กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรม


อาจารย์มีอะไรแนะนำเพิ่มเติมช่วยบอกผมด้วยนะครับ

 

กิจกรรม(Activity)  หมายถึง  การปฏิบัติกิจด้วยตนเอง คือ เป็นชุดของการปฏิบัติการต่างๆ  ที่มีการเตรียมการ หรือวางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว  โดยจะมีผลตามความคาดหวังผลที่เกิดขึ้น  หรือมีวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่มหมายถึง(Group Discussion)  หมายถึง  ชุดของกิจกรรมที่ได้วางแผน  และจัดเตรียมไว้สำหรับคนสองคนขึ้นไป  เป็นผู้กระทำกิจกรรม  หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ  ซึ่งกิจกรรมกลุ่มจะมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมได้หลายประเภท
          -พัฒนา     หมายถึง  ทำให้เจริญ  ทำให้ยั่งยืนถาวร
          -บุคคล      หมายถึง  คน  คนธรรมดา  คนสามัญทั่วไป
          -บุคลากร   หมายถึง  ผู้ทำหน้าที่ปรึกษา  หรืออบรมสั่งสอน 
      ดังนั้น กิจกรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากร จึงหมายถึง  การปฏิบัติกิจด้วยการเล่น  หรือการแข่งขันของผู้เข้ารับการอบรม  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  ความสามารถ  ทัศนะคติ  และจริยธรรม  ในการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และเกิดประสิทธิผล
<div align="center"> <table cellspacing="0" cellpadding="0" width="600" border="0">

         เนื่องจากตามหลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้โดยง่ายไม่เพียงแต่ใน
สภาพแวดล้อม ที่มีทั้งความ สะดวกสบายในด้านกายภาพเท่านั้น หากควรจะต้องมีบรรยากาศของ ความ  ไว้เนื้อเชื่อใจและเคารพซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน อิสระภาพที่จะแสดงออก และมีการยอมรับในความแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้จัดฝึกอบรมจะต้องพยายาม แสวงหาวิธีการ ที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกัน โดยการจัดหรือกำหนดให้มีกิจกรรม ที่ช่วยให้เกิดบรรยากาศ ของความร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งอาจจะนำไปสู่บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้นั้นได้ในที่สุด กิจกรรมดังกล่าวอาจเรียกว่า "กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์"   กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ หมายถึง กิจกรรมใดก็ตามที่ผู้เข้าอบรมทั้งหมดมีส่วนร่วมกระทำด้วยกัน ตามที่ผู้จัดฝึกอบรม หรือวิทยากรกำหนดให้หรือจัดให้ โดยมีวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้
               1. เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เข้าอบรม
               2. เพื่อสร้างความรู้สึกและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้าอบรม
               3. เพื่อสร้างความสนุกสนาน และผ่อนคลายความตึงเครียด
               4. เพื่อสร้างบรรยากาศ และความประทับใจที่ดีต่อการฝึกอบรม
               5. เพื่อการเรียนรู้ กล่าวคือ เป็นส่วนประกอบในการสาธิต ด้วยการสร้างประสบการณ์  ตรงเกี่ยวกับแนวคิด แนวปฏิบัติในเรื่องที่ต้องการให้ผู้เข้าอบรมตระหนักบางเรื่อง
        กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ดังกล่าว อาจมีได้ทั้งเกมต่าง ๆ การร้องเพลง การเล่นดนตรี การแสดงละคร การแก้ปัญหา ฯลฯ แล้วแต่จะกำหนดขึ้น

</table> </div>

ความสำคัญของกิจกรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากร
                กิจกรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  กิจกรรมละลายพฤติกรรมเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นด้วยวิธีการที่จะช่วยให้ทุกคนได้แนะนำและเปิดเผยตัวเองออกมาให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้รู้จักกันมากขึ้น  ได้ทำกิจกรรมร่วมกันอันก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน  ซึ่งจะเสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร  ทำให้ทุกคนกล้าแสดงความคิดต่างๆ  พร้อมทั้งอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอบรมต่อไป
                วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากร
-          เพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกันเมื่อแรกพบ
-          เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สนิทสนมกันเร็วขึ้นกว่าที่จะได้ทำความรู้จักกันเอง
-          เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรในการฝึกอบรม
-          เพื่อความสนุกสนานบันเทิงแก่ผู้เข้าอบรม
-          เพื่อให้เกิดความกล้าที่จะแสดงออกและกล้าแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม
การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากร  สามารถจัดกิจกรรมได้ทั้งในและนอกสถานที่แล้วแต่
ความเหมาะสมและการนำไปใช้  นอกจากนี้การเลือกกิจกรรมยังต้องคำนึงถึงระดับความสัมพันธ์ของผู้รับการอบรมด้วย  ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
                1.    ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
                2.     รู้จักกันบ้างแล้ว
                3.     รู้จักคุ้นเคยกันอย่างสนิทสนม
                ในการฝึกอบรมสัมมนาแต่ละครั้ง  ผู้เข้ารับการอบรมมักจะมาจากหน่วยงานที่แตกต่างกัน  ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย  การที่ไม่รู้จักกันมาก่อนเลยนี้  ผู้จัดจะต้องเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมให้ได้รู้จักกันอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น
                ในกรณีที่รู้จักกันแล้วอย่างผิวเผิน  ก็ควรเลือกกิจกรรมที่จะให้เขารู้จักกันยิ่งขึ้น  กล่าวคือไม่ใช่รูจักแต่ภายนอก  แต่ให้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลนั้นเพิ่มมากขึ้น
                สำหรับกรณีที่สนิทสนมกันอยู่แล้ว  ก็ควรเลือกกิจกรรมที่จะให้ได้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น  กล่าวคือให้รู้ถึงรายละเอียดของบุคคลนั้นๆ  ว่าเป็นคนประเภทใด  เมื่อได้รู้จักนิสัยใจคอที่แท้จริงแล้ว  การที่จะเข้าใจกัน  การที่จะทำงานร่วมกัน  การให้อภัยซึ่งกันและกันก็จะเกิดขึ้น
               
ประเภทกิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรม
                กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Break the ice)  มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างความรู้จักคุ้นเคยระหว่างผู้เข้ารับการอบรมซึ่งมาจากต่างฝ่ายต่างแผนก  กิจกรรมจะช่วยอุ่นเครื่องและสร้างบรรยากาศแห่งการเปิดเผยตัวเองให้ผู้อื่นรู้จัก  อันจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้  การแสดงความคิดเห็น  และการทำกิจกรรมร่วมกันต่อไป  ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างนันทนาการและกิจกรรมเข้าจังหวะไปด้วยกัน 
               
                กิจกรรมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้ (Classroom Activities Games)  เป็นเกมที่เน้นสาระรวบยอด  เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม  ทัศนคติ  ความเข้าใจ  และก่อให้เกิดทักษะใหม่ๆ  อันจะนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและการดำเนินชีวิต
                กิจกรรมสันทนาการหรือนันทนาการ (Recreation games)  เป็นการเสริมบรรยากาศให้มีความสนุกสนานรื่นเริง  เพื่อให้คลายจากความตึงเครียด  ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้ารับการอบรมให้มากยิ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในการรวมกลุ่มหรือพบปะสังสรรค์
                กิจกรรมเข้าจังหวะ (Rhythmic activities)  เป็นกิจกรรมที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อดนตรีและจังหวะที่ใช้ประกอบ  ได้แก่เสียงเพลง  การเคาะไม้เคาะเหล็ก  ฉิ่งฉาบ  กลอง  เป็นต้น  ขอบข่ายของกิจกรรมเข้าจังหวะมีหลายรูปแบบ  คือ
-          การเคลื่อนไหวเบื้องต้น  เช่น  การเดิน  วิ่งกระโดด  ควบม้า ฯลฯ  โดยเคลื่อนไหวเข้ากับจังหวะ
-          การเลียนแบบ  เช่น  รีรีข้าวสาร  โพงพาง  งูกินหาง  มอญซ่อนผ้า  ฯลฯ
-          การเคลื่อนไหวตามบทเพลง  คือ  การเคลื่อนไหวเข้ากับจังหวะดนตรี หรือ  สอดคล้องกับเนื้อเพลงที่ร้อง
-          การเล่นแบบคิดสร้างสรรค์  คือ  เป็นการแสดงบทบาทสมมุติ  เช่น  เป็นคนตัดไม้  เป็นตำรวจ  หรือแสดงอาการดีใจ  เสียใจ  ฯลฯ
-          การเต้นรำพื้นเมืองนานาชาติและลีลาศ  ได้แก่การเต้นรำพื้นเมืองของแต่ละประเทศ
กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ (Self – testing activities)  เป็นการเล่นผาดโผน
เป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านความแข็งแรงสมรรถภาพทางกาย  ส่งเสริมความเจริญของกล้ามเนื้อหลักในการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของข้อต่อต่างๆ  ของร่างกาย  นอกจากนี้ยังเป็นการวัดประสิทธิภาพของร่างกายอีกด้วยซึ่งก็มี
-          กิจกรรมทดสอบรายบุคคล  เช่น  ตุ๊กตาล้มลุก  ยืนย่อเข่าข้างเดียว  ดันพื้นปรบมือ
-          กิจกรรมทดสอบเป็นคู่เป็นกลุ่ม  เช่น  แฝดสยาม  เก้าอี้โยก  คนลอย  ฯลฯ
-          กิจกรรมผาดโผน  เช่น  กบกระโดด  หนอนยืด  สุนัขขาหัก  ฯลฯ
กิจกรรมวอล์คแรลลี่  (Walk Rally)  ในปัจจุบันหลายๆ  องค์กรได้หันมาใช้วิธีการพัฒนาบุคลากรวิธีหนึ่งที่เรียกว่า  กิจกรรมวอล์คแรลลี่  (Walk Rally)  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ตรงมีการเรียนรู้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด  และมีการแข่งขันระหว่างกลุ่ม  เป็นกิจกรรมที่ผสมผสานหลายๆ  กิจกรรมเข้าด้วยกัน  กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยเกม  จากการลงมือปฏิบัติ  หรือเข้าร่วมกิจกรรม  ซึ่งวิธรการฝึกอบรมโดยใช้วอล์คแรลลี่ที่จะช่วยลดความเบื่อหน่ายในห้องฝึกอบรม  และเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่สนุกสนาน  ท้าทาย  และตื่นเต้นอีกด้วย
ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมต่างๆ
ลักษณะของกิจกรรมละลายพฤติกรรม  คือ
-          สร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เข้ารับการอบรมจากที่ต่างๆ
-          เป็นกิจกรรมหรือเกมที่จะช่วยอุ่นเครื่องให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีเป็นกันเอง
-          สร้างบรรยากาศแห่งการยอมรับและเปิดเผย
-          ฝึกฝนการแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิดเห็นและทัศนะคติในการทำกิจกรรมต่างๆ  รวมกันเป็นกลุ่ม
-          สร้างความรู้สึกเป็นกันเอง  ระหว่างผู้นำกิจกรรมและผู้เข้ารับสัมมนา
ลักษณะของกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
-          เป็นกิจกรรมหรือเกมที่เน้นสาระรวบยอดในการทำงานหรือการบริหาร
-          เป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงทัศนคติ  ความรู้ความเข้าใจเฉพาะตน  จากแบบสอบถาม  คำอธิบาย  การเฉลยหรือข้อสรุปจากการเล่นเกม
-          เป็นกิจกรรมที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  ก่อให้เกิดทักษะใหม่ๆ
-          สามารถนำไปประยุกต์ในการทำงาน  บริหารและดำรงชีวิต
ลักษณะของกิจกรรมและเกมนันทนาการ
บางแห่งเรียกว่านันทนาการหรือกลุ่มสัมพันธ์
-          สนุกสนานและผ่อนคลายความตึงเครียด
-          เล่นได้ทุกเพศทุกวัย
-          เหมาะกับสถานที่  เวลา  อุปกรณ์
-          เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมมีความเพลิดเพลินมีการแสดงออกอิสระ
-          ส่งเสริมการเป็นผู้นำผู้ตาม
-          ใช้เป็นกิจกรรมในห้องฝึกอบรมหรือนอกห้องฝึกอบรมได้หลากหลาย
-          อาจจะมีจังหวะดนตรีหรือเสียงเพลงประกอบการเล่น
ลักษณะของกิจกรรมเข้าจังหวะ
-          เป็นกิจกรรมที่ทำให้ได้รับประสบการณ์  สนุกสนานร่าเริงจากการเล่นกิจกรรมเข้าจังหวะแบบต่างๆ
-          เป็นการพัฒนาอวัยวะทุกส่วนให้มีความสัมพันธ์อันดีในการเคลื่อนไหว
-          เป็นการเปิดโอกาสให้ได้แสดงออกและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-          เป็นการพัฒนาการรู้จักปรับตัวด้านสังคมและความร่วมมือในหมู่คณะ
-          เป็นการเสนอความต้องการทางธรรมชาติ  ความสนใจความพึงใจ
-          เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์
-          เป็นการทำให้เกิดสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหว
-          เป็นการทำให้เกิดความพอใจในการเต้นรำและเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี
ลักษณะของกิจกรรมการเล่นผาดโผนและทดสอบสมรรถภาพ
-          ส่งเสริมการใช้ทักษะ  กำลังความสามารถละทักษะเฉพาะตัวเป็นรายบุคคล
-          ส่งเสริมความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว
-          ส่งเสริมความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง  การตัดสินใจ  ความกล้าหาญ
-          สร้างเสริมทักษะการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง  ความคล่องตัวและความรวดเร็ว
-          จูงใจให้มีความสนใจ  กระตือรือร้นต่อการฝึกฝนและสร้างสมรรถภาพตนเอง
-          ช่วยจูงใจให้เกิดความมานะพยายามฝึกฝนตนเองเพื่อสามารถปฏิบัติหรือทำได้
สรุปลักษณะสำคัญของกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากร
-          ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรม
-          กิจกรรมควรมุ่งสร้างความเข้าใจ  เห็นใจกันไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกร้าว
-          ขั้นตอนของกิจกรรมควรเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นซักถามอภิปราย
-          กิจกรรมดังกล่าวต้องให้ข้อคิด  มีการวิเคราะห์  มีการประเมินผล
-          ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับจากกิจกรรม  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  และการทำงานได้
-          กิจกรรมควรสร้างความพอใจแก่ผู้เข้ารับการอบรมโดยถ้วนหน้า
-          กิจกรรมมุ่งให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้จักตนเองและผู้อื่นมากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของกิจกรรม
-          ชื่อกิจกรรมหรือเกมนั้น
-          วัตถุประสงค์ของการเล่นเกมที่ชัดเจน
-          ขนาดของกลุ่ม  คือ  จำนวนผู้เล่นเกมหรือกิจกรรมที่เหมาะสม
-          อุปกรณ์  เครื่องมือที่ใช้ในการเล่นเกม  ซึ่งเป็นวัสดุที่จับต้องได้
-          การจัดสถานที่  ระบุให้แน่ชัดว่าจะจัดภายในหรือภายนอกห้องประชุม
-          เวลาที่ใช้  ต้องกำหนดเวลาเล่นเกมที่แน่นอน
-          ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม
-          ขั้นกิจกรรม  หรือการแจ้งกฎเกณฑ์  ขั้นตอนหรือกติกาการเล่น
-          ขั้นวิเคราะห์  มีเกณฑ์การตัดสินหรือการเฉลยคำตอบที่แน่นอนพร้อมเหตุผลประกอบ
-          การปรับกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้เข้าร่วมการสัมมนา
ประโยชน์ของกิจกรรมพัฒนาบุคลากร
-          ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
-          ประสบการณ์การเรียนรู้จากกิจกรรม  ช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้จักและสนใจตนเองดียิ่งขึ้น
-          บรรยากาศการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมสนุกสนาน  ไม่เกิดความรู้สึกว่าถูกสอน
-          ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ได้ในเวลาอันสั้น
-          ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่มีความเสี่ยงต่อผลการตัดสินในการเรียนรู้จากกิจกรรม
ลักษณะของกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ
-          เน้นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่กลุ่มผู้เข้ารับการอบรม
-          ผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสแสดงออกอย่างทั่วถึง
-          สร้างบรรยากาศเป็นกันเองและให้เกียรติผู้เข้ารับการอบรมทุกคน
-          ได้สาระประโยชน์พร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
-          วิทยากรจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่น
-          มีสถานการณ์แข่งขันเชิงสร้างสรรค์
-          มีความหลากหลายในรูปแบบ
-          แต่ละขั้นของกิจกรรมต้องมีความต่อเนื่อง  เชื่อมโยงกันอย่างครบถ้วน
-          สร้างความท้าทาย  กระตุ้นให้อยากเข้าร่วมกิจกรรมโดยให้แรงเสริมทางบวก
-          หากจะมีการต่อรองดำเนินกิจกรรม  ควรถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมก่อน
ข้อคำนึงในการเลือกกิจกรรม
1.    วัตถุประสงค์ของกิจกรรม  การเลือกใช้กิจกรรมนั้นต้องคำนึงวัตถุประสงค์ว่าเพื่ออะไร 
มิใช่เพื่อความสนุกสนานเฮฮาเพียงอย่างเดียว  เพราะบางกิจกรรมอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความคุ้นเคยสำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้จักกันเลย  บางกิจกรรมใช้กับผู้ที่รู้จักกันมาบ้าง  เพื่อให้เกิดความสนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น  ถ้าเลือกใช้กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมก็จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความคับข้องใจ  ไม่อยากแสดงออก  ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมและเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการอบรม
                2.    ผู้เข้ารับการอบรมก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ผู้นำกิจกรรมต้องคำนึงถึง  เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์  ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป  ผู้นำกิจกรรมจึงต้องศึกษาพื้นฐานต่างๆ  ของผู้ร่วมกิจกรรมไว้ล่วงหน้าในเรื่องต่างๆ  ต่อไปนี้
                -     จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
                -     อายุของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
                -     เพศ
                3.    พื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์
                4.    ระยะเวลา  สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหาที่ใช้หรือไม่  ใช้เมื่อไหร่
                5.    อุปกรณ์  จะใช้อุปกรณ์อะไร  อย่างไร  หาได้ที่ไหน
                6.    ผู้ช่วยเหลือในการดำเนินกิจกรรม  จำเป็นต้องหาผู้ช่วยเหลือในการดำเนินหรือช่วยควบคุมดูแลกลุ่มย่อย  ผู้ช่วยควรจะมีความรู้ในกิจกรรมนั้นๆ  และควรกำหนดตัวไว้ล่วงหน้า
……………………………………………………
บรรณานุกรม
1.  สมชาติ  กิจยรรยง. 108เกมและกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากร  สำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดีย       บุ๊คส์
     2546
2.  สมชาติ  กิจยรรยง และจีรชา  ใจเอี่ยม. เกมและกิจกรรมผสมผสานเพื่อพัฒนาบุคลากร
      สำนักพิมพ์มัลติฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี  จำกัด 2543

3.   http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/train/handbook/execute.html

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12963เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2006 01:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากได้ตัวอย่างหเกมที่ฝึก

กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรม

ขอบคุณค่ะ

สำหรับข้อมูล

อยากให้ลงตัวอย่างกิจกรรมละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างบรรยสกาศแรกเจอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท