ชีวิตจริงของอินเทอร์น : ขับเคลื่อนชีวิต คิดเชิงระบบ (๑)


  ขับเคลื่อนชีวิต คิดเชิงระบบ เป็นชื่อหัวข้อการเสวนาของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ ก.ย. ๕๐ ที่ห้องประชุมใหม่ โรงเรียนเพลินพัฒนา ในโอกาสเปิดใช้ห้องประชุมอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ประเด็นสำคัญที่อาจารย์ฝากไว้ในเวลาครึ่งวันมีดังนี้ 

 

  • ความเข้าใจในความแตกต่าง ที่เป็นคนละเรื่องเดียวกัน (complexity) ด้วยวิธีการง่ายๆ ด้วยการชวนให้ดูความแตกต่างของสุนัข พร้อมกับแนะนำว่าเป็นวิธีที่อาจารย์สอนลูกสาวทั้ง ๒ คนแล้วได้ผล และนอกจากจะมองเห็นความแตกต่างแล้วยังสอนให้รู้จักนิสัยของสุนัขแต่ละพันธุ์ด้วย

นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับในการเลี้ยงดูลูกมาฝากคุณพ่อคุณแม่ที่นั่งฟังด้วยว่า ให้รักลูกคนโต ทุ่มเทให้ลูกคนโตให้มาก สอนให้คนโตดูแลคนเล็ก แล้วคนเล็กจะดีตามมาเอง แต่ถ้าทุ่มเทให้กับลูกคนเล็กมากกว่า จะทำให้เสียลูกทั้ง ๒ คนไป  

เลี้ยงลูกอย่าสอน แต่ให้เขารู้จัก learn how to learn  

  • เคารพความแตกต่าง อย่างไม่ยอมให้ 1+1=1 เพราะมิฉะนั้นแล้วเราจะสูญเสียความเป็นตัวเอง ปัญหาจะตามมาทันที ทีชีวิตคู่มีปัญหาก็เพราะการทำให้ 1+1=1

ที่ใดมีกฎเกณฑ์มาก ที่นั่นก็จะมีทุกข์มาก แต่กฎใดๆก็ไม่แย่เท่ากับ กฎกู

ที่จริงแล้วคำว่า กู เป็นคำที่หวานมาก เพราะเป็นไปตามทฤษฎี U theory จะส่งสารอะไรออกไปก็ต้องย้อนกลับมาดูตัวเองก่อน  

ชีวิตที่เต็มไปด้วยการตัดสินคนอื่น คือชีวิตที่มีความทุกข์  

อีกเคล็ดลับที่นำมาฝากครู และพ่อแม่คือ อยากให้ดูรายการ AF แล้วศึกษาวิธีการพูด วิธีการชม วิธีการให้กำลังใจของคุณเศรษฐา เพื่อจะได้เห็นแบบอย่างที่ดี

ทุกวันนี้ครูไม่มีแล้ว มีแต่โค้ช( coach) และโค้ชที่ดีนั้นต้องเคารพในความแตกต่าง

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะคนที่เป็นครูนั้นคือคนที่ต้องเก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเชี่ยวชาญ จนคนอื่นมายกย่องว่าเป็นครู แล้วจึงค่อยมาสอนคนอื่นๆ  แต่คนที่จบวิชาครูทุกวันนี้นั้นเก่งในเรื่องของการถ่ายทอด ก็ควรสอน learn how to learn คือการสอนให้เด็กรู้วิธีเรียน และวิธีสอนที่ดีที่สุดก็คือ การสอนด้วยอิทธิบาท ๔  

เริ่มจากการสอนให้เขารักก่อน เพราะเด็กจะอยากเป็นอะไรเมื่อโตขึ้นนั้น อยู่ที่เราไปยั่วเขา พาให้เขาได้พบประสบการณ์ดีๆจากเรื่องนั้น อย่าเอาความต้องการของเราไปครอบลูก  

คนที่ใกล้ชิดกับเด็กต้องใช้ฉันทะ คือ ยั่วให้รัก แล้วพาให้มีวิริยะ คือต้องใช้ปิยวาจา สนับสนุน ให้กำลังใจ จากนั้นจิตตะ  คือสมาธิ กับ วิมังสา  คือ ความฉลาดคิดจะค่อยๆตามมาเอง  

วงจร PDCA ที่ประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ นี้ต้องวนซ้ำหลายรอบ  P นี้หากว่าเป็นสุดยอดของการวางแผนก็คือต้องเปลี่ยนแผนได้ แต่ยอดที่สุดแล้วต้องเป็น P – Principle คือยึดที่หลักการ ไม่ยึดที่แผน ตราบใดที่หลักการยังคงอยู่ ตัวแผนเปลี่ยนได้เสมอ

ที่สำคัญคือ เราต้องเคารพในความแตกต่าง ที่เขาดื้อกับเราก็เพราะว่า เขายังไม่อยากทำ ต้องลองสังเกตให้ดีว่า ตอนนั้น mode ของเขาอยู่ที่ไหน อย่าให้ลูกตกอยู่ใน mode ต่อต้าน 

mode ที่คนเราวนเวียนอยู่ก็คือ mode ปกติ / เรียนรู้ และต่อต้าน  ก่อนที่เราจะพูดอะไรกับใครขอให้ย้อนกลับมาดูจิตของเราก่อนว่า จิตในขณะนั้นเป็นกุศล หรือ อกุศล หากว่าจิตเป็นกุศลหากจะชมใครเกินจริงไปบ้างก็ไม่ถือว่าเป็นมุสาวาทา 

อาจารย์กับครูทั้งหลายมักจะพากันเข้าชมรม ตำหนิแห่งชาติ ทำให้กลายเป็นคนปากยื่นไม่น่าเข้าใกล้ ถ้าเป็นอย่างนี้ความสวยที่มีอยู่แล้วก็ช่วยไม่ได้ 

ถ้ารู้เท่าทันสติตัวเองเมื่อไหร่ก็จะได้คะแนนสติสะสมพลัส เก็บแต้มจนเต็มเมื่อไหร่ก็จะได้โสดาบัน     

หมายเลขบันทึก: 127818เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2007 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  สวัสดีครับ  ครูใหม่

  • ผมเห็นด้วยที่รักและสอนลูกคนโต
  • เพื่อให้รักและดูแลน้อง
  • แต่แม่พ่อต้องศึกษาอุปนิสัยเด็กด้วย
  • บางทีไม่เหมือนที่เราคิด
  • ขอบคุณมากที่นำมาแบ่งปัน

ขอบคุณค่ะตุณเกษตรยะลา ที่แวะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน

สวัสดีครับครูใหม่

เสียดายมากครับ ที่ไม่ได้ไปร่วมงานด้วย ตั้งใจว่าอยากจะไปเยี่ยมที่โรงเรียน แต่พอดีติดไปทำแผนงานที่ต่างจังหวัด ยิ่งอ่านที่ครูใหม่สกัดออกมาแล้ว ทำให้เห็นบรรยากาศที่อาจารย์ได้ไปสร้างกระแสไว้ มนุษย์ติดวัตถุมากจนมองเห็นการพัฒนาคนเป็นเรื่องการทำกับวัตถุ ขาดความเป็นธรรมชาติ และ มาถึงขาดความเป็นมนุษย์ ไปอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็เชื่อมั่นว่าก็ยังมีหน่อพันธุ์ดีๆที่สร้างสรร แทรกซึบกระจายอยู่เช่นกัน

ในช่วงวันดังกล่าวที่ไม่ได้ไปร่วมงานที่โรงเรียนเพลินพัฒนา ทีแรกก็นึกว่าพลาดสิ่งดีๆไป แต่ก็เมื่อถูกลิขิต กลับกลายได้ไปมีโอกาสแทรกซึบกับ Dialogue workshop ของทางปูนที่จัดขึ้น มีโอกาสไปเจอ อาจารย์วิศิษฐ์ ด้วย มันเป็นความบังเอิญแบบจัดการ เราเปลี่ยนฐานการทำแผนให้ไปอยู่ที่เดียวกันซะ ทำให้เกิดเหตุการณ์ดีๆนี้ขึ้นมา โชคดีไปครับ แถมในครั้งนี้อาจารย์วิศิษฐ์ ได้มีโอกาสมานำDialogue ให้กับหน่วยงานด้วย แล้วจะเขียนบันทึกไปเล่าให้ฟังนะครับ ตามๆบันทึกของผมดูละกันครับ

ยินดีด้วยค่ะกับโอกาสดีๆที่ได้รับ แล้วจะตามไปอ่านในบันทึกนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท