ได้เวลานำเข้า ปลาคาร์พ จากต่างประเทศแล้ว


ในที่สุดกรมประมงก็ได้อนุญาตให้นำเข้าปลาคาร์พจากต่างประเทศแล้ว
ได้เวลานำเข้า ปลาคาร์พ จากต่างประเทศแล้ว
 ในที่สุดกรมประมงก็ได้อนุญาตให้นำเข้าปลาคาร์พจากต่างประเทศแล้ว หลังจากที่ได้ประกาศงดการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 เป็นต้นมา อันเนื่องมาจากสาเหตุการแพร่ระบาดของโรคในปลาคาร์พที่เรียกว่า โรคเคเอชวี (KHV หรือที่เรียกว่า Koi Herpes Virus) ในประเทศญี่ปุ่นการอนุญาตให้นำเข้าครั้งนี้ มีความแตกต่างไปจากการนำเข้าในครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมาพบว่าไม่มีสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค ทั้งนี้ก็เพราะโรคดังกล่าวในประเทศญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ เพียงแต่ว่าในขณะนี้ ทางรัฐบาลและสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาคาร์พของประะทศญี่ปุ่นได้ควบคุมโรคมิให้แพร่ระบาดออกไปในวงกว้างได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางผู้เพาะเลี้ยงปลาคาร์พได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลให้จัดทำระบบการกักกันโรคภายในฟาร์มของตนเอง ที่สำคัญที่สุดก็คือผู้รวบรวมปลาคาร์พส่งออก ก็มีสถานที่กักกันโรคทุกแห่งการอนุญาตให้นำเข้าครั้งนี้ กรมประมงจำเป็นต้องสร้างระบบการกักกันโรคปลาคาร์พที่นำเข้าทั้งจากประเทศต้นทางที่ส่งออกและภายในประเทศไทยเองเพื่อสร้างความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยมิให้โรคดังกล่าวระบาดสู่ปลาคาร์พที่อยู่ในประเทศไทยอันจะสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาตระกูลคาร์พของไทยดังที่ผมได้กล่าวแล้วข้างต้นแม้ว่ามูลค่าของธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาคาร์พและปลาไนจะมีเป็นหลักร้อยล้าน ระบบการป้องกันโรคนับว่ามีความสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเป็นอย่างยิ่ง
กรมประมงได้วางระบบการป้องกันโรค
โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้นำปลาคาร์พเข้ามาเพาะเลี้ยงทั้งก่อนนำเข้าและหลังนำเข้า ที่ผมจะได้นำมาสาธยายให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ปลาคาร์พที่นำเข้าต้องมาจากฟาร์มหรือแหล่งที่กรมประมงได้ประกาศรับรองแล้วเท่านั้น
2. ปลาคาร์พที่นำเข้าต้องผ่านการกักกันโรคก่อนส่งออก 7-10 วัน และไร้รับการกำจัดพยาธิแล้ว
3. ปลาคาร์พที่นำเข้าต้องมีหนังสือรับรองสุขภาพของปลาคาร์พที่รับรองว่าไม่มีโรคเคเอชวี และโรคเอสวีซีวี (SVCV หรือที่เรียกว่า Spring Viraemis of Carp Virus Disease)
4. ผู้นำเข้าต้องมีสถานที่กักกันโรคที่ผ่านการตรวจรับรองจากกรมประมงก่อนที่จะขออนุญาตนำเข้า
5. ผู้นำเข้าจะต้องแจ้งจำนวนปลาคาร์พที่มีอยู่ในฟาร์มต่อกรมประมง ก่อนที่จะขออนุญาตนำเข้า
6. เงื่อนไขสุดท้ายที่หลายท่านฟังดูแล้วอาจจะคิดว่ายุ่งยากก็คือ การจำหน่ายปลาคาร์พที่นำเข้านั้นผู้นำเข้าต้องออกหนังสือกับกับการจำหน่ายสัตว์น้ำมอบให้แก่ผู้ซื้อด้วย เพื่อวัตถุประสงค์ว่าหากปลาตัวใดเกิดปัญหาเจ้าหน้าที่ด้านโรคจะได้ตรวจสอบย้อนกลับไปดูว่าปลาตัวนั้นนำเข้ามาจากไหน เมื่อใด และรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมโรคต่อไป
             เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขพิเศษที่กำหนดเพิ่มเติมจากการขออนุญาตนำเข้ามาตามปกติที่ผู้นำเข้าได้เคยปฏิบัติอยู่แล้ว ซึ่งเงื่อนไขพิเศษดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกที่มีการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ที่กำหนดขึ้นโดยองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ ผมเชื่อว่าประเทศที่นำเข้าปลาคาร์พจากญี่ปุ่นอย่างสหภาพยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาต่างก็ใช้เงื่อนไขเดียวกันนี้ในการควบคุมการนำเข้าสัตว์น้ำที่มีสภาวการณ์ระบาดของโรคดังเช่นปลาคาร์พนี้
             การควบคุมตรวจสอบปลาคาร์พนำเข้าที่เรียกว่าเข้มงวดนั้น เริ่มตั้งแต่ปลาคาร์พย่างกรายเข้าสู่แผ่นดินไทยซึ่งนอกจากจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ แล้ว ยังต้องผ่านการตรวจสอบทั้งด้านเอกสารและเปิดกล่องตรวจสอบชนิดปลาของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์น้ำของกรมประมงอีกด้วย แต่การเปิดกล่องตรวจดังกล่าวนั้นเป็นการสุ่มกล่องเปิดตรวจตามหลักบริหารความเสี่ยงเท่านั้นครับ เช่น นำเข้ามาจำนวน 50 กล่อง สุ่มเปิดแค่ 5 กล่อง เป็นต้น เจ้าหน้าที่คงจะไม่ได้เปิดทั้งหมด มิเช่นนั้นคงต้องใช้เวลาตรวจสอบกันมากหลายชั่วโมง ผมเข้าใจว่าหากเปิดตรวจทุกกล่องอาจจะมีปลาบางตัวไม่สบายหรือตายขึ้นมาแน่น และคงจะมีการฟ้องร้องตามกันมาอีก ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็มีงานที่ต้องไปตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำของผู้นำเข้ารายอื่นด้วยแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรละครับว่า ทุก ๆ กล่องนี้มีอะไรอยู่บ้าง ถูกต้องตามที่ผู้นำเข้าได้แจ้งไว้หรือไม่ก็ต้องเปิดทุกกล่องและทำการนับจำนวนครับ จึงจะรู้ว่าภายในกล่องมีอะไร แต่จะไปเปิดกล่องตรวจนับกันทีสถานกักกันของผู้นำเข้าที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เนื่องจากว่าไหน ๆ ปลาทั้งหมดจะต้องถูกกักกันอยู่แล้วเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานกรุงเทพฯ จะคุมปลาคาร์พที่นำเข้าทั้งหมดไปยังสถานกักกันของผู้นำเข้าเพื่อรวมนับและตรวจสอบปลาร่วมกับเจ้าหน้าที่ประมงอีก 2 หน่วยงานคือสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืดและสถาบันสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ โดยจะมีการบันทึกสภาพปลาคาร์พทั้งหมดที่ใส่ในแต่ละบ่อเพื่อนำไปอ้างอิงตอนที่กักกันว่าเป็นปลาคาร์พชุดเดียวกับที่นำเข้าจริงหรือไม่เมื่อนับจำนวนและตรวจสอบขนาดปลาที่ลงในแต่ละบ่อเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์น้ำฯ ก็จะจัดทำบันทึกการปลาคาร์พเพื่อสั่งการกักปลาดังกล่าวไว้เป็นเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันที่นำเข้าหรือจนกว่าจะได้ทำการตรวจวิเคราะห์โรคและทำการเฝ้าระวังในระยะเวลา 15 วันเรียบร้อยแล้วซึ่งเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืดจะเก็บตัวอย่างปลาคาร์พไปทำการตรวจวิเคราะห์โรคเคเอชวี ในห้องปฏิบัติการเป็นเวลาประมาณ 12-14 วัน เพื่อพิสูจน์ว่าปลาคาร์พนั้นปราศตากโรคจริง ๆ ด้วยเช่นกันสิ่งที่จะเกิดปัญหาขึ้นมาได้ก็คือจำนวนและขนาดปลาที่นำเข้าคลาดเคลื่นไม่ตรงกับที่ผู้นำเข้าแจ้งไว้กับทางราชการ เนื่องจากผู้นำเข้าได้สั่งจองปลาที่ฟาร์มเลี้ยงต่างประเทศไว้เป็นเวลานานหลายวันทางฟาร์มจึงต้องดำเนินการจัดส่งมาให้ ซึ่งในบางครั้งปลามีการตายหรือป่วยเป็นโรคอื่น ทางฟาร์มจึงอาจจะงดการส่งตัวที่ตายหรือป่วยโดยที่ฟาร์มอาจจะเปลี่ยนตัวอื่นส่งมาหรือาจจะแถมปลามาให้อีกดังนั้น ผู้นำเข้าจะต้องติดต่อกับทางฟาร์มที่ต่างประเทศให้แน่ใจว่าปลาที่จัดส่งมานั้นมีจำนวนและขนาดเท่าไรกันแน่ เพื่อเจ้าหน้าที่ประมงจะได้บันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องตรงกันกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร มิเช่นนั้นหากข้อมูลปลาที่นำเข้าไม่ตรงกัน ผู้นำเข้าอาจจะประสบปัญหาการประทำผิดกฎหมายศุลกากร กฏหมายประมง และกฎหมายโรคระบาดสัตว์ จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็คงไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้เป็นแน่ มิเช่นนั้นปัญหาเล็กน้อยที่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ อาจจะบานปลายกลายเป็นปัญหาใหญ่จนยากจะเยี่ยวยาได้ในระว่างการกักกันปลาคาร์พอยู่นี้ เจ้าหน้าที่ประมงจะไปตรวจสอบปลาเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่าปลาที่อยู่ในสถานกักกันนั้นอยู่สุขสบายดีมีอาการเจ็บป่วยประการใดหรือไม่ หรือมีการยักย้ายถ่ายเทปลาออกไปจากสถานกักกันหรือไม่ ดังนั้น ผู้นำเข้าจึงต้องพึงระวังข้อปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ดีเนื่องจากปลาคาร์พดังกล่าวถือว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าปลาคาร์พชุดนั้นได้ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ที่มีการเข้มงวดแบบนี้ แต่สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้วดังเช่น ออสเตรเลียหรือสหรัฐอเมริกาได้มีการปฏิบัติมาเป็นเวลานานแล้วในเรื่องการตรวจสอบปลาคาร์นำเข้าภายใต้ระบบการกักกันโรคที่ผมได้แจงรายละเอียดการตรวจสอบนี้คงจะทำให้ท่านที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เพาะเลี้ยงปลาคาร์พเพื่อการส่งออกคงจะเบาใจในระบบการกักกันโรคของประเทศไทยที่ท่านสามารถนำไปกล่าวอ้างเพื่อสร้างความมั่นใจต่อลูกค้าในประเทศปลายทางได้เป็นอย่างดีซึ่งผมคาดหวังว่าหากทุก ๆ ฝ่ายได้ร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎกติกาที่ได้วางไว้อย่างตั้งใจปัญหาใด ๆ ก็อาจแก้ไขได้โดยไม่ยากเย็น

            แหล่งที่มา        ประพันธ์ ลีปายะคุณ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13685เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท