การจัดตั้งศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน 4


รู้เท่าทัน เกิดความสามัคคี และนำมาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน
ฐานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนมหาวิทยาลัยชีวิต  อ.ประทาย  จ.นครราชสีมา  ความเป็นมา         สืบเนื่องจากกการไปทัศนะศึกษาดูงานของคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร หลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้ อ.ประทาย จ.นครราชสีมา ร่วมกับตัวแทนหรือผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่ชุมชนของกลุ่มนักศึกษาที่ได้จัดทำแผนแม่บทชุมชน และอาจารย์ประจำศูนย์ ฯ   เมื่อวันที่   25  มีนาคม   2550    ชุมชนวิทยาศาสตร์ชาวบ้านพึ่งตนเอง บ้านหนองหัวช้าง ต.นิคมสร้างตนเอง อ.พิมาย  จ.นครราชสีมา ที่ผ่านมา   ทางคณะกรรมการนักศึกษาและผู้นำชุมชน ได้มีการพูดคุยถึงปัญหาต่างๆในการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง เมื่อเปรียบเทียบกับทางชุมชนวิทยาศาสตร์ชาวบ้านพึ่งตนเอง ฯ ดังกล่าว ทั้งในด้านความรู้ภูมิปัญญา การพัฒนาบุคลากรในชุมชน ตลอดทั้งความสามัคคีของคนในชุมชน จึงเกิดแนวความคิดที่จะนำประสบการณ์ดังกล่าวมาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง         ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นความสามัคคีของคนในชุมชน การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป รวมไปถึงความร่วมมือกับ เครือข่ายองค์กรต่างๆที่ให้ประโยชน์ต่อประชาชนในชุมชน  ทางคณะกรรมการนักศึกษากลุ่มที่ 1 จึงได้เลือกสถานที่สำหรับจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้น โดยใช้บ้านของนายอัครชัย  อมัติรัตนะ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนักศึกษา เป็นที่ดำเนินการ ของศูนย์การจัดการความรู้ชุมชนทุ่งสว่าง เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ที่  บ้านสวนสุวรรณี  เลขที่  44  หมู่ที่ 5  ตำบลทุ่งสว่าง  อำเภอประทาย  จังหวัดนครราชสีมา บทบาทหน้าที่       1.   เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และเสริมสร้างความรู้แก่ประชาชนทั่วไปทั้งในชุมชน และนอกชุมชน    2.   ประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการต่างๆ  องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือ เครือข่าย              กลุ่มต่างๆทั้งในชุมชนและนอกชุมชน      3.    จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ในด้านต่างๆในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เช่น การอนุรักษ์             ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การลดรายจ่ายในด้านต่างๆ โดยการสร้างพลังงานทดแทน และ             อื่นๆตลอดทั้งกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีแก่คนในชุมชนและนอกชุมชน      4.    ดำเนินการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้ง            หน่วยงานราชการ และองค์กรปกครองท้องถิ่น5.       การสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้โดยใช้หลักทฤษฏี 4 L  ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ได้มาจากการสัมมนาเชิงวิชาการที่โคราช กับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารม  เมื่อมานานมานี้ ประกอบไปด้วย   5.1                L ที่ 1  คือ  Learning  Methodology  หมายถึงวิธีการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ การ สนใจหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น Workshop  5.2                L ที่ 2  คือ  Learning  Environment  หมายถึง  การสร้างบรรยากาศในการ เรียนรู้  เช่น การจัดสถานที่ มีมุมต่างๆ หรือการเรียนแบบโต๊ะกลม การสร้างบรรยากาศ Relax มีผู้คอยอำนวยความสะดวกทางความรู้            5.3     L  ที่  3  คือ  Learning   Opportunites   หมายถึงโอกาสในการเรียนรู้                                  เช่น โอกาสในการเรียนรู้ หารือกับวิทยากร หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือ จากการพบปะ                                แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน            5.4     L  ที่ 4  คือ   Learning   Communities   หมายถึง  การสร้างชุมชนในการ เรียนรู้ให้เกิดขึ้น โดยอาจใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและขยายผลต่อไปยังกลุ่มเพื่อน                         ครอบครัว ชุมชน และสังคม วัตถุประสงค์       1. เพื่อให้ประชาชนในชุมชน รวมทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น มีวิสัยทัศน์และเห็นความสำคัญของ           การจัดตั้งศูนย์เครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น      2.  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการหารูปแบบที่ดีในการบริหารศูนย์เครือข่ายฯ ให้เหมาะสมใน          ชุมชน โดยการนำประสบการณ์จากศูนย์เครือข่ายฯต่างๆที่ประสบความสำเร็จ มาแลกเปลี่ยนและ          เป็นแนวทางในการพัฒนาศูนย์เครือข่ายฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น     3.  เพื่อจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในด้านประสบการณ์ วิชาการ หรือองค์ความรู้อื่นๆ ระหว่าง          หน่วยงานราชการ ประชาชนทั่วไป ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายให้เกิดเครือข่าย         ในชุมชนตำบลทุ่งสว่างทั้ง 7 หมู่บ้าน 4.       เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตรสำนึกให้แก่ประชาชนในชุมชน ในอันที่จะมีส่วนร่วมของการพัฒนาท่องถิ่นให้เติบโตอย่างยั่งยืน  โครงสร้างเครือข่าย ฐานฯ  ประกอบด้วย        1. คณะกรรมบริหาร
ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง
1. นายลำพูน  พลพิทักษ์ ประธานนักศึกษา มหาวิทยาลัยชีวิตฯ
2. นายอัครชัย  อมัติรัตนะ ผู้ก่อตั้งศูนย์เครือข่ายฯ
3. นายกฤษณะ  กองนอก นายก อบต. ทุ่งสว่าง อ.ประทาย*
4. นักศึกษากลุ่มที่ 1 ศูนย์เรียนรู้ อ.ประทาย ทุกคน กรรมการบริหาร ศูนย์เครือข่ายฯ
5. นายอุทิศ  ปิดตาลาคะ นักวิชาการเกษตร สนง.เกษตร อ.ประทาย*
6. ดต.สุวัจน์  สมวงษา เจ้าหน้าที่ตำรวจ  ส.ภ.อ. ประทาย
7. นายแปลก  อินทองหลาง รองนายก อบต.ทุ่งสว่าง  อ.ประทาย*
8. นายเจริญ  สอนโก่ย ผู้ใหญ่บ้านบุไท ต.ทุ่งสว่าง อ.ประทาย*
9. นางโชติกา  อมัติรัตนะ เลขานุการศูนย์เครือข่ายฯ
2มีหน้าที่1.    ระดมสรรพกำลังจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น2.    ให้คำปรึกษา สนับสนุน ช่วยเหลือ ให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่างๆของศูนย์เครือข่ายฯ3.    ประสานงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายต่างๆ และประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมในศูนย์เครือข่ายฯ 2. คณะกรรมการดำเนินงาน  ประกอบด้วย          2.1  จากคณะกรรมการนักศึกษากลุ่มที่ 1  ศูนย์เรียนรู้ อ.ประทาย   จ.นครราชสีมา ทั้งหมด 9 คน  โดยแบ่งหน้าที่ออกเป็นฝ่ายดังนี้ 
ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง
1 นายลำพูน    พลพิทักษ์ ประธานกรรมการดำเนินงาน
2. นายอัครชัย   อมัติรัตนะ กรรมการดำเนินงาน
3. น.ส. จันทร์ฉาย  ทิพย์คุณ กรรมการดำเนินงาน
4. นายจีรศักดิ์  จินดามัย กรรมการดำเนินงาน
5. นายสกนธ์  รักสนิท กรรมการดำเนินงาน
6. จสต.วิเชียร  ทิพย์ฉิมพลี กรรมการดำเนินงาน
7. จสต.ธงชัย  สัญญาอริยาภรณ์ กรรมการดำเนินงาน
8. นายยุทธนา ทองนาเมือง กรรมการดำเนินงาน
9. นายสุกิต  รักสนิท กรรมการดำเนินงาน
        2.2   จากผู้นำชุมชนต่างๆในเขตตำบลทุ่งสว่าง
ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1. นายแปลก  อินทองหลาง* รองนายกฯ อบต.ทุ่งสว่าง อ.ประทาย
2. นายดำรง  พลอาวุธ* ผู้นำชุมชน / ผู้ประสานงานเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ต.ทุ่งสว่าง
3. นายชิต  ผิวผา ส. อบต. ทุ่งสว่าง  อ.ประทาย
4. นายเจริญ  สอนโก่ย* ผญ.บ้านบุไท ต.ทุ่งสว่าง อ.ประทาย
5. นายสมชาย    ผช.ผญ.บ้าน ทุ่งสว่าง อ.ประทาย
6. นายสนอง  ประจัด* ผู้นำชุมชน บ้านเย้ยตะแบง ต.ทุ่งสว่าง
     
   มีหน้าที่1.    จัดให้มีกิจกรรมในด้านต่างๆเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามรถ เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนภายในชุมชน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2.    ส่งเสริมกิจกรรมเวทีเสวนา ถึงปัญหาด้านต่างๆ ภายในชุมชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น3.    จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ และให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชน กับ เครือข่ายต่างๆ แผนผังโครงสร้าง 

ฐานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน

มหาวิทยาลัยชีวิต  อ.ประทาย  จ.นครราชสีมา 
   
หมายเลขบันทึก: 136108เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2007 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ ดีใจและภูมิใจมาก นี้แหละพลังของการร่วมตัว เราต้องร่วมตัวกันนะครับ ถึงจะเป็นการจัดการฐานรู้ที่แท้จริง "เรากองทัพมด ม. ชีวิต ตัวเล็กๆ เริ่มจะวางรากฐานแสดงพลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาให้เห็นประจักษ์ว่า เราก็ทำได้"

และพร้อมเชิญชวนเพื่อนๆ ม.ชีวิต ทุกคนทุกกลุ่มของศูนย์การเรียนรู้มาร่วมกันเติมพลังสร้างสรรค์ช่วยกันนะครับ สวัสดีครับ     

   ขอบคุณมากครับ ถือว่าเป็นการให้กำลังใจอย่างมากเลยครับ จริงๆตัวโครงสร้างลงไปไม่หมดไม่รู้เป็นอะไร พอดีมีภาระกิจด่วนมากเลยไม่มีเวลา แล้วผมจะพยามลงให้ครบ แล้วอย่าลืมแวะมานะครับ ถ้าผ่านประทาย ยินดีต้อนรับพี่น้องเราชาว ม.ชีวิต ทุกท่านครับ

ทำงานส่งอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท