามารถนำความรู้ทางวิชาชีพบรรณารักษ์มาผสมผสานกับเทคโนโลยี และความสามารถส่วนบุคคล และคิดว่าหากนำผลงานนั้นๆ ไปพัฒนาต่อยอด คงจะต้องเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงในหลายๆ งานแน่นอนค่ะ
จากการเปลี่ยนแปลงมิติใหม่ของการฝึกงานทำให้ทั้งสำนักหอสมุด และนักศึกษาฝึกงานต่างคนต่างได้เรียนรู้ ...ต่างเป็นครูซึ่งกันและกัน ได้เรียนรู้ข้อบกพร่อง และข้อดี เพื่อสำนักหอสมุดจะได้นำส่วนต่างๆ เหล่านั้นมาพัฒนาการฝึกงานให้กับนักศึกษาวิชาชีพบรรณารักษ์ในรุ่นต่อๆ ไปค่ะ