ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

จะไปนรกหรือสวรรค์


        ผมตั้งใจเขียนเรื่องนี้ เพื่อศึกษาคนเรามีต่อสิ่งที่ตนเองเชื่อและศรัทธา หลายเรื่องที่เกิดขึ้นในเชิงปรัชญาและการสร้างศิลปกรรมทั้งจากพุทธและฮินดู ซึ่งมักกล่าวถึงความเป็นจักรวาลกัน จึงเข้าไปศึกษาว่า จักรวาลตามตามความเชื่อของคนที่ผ่านมานั้นเป็นอย่างไร

พื้นฐานของคนไทยมีทั้ง ผี พุทธ ฮินดู คริสต์ อิสลาม ซิกข์ ผสมกลมกลืนกันในสังคมไทย แต่หลายคน(อาจจะผมด้วย) ที่มีเพียงกะพี้ของความเชื่อนั้น ๆ เพราะไม่ได้เข้าไปศึกษาลงลึกจากการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแต่อย่างใด

มักมีคำพูดที่ตรงกันข้ามกับหลักคำสอนมากมาย ไม่ว่า ทำดีได้ได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป หรือใครฆ่าคอมมูนิสต์แล้วไม่ตกนรกหรือไม่บาป เป็นต้น

จักรวาลตามความเชื่อของคนในศาสนาต่าง ๆ ประกอบด้วย โลกมนุษย์ สวรรค์ และนรก เป็นความเข้าใจของคนทั่วไป และในไตรภูมิพระร่วง ได้จำแนกโลกจักรวาลออกเป็น กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

หากเราได้ศึกษาและแสวงหาต่อสิ่งที่เป็นที่มาของแรงบันดาลใจ ไม่เพียงแต่ช่าง หรือศิลปินในแต่ละยุคสร้างศิลปะ เพื่อให้คนทั่วไปได้สัมผัสกับความงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

...เราสามารถรับรู้หรือเลือกได้ว่า เราจะเดินไปในเส้นทางใดในโลกของจักรวาล..

กามภูมิ เป็นที่อยู่ของ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ และเทพเทวดา

หลายคนรวมทั้งผม เมื่อก่อนเข้าใจว่า สัตว์นรก เทวดา มนุษย์ อยู่คนละชั้นในภพภูมิ แต่พอมาศึกษาเข้าจริง ๆ อยู่ชั้นเดียวกัน...

บันทึกครั้งหน้าจะมาเล่าและแบ่งปันกันต่อครับ

หมายเลขบันทึก: 131054เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2007 05:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ศักราชครับ

  • ที่อีสานศิลปินพื้นบ้านได้ถ่ายทอดนรกภูมิไว้หลายวัดในรูปจิตรกรรมฝาผนัง
  • แต่เขียนในวรรณกรรม มาลัยมาลัยแสน ที่ผูกสัมพันธืกับคนอีสานมากกว่าไตรภูมิพระร่วงครับ
  • ออตเอาภาพมาให้อาจารย์ เผื่อจะเปรียบเทียบกับของล้านนาครับ
  • ขออนุญาตไม่ไปทั้ง 2ที่ได้ไหมคะ
  • อิอิ..ขออยู่กับปัจจุบันคะ
  • ทำวันนี้ให้ดีที่สุดคะ..นรกสวรรค์อยู่ที่ใจนะคะ

 สวัสดีครับP  P ขอบคุณมากครับที่มาร่วมอ่านและให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม

เรื่องทางเลือกของเส้นทางนรกและเส้นทางสวรรค์นั้น เป็นเรื่องที่คนโบราณอาจจะใช้เป็นกุศโลบาย เพื่อให้คนทำความดีครับ...ถามว่ามีจริงหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กันจากข้อมูลต่าง ๆ ...แต่ในเชิงวิทยาศาสตร์แล้วคงปฏิเสธแนวคิดแบบนี้...แล้วจะไปเล่าเรื่องในภาคที่ ๒ ต่อครับ

อยากทราบว่าหน่วยการวัดในไตรภูมิมีรูปแบบยังไงบ้างเพราะไม่แน่ใจว่าที่รู้มามันครบถ้วนหรือเปล่า พอดีเห็นอาจารย์ศึกษาเรื่องไตรภูมิเลยจะขอสอบถามเพื่อเพิ่มเติมความรู้ค่ะ : )

ตัวอย่างเช่น
- ระยะทางยาว เป็นโยชน์ หรือเส้น
- ระยะห่างของสวรรค์แต่ละชั้น ใช้เทียบโดยการทิ้งหินลงมาจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเป็นจำนวนวัน เดือน ปี
- เทียบระยะทางโดยใช้พลังเป็นตัววัด เช่น พญาครุฑข้ามสีทันดรสมุทร ใช้กำลังหนึ่งกระพือปีก เป็นต้น

แล้วนอกเหนือจากที่ยกตัวอย่างมานี้ ยังมีหน่วยนับเปรียบเทียบแปลกๆ อีกหรือเปล่าคะ เช่น น้ำหนัก ความสูง มวลความหยาบความละเอียด (หรืออื่นๆ ถ้ามี)


ปล. ไตรภูมิเล่มที่อ่านคือ ไตรภูมิโลกยวินิจฉัย เรียบเรียงสมัยรัชกาลที่ 1 แต่ยังไม่ได้อ่านไตรภูมิพระร่วงเพราะภาษายากเกิน

สวัสดีครับคุณLittle Jazz \(^o^)/

ต้องขอบคุณมากครับที่สนใจ เรื่องที่ปรากฏในไตรภูมิ  ผมแยกศึกษาไว้สองส่วนครับ ส่วนแรกศึกษาจากหนังสือ(ที่อ้างถึง,อ้างใน )ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ส่วนที่สองจะวิเคราะห์ว่าเป็นไปได้หรือมีอยู่จริง ?...

แต่ในการสร้างงานของศิลปิน...เป็นเรื่องของศรัทธาต่อสิ่งนั้น ๆ และพยายามกลั่นเอาความเชื่อของตน ของสังคมในยุค ๆ หนึ่งออกมานำเสนอ...ส่วนที่คุณLittle Jazz \(^o^)/  ขออนุญาตให้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่นะครับ

  • ๔ กระเบียด เป็น ๑นิ้ว ๑๒ นิ้วเป็น ๑ คืบ
  • ๒ คืบ เป็น ๑ ศอก ๔ ศอกเป็น ๑ วา
  • ๒๐ วา เป็น ๑ เส้น  ๔๐๐ เส้น เป็น ๑ โยชน์

ในเรื่องโยชน์มีข้อมูลว่า ๑ โยชน์เท่ากับ ๖๔,๐๐๐ ฟุต ถ้าคิดเป็นนิ้วเท่ากับ ๗๖๘,๐๐๐ นิ้ว เป็นเซนติเมตรเท่ากับ ๑,๙๒๐,๐๐๐ เซนติเมตร ถ้าเทียบเอามาตราวัดกิโลเมตร(๑,๐๐๐ เมตรเท่ากับ ๑ กม.) ก็คงพอเห็นเส้นทางของโยชน์นะครับว่ายาวหรือไกลเท่ากับ ๑๙.๒๐ กม.ต่อ ๑ โยชน์

ส่วนระยะทางห่างจากสวรรค์ นรก หน่วนเทียบแปลก ๆ เอาไว้ค่อยสรรหามาเพิ่มข้อมูลครับ แต่หากคุณLittle Jazz \(^o^)/  จะช่วยเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากนี้ จะเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียวครับ

ขอบคุณมาก(ลุงปั๋น)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท