ผมไม่ได้สถาปนาประวัติศาสตร์ค่ายรองรับตนเอง และความหนักหน่วงแห่งการงานนั้น ผมไม่ได้แบกรับมันอยู่อย่างเดียวดาย ..


วิถีแห่งงานนั้นก็เป็นความสุข ... เป็นวิถีแห่งการพักผ่อนที่เรามีได้อย่างไม่ยากเย็น

โครงการ มมส  ร่วมใจห่วงใยชุมชน  คือกิจกรรมที่ผมริเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี  2544  โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดกิจกรรมการให้บริการต่อสังคมรายรอบมหาวิทยาลัย 

    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กิจกรรมดังกล่าวเงียบหายไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนสายงานของผมเมื่อปี 2546  และกลับมาอีกครั้งในปีนี้เมื่อผมกลับมาสู่ตำแหน่งเดิม  หลังจากวางมือไปเนิ่นนาน ..</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">9  กันยายน  2550   ผมพาลูกชายลงพื้นที่หมู่บ้านดอนนา  ต.ขามเรียง  อ.กันทรวิชัย  จ.มหาสารคาม  เพื่อทำพิธีส่งมอบศาลาริมน้ำให้กับชาวบ้าน  รวมถึงการร่วมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนร่วมกับนิสิตและชาวบ้าน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังการส่งมอบศาลาริมน้ำสิ้นสุดลง   ชาวค่ายและชาวบ้านร่วมใจกันปล่อยพันธุ์ปลาลงสู่หนองน้ำ  และศาลาหนังนี้จะถูกใช้เป็นสำนักงานกองทุนปลาที่กลุ่มเยาวชนกำลังขับเคลื่อนในเร็ววันนี้  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ศาลาริมน้ำหลังนี้   เกิดขึ้นจากความต้องการของชาวบ้าน  ผมไม่มีส่วนในการตัดสินใจอะไรแม้แต่น้อย  ยกเว้นหน้าที่ของการวิ่งเต้นหางบประมาณ  รวมถึงการรวมพลนิสิตลงสู่ค่ายเป็นสำคัญ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กระนั้น  ผมก็พยายามที่จะส่ง นัยสำคัญทางความคิด  ไปยังชาวบ้านเสมอ  นั่นก็คือ  ความยั่งยืนของการใช้ประโยชน์  บนพื้นฐานของการพัฒนาและต่อยอดของคนในชุมชน  รวมถึงการเรียนรู้ที่จะพัฒนาบริบทแหล่งน้ำแห่งนี้เป็น ห้องเรียนชุมชน  อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต  ซึ่งผมก็พร้อมที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนงานนี้อย่างเต็มร้อย  !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สำคัญอยู่ที่ว่าชาวบ้านจะรู้ตัวเองมากน้อยแค่ไหนว่า    วันนี้ต้องการอะไรกันแน่  อะไรคือประโยชน์ของศาลา ?  หนองน้ำแห่งนี้จะถูกพัฒนาไปในทิศทางใด ?  และสิ่งที่จะพัฒนานั้นมีกระบวนการเช่นใดบ้าง  ?  มีต้นทุนในชุมชนแค่ไหน ? และสิ่งใดคือสิ่งที่ภายนอกต้องมาช่วยเติมเต็ม ?</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คำถามเหล่านี้  เป็นคำถามที่ผมฝากไว้กับชาวบ้าน   ..  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ผมขอยืนยันตรงนี้ว่า,  ผมถามชาวบ้านด้วยความบริสุทธิ์ใจ  เพราะต้องการให้ชาวบ้านได้หันกลับไปเพ่งมองตัวเองให้ชัดเจนอย่างถ่องแท้  ผมไม่สามารถยัดเยียดสิ่งใดให้กับชาวบ้านได้   แม้กระทั่งศาลาหลังนี้  ชาวบ้านก็เป็นผู้เลือกเอง  ด้วยเหตุผลที่ว่า   กำลังต้องการอาคารที่เป็นสำนักงานกองทุนปลา       </p><p></p><p>ถึงแม้ตอนนี้  ผมยังไม่เห็นแผนขับเคลื่อนที่ชัดเจนนักของชาวบ้าน  แต่ผมก็ใจเย็นพอที่จะเฝ้ารอดูการเคลื่อนไหวของพวกเขา         </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ศาลาหลังนี้เมื่อสร้างขึ้นมาแล้ว   ก็ย่อมต้องทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่  และหน้าที่นั้นก็ต้องเริ่มจากชาวบ้านนั่นแหละที่ต้องเป็นผู้กำหนดสถานะและหน้าที่ให้กับ ศาลา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะขับเคลื่อนโครงการนี้สืบไปอย่างต่อเนื่อง  เป็นการเคลื่อนงานเพราะรักที่จะเดินในวิถีนี้   รักที่จะทำตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่พึงให้บริการต่อชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย    ไม่ใช่ทำเพื่อสถาปนาประวัติศาสตร์ขึ้นมารองรับตนเองให้ดูมีบารมีในวิถีกิจกรรมรายรอบมหาวิทยาลัย !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมทำเพราะใจรักที่อยากจะทำ ..  (ที่นี่ไม่ใช่บ้านก็เหมือนบ้าน)  จะให้ผมหอบกิจกรรมเหล่านี้ไปทำที่บ้านเกิดก็กระไรอยู่ …  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>เมื่อที่นี่เป็นเสมือนบ้านอีกหลังของผม,  ผมก็คิดถูกแล้วกระมังกับการดูแลบริบทบ้านของตนเอง    </p><p></p><p>ภายหลังพิธีการส่งมอบศาลาได้สิ้นสุดลง  นิสิตชาวค่าย รวมถึงเยาวชนในหมู่บ้านและพ่อแม่พี่น้อง, พี่ป้าน้าอาในชุมชนก็ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างคึกคัก     </p><p> </p><p>บางคนถางหญ้า  ตัดกิ่งไม้  บางคนก็ขุดลอกท่อระบายน้ำ  บางคนก็เก็บกวาดขยะตามท้องถนน  ฯลฯ…  </p><p></p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กิจกรรมดำเนินไปตั้งแต่เช้ายันบ่ายคล้อย .. จากคุ้มโน้นโค้งเข้าสู่คุ้มนี้จนครบทุกซอกซอย  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นิสิตชาวค่ายดูจะรื่นเริงกับการงานนี้เป็นยิ่งนัก  บ้างเก็บกินผลไม้ตามรั้วบ้าน  ทั้งน้อยหน่าและมะขามลูกอ่อน ๆ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ขณะที่ชาวบ้านหลายคนก็วางมือจากการงานในครัวเรือนออกมา เฮ็ดเวียก  เป็น งานบุญ  กลางท้องถนนร่วมกันกับนิสิตอย่างไม่อิดออด  หลายหลังคาเรือนนำน้ำท่ามาให้ชาวค่ายได้ดื่มกินอย่างเย็นใจ  </p><p></p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และนั่นคือท้องถนนที่เนืองแน่นและไหลหลากไปด้วย น้ำใจ  อันใสบริสุทธิ์</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p> </p><p>มมส  ร่วมใจห่วงใยชุมชนที่ผมคิดขึ้นนี้  ไม่เพียงการย้ำคิดว่ามหาวิทยาลัยพึงต้องให้บริการต่อสังคมรายรอบมหาวิทยาลัยเท่านั้น   แต่เนื้องานอันสำคัญอีกประการที่ผมชูหรามาตั้งแต่ต้นก็คือการใช้เวลาว่างอันน้อยนิด เพื่อเนรมิตความสุขให้กับตนเองและคนรอบข้าง   </p><p> </p><p>ค่ายครั้งนี้, ไม่ได้มีรูปแบบที่ใหญ่โตดังที่หลายคนเข้าใจ  แต่เป็นการใช้เวลาว่างที่มีอย่างน้อยนิดมาช่วยเหลือสังคม  ซึ่งดีกว่าการเวลาในวันหยุดจ่อมจมอยู่ในห้องนอนอันแคบเล็ก … </p><p></p><p>    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นี่คือ  น้ำใสใจจริงของผมในฐานะของการริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา  เป็นการทำด้วยใจที่รักอยากจะทำ ไม่ใช่ทำเพื่อต้องการสถาปนาตนเอง  และก็เชื่อว่า  ไม่มีใครคิดในทำนองนั้นแน่ !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>     </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในเมื่อห้วงนี้,  ผมยังไม่สามารถสลัดวันหยุดให้หลุดพ้นจากวังวนของการงานอันหลากล้นได้  ผมจึงตัดสินใจหอบเอาคนในครอบครัวไปโลดทะยานอยู่กับงานของตนเองให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียเลย   แต่ก็ไม่ลืมพร่ำพูดเพื่อทำความเข้าใจอย่างจริงจังกับตนเองว่า  การงาน คือ การพักผ่อน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ผมพาลูกไปออกค่าย เพราะอยากให้ลูกและคนของความรักได้รับรู้ว่า  ความหนักหน่วงแห่งการงานนั้น  ผมไม่ได้แบกรับมันอยู่อย่างเดียวดาย ..   </p><p></p><p>และวิถีแห่งงานนั้นก็เป็นความสุข … เป็นวิถีแห่งการพักผ่อนที่เรามีได้อย่างไม่ยากเย็น    </p><p> </p><p>ผมพาพวกเขาไปออกค่าย  ไม่ใช่ไปเพื่อให้รู้ว่า  ผมกำลังสถาปนาประวัติศาสตร์มารองรับตนเอง   แต่ผมกำลังจะบอกกับเขาว่า ….  ผมมีความสุข   และคนอื่นก็มีความสุขในสิ่งที่เรากำลังลงมือทำ   </p><p> </p><p> </p><p>และก็ดีใจที่คนของความรักรู้สึกเช่นเดียวกันกับผมว่า  การงาน  คือ การพักผ่อน      </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ความสุขทั้งปวง  ล้วนถูกกำหนดด้วยตัวเรา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 130778เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตามมาดูการทำงานคือการพักผ่อน
  • ถ้าต่อไปเก็บข้อมูลได้ว่าชาวบ้านเอาศาลาไปทำอะไรต่อจะดีมาก
  • อย่าไปเร่ง
  • ให้เขาทำเองแบบที่น้องคิดถูกต้องแล้วครับ
  • มาให้กำลังใจและขอให้มีความสุขกับการทำงานครับผม
  • ขอให้มีความสุขในสิ่งที่ทำนะคะอาจารย์
  • ในฐานะ ผู้ให้เมื่องานสำเร็จ ผู้ให้ก็ภูมิใจ
  • หากผู้รับจะดูแลสานต่อ..ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนผู้ให้ก็ย่อมดีใจ
  • แต่ถ้าศาลาแห่งนี้จะถูกทิ้งร้างในภายหน้า ก็ขึ้นอยู่กับชุมชน..จะเห็นประโยชน์หรือไม่
  • ตามมาให้กำลังใจ 2 หนุ่มเสื้อแดงคะ..ร่วมแรงแข็งขันอย่างนั้นต้องให้รางวัลแล้วคะ
  • สวัสดีค่ะ อ.แผ่นดิน
  • อาจารย์เตรียมชุมชนได้ดีจัง แต่อยู่ที่ตัวเขาจะสานต่อรึป่าว
  • ต่อไป น้องดิน กับ น้องแดน คงจะกลายเป็นเด็กกิจกรรมอีกสองคน ตามแนวคุณพ่อ ที่เตรียมเรื่องนี้ให้
  • ยินดีด้วยมากมายค่ะ

สวัสดีครับ อ.ขจิต

P
  • ช่วงนี้เหนื่อยหนักก็จริง
  • แต่ทุกอย่างก็เป็นความสุขของชีวิตที่ได้ทำโน่นทำนี่อยู่เสมอ
  • ประเด็นชาวบ้านนั้น, ....
  • ยังรอได้เสมอครับ  และจะยินดีมากถ้าชอบบ้านสามารถโจทย์ความต้องการของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • .....
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

P
  • จริงดังที่ว่านะครับ ...
  • หากผู้รับจะดูแลสานต่อ..ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนผู้ให้ก็ย่อมดีใจ
  • แต่ถ้าศาลาแห่งนี้จะถูกทิ้งร้างในภายหน้า ก็ขึ้นอยู่กับชุมชน..จะเห็นประโยชน์หรือไม่
  • ......
  • และที่น่าจะเป็นหัวใจหลักของคนทำงานค่าย ...
  • และนี่คือการลดความคาดหวังของเราลงได้เป็นอย่างดีด้วยเหมือนกัน
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ  ป้าแดง

P

งานค่ายครั้งนี้  ผมแทบไม่ได้ทำอะไรมากนัก

ส่วนใหญ่นิสิตชมรมรัฐศาสตร์สัมพันธ์ลงแรงกายและแรงคิดซะมากกว่า .. ขณะที่ผมในระยะต้นก็ลงไปนั่งจับเข่าคุยกับชาวบ้านเกี่ยวกับประเด็นความต้องการของชาวบ้าน ...  รวมถึงการทำความเข้าใจในส่วนต่าง ๆ

ครั้นปฏิบัติจริงก็เป็นนิสิตนั่นแหละที่ลงแรงกายและแรงใจ  ผมก็ได้แต่ให้คำปรึกษาและติดตามดุกระบวนการ  รวมถึงให้กำลังใจกับพวกเขาอย่างใกล้ชิด

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณแผ่นดิน  ผมฟังอ.พูดใน NUKM ตรงกับความรู้สึกผมมากๆ  "  ค่ายคือเครื่องมือที่ให้ใจและได้ใจ "  ผมมีส่วนดูแลกิจการนักศึกษาของคณะสถาปัตย์ ม.แม่โจ้   เคยลงไปช่วยTsunami ทั้งๆที่ไม่ได้มีญาติโยมเป็นคนใต้หรือฝรั่งผมแดงแม้แต่น้อย ด้วยรู้สึกว่าเราเป็นหนี้บุญคุณพื้นที่อันสวยงาม ทั้งภูเก็ต กระบี่ พังงา ผมจะพานักศึกษาไปดูงานทุกปี   เลยหอบ นศ.อีก 50 ชีวิต ลงลุยในพื้นที่ 2 เดือน รสชาดของชีวิตที่ไม่อาจลืมเลือนเลยครับ เกิด After Shock พากันวิ่งหนีตายขึ้นเขา ยันสว่าง    ถือว่าเป็นการแนะนำตัวของผมก็แล้วกัน  ผมดูจากข้อมูลของอ. แล้ว ปีทีอ. เรียนเป็นปีที่4 ของการเป็นอาจารย์ของผม  ขออนุญาต ถือว่าเป็นพี่น้อง ต่างสายเลือดแต่หัวใจเดียวกัน คงได้นะครับ  ผมยังมีแผนเครือข่าย  CoP Campที่คิดในใจอยู่คนเดียว อยากปรึกษาในโอกาสต่อไป

สวัสดีครับ...  mju tsunami

ยินดีที่ได้รู้จัก นะครับ

ช่วงสึนามิ ... มมส  เองก็ส่งนิสิตลงพื้นที่จำนวนมากและรวมถึงการสนับสนุนงบประมาณลงไปด้วยเช่นกัน

แต่ล่าสุดผมพานิสิตไปที่กิ่วเคียน (อุตรดิตถ์) .. มีเรื่องเล่ามากมายที่ผมยังเล่าไม่จบ และยังไม่มีสมาธิในการเล่าเรื่องเหล่านั้นนัก ...

งานค่ายไม่เคยสิ้นมนต์ขลัง.. และงานค่ายก็ยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลังของการเรียนรู้ชีวิต ...

ผมเห็นด้วยในเรื่อง CoP Camp ...  มีอะไรที่ช่วยได้   ผมยินดีเสมอ ...

...

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท