กลุ่มที่ ๖(รุ่งอรุณ)ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑
กลุ่มที่ ๖ (รุ่งอรุณ) ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑(ดอยสะเก็ด) ด.ต.ธีรกานต์ กลุ่มที่ ๖(รุ่งอรุณ)ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑

ความเชื่อมั่นกลับคืนมาเหมือนมีต้นทุนมหาศาล


ปุ๋ยหมักป่าไม้แดง สุดยอดนวัตกรรมแห่งการพึ่งตนเอง

%e0%b8%9f%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%99

การสร้างกลยุทธ์ของทีมงานวิจัยบ้านป่าไม้แดง ให้ชุมชนได้เรียนรู้รากเหง้าภูมิปัญญาของตนเอง ผสมผสานภูมิปัญญาสากล  บนความคิดที่สร้างสรรค์  จนเกิดความรู้ใหม่ ผลงานใหม่ ที่น่าภาคภูมิใจ ในภาพคือการจัดการทรัพยากรที่มีในชุมชน เศษหญ้า ใบไม้ มูลสัตว์  วัว  ควาย  ไก่   นำเข้าเครื่องปั่น และหมักเศษวัสดุ  ที่กลุ่มเกษตรป่าไม้แดง ตั้งชื่อใหม่เสียหรูว่า ควายเหล็กผลิตปุ๋ย  ก่อนหน้านี้ได้ถูกทิ้งร้าง มองข้ามไปหลังจากบริษัทเขามามอบให้กับชุมชน  แต่คนภาคการเกษตรก็ยังซื้อปุ๋ยมาจากภายนอกชุมชน  ทำให้ต้องสูญเสียเงินออกไปปีละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ในการควักกระเป๋าซื้อปุ๋ย เคมี  ยาฆ่าแมลง มาทำการเกษตร   เวทีการเรียนรู้ครั้งแล้วครั้งเล่า  ได้ฟื้นความเชื่อมั่นว่า ในชุมชนของตนเองมีศักยภาพพอที่จะผลิตปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง  ทั้งธาตุอาหารหลัก (N - P - K) ธาตุอาหารรอง (อะไซโตแบคเตอร์ แลคติคแอซิค  ยีสต์ โปรโตซัวร์ ตลอดจนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าร์)  มีในปุ๋ยหมักป่าไม้แดง  ทำให้พืชผลงอกงาม ปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้าง ทำให้สิ่งแวดล้อมพลิกฟื้นคืนมาได้  หลังจากชุมชนมีแนวคิดในนามการพัฒนาที่ทางการจัดให้ทุกรูปแบบ ถั่งโถมโลมเร้ามาจากข้างบนสู่ชุมชน  ซึ่งล้มเหลวสิ้นหวังมาตลอด  เพราะขาดการเรียนรู้ เพื่อการพึ่งตนเองอย่างแท้จริง เสียโอกาสไขว่คว้า จึงทำให้เสียตัว เสียใจ  ผิดหวัง  มาตลอด พึ่งใครไม่ได้ รู้ว่าตนย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน จะทำอย่างไร  มืดแปดด้าน มีอวิชาเป็นฝ้าบังจักษุ

ณ  วันนี้ กลุ่มที่ ๖  รุ่งอรุณ แห่งโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตเชียงใหม่ ๑ ดอยสะเก็ด  นำโดย  ดาบตำรวจ  ธีรกานต์  เทพขาว  ประธานกลุ่ม  ได้นำเพื่อนนักศึกษา  สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อศึกษาค้นคว้าวิชาแผนแม่บทชุมชน  มีเป้าหมายคือพื้นที่หมู่บ้านป่าไม้แดง หมู่ที่ ๓ ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จว.เชียงใหม่  ได้สร้างทีมงานวิจัยขึ้น อันมี ดาบตำรวจ ไพบูลย์  ดาวเวียงกัน ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการ พัฒนาเพื่อจัดทำแผนแม่บทชุมชนบ้านป่าไม้แดง  ได้นำโครงการไปเสนอต่อสำนักงานส่งเสริมการวิจัยเชิงบูรณาการ   ต่อมาได้รับอนุมัติและเห็นชอบโครงการ จาก สกว.มหาวิทยาลัยแม่โจ้  สนับสนุนงบประมาณ บุคลากร มาช่วยกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชน  เวทีการเรียนรู้ครั้งแล้วครั้งเล่า  ทั้งเขามาดูงานเรา  และเราก็ไปดูงานเขา  ได้พลิกฟื้นความเชื่อมั่นให้กับชุมชนว่า "เรายังมีดี  เรายังมีค่า หากเราคิดสร้างสรรค์  การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในชุมชนมีจริง  สวรรค์บ้านนามีจริง

ในภาพคือคุณสุจิตร์  ใจมา (ป้อหลวงเมือง) และคุณสวัสดิ์  ขัติยะ คุณบุญเสริฐ  โจมขัน   นักวิจัยท้องถิ่นบ้านปางจำปี  , คุณโกสินทร์ฯ  ป่าเมี่ยง และหลาย ๆ ชุมชนได้มาศึกษาดูงานที่บ้านป่าไม้แดง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในอันที่จะขับเคลื่อนแผนการเรียนรู้  ไปสู่การพึ่งตนเองเป็นเป้าหมายสูงสุด ของการทำงานวิจัยของกลุ่มรุ่งอรุณ รอยยิ้มของชุมชนคือ รางวัลชีวิตของเราชาวรุ่งอรุณ

ธีรกานต์ฯ /รายงาน

หมายเลขบันทึก: 133136เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท