หลังจากวิเคราะห์ปัญหาและสรุปแนวทางแก้ไขได้แล้ว แต่ละกลุ่มก็เริ่มวางแผนการดำเนินการ และนำเสนอร่างโครงการฯแก่คณะกรรมการ การนำเสนอผ่านไปได้ด้วยดี ตอนนี้ ทีมเก็บตก ที่ต้องการลดเวลาการทดสอบ reticulocyte count เริ่มต้นการทำงานด้วยสปีดที่สูงมาก ในเวลา 2-3 สัปดาห์ สามารถเก็บข้อมูลได้เกือบสองร้อยราย ทีมงานบางคนถึงกับบ่นว่า น้ำหนักลดและดูแก่เกินวัยเสียแล้ว
ไม่แตกต่างกันนักกับทีม สาวน้อยประแป้ง ที่ต้องการเพิ่มศักยภาพของเครื่องอัตโนมัติในการทดสอบ CBC ก็เร่งเก็บข้อมูลอย่างเอาจริงเอาจัง เลิกงานแล้วยังไม่ยอมกลับบ้าน รวมทีมกันทำงานต่อภายใต้คำแนะนำของพี่เลี้ยงผู้มากประสบการณ์(คุณปนัดดา) จากการสอบถามครั้งล่าสุดก็ได้ความว่า "เก็บข้อมูลได้เกือบครบตามจำนวนที่ต้องการแล้วค่ะ เมื่อข้อมูลครบก็จะเริ่มวิเคราะห์และสรุปมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงงานได้เลย" ..เอ..ภาระหนักน่าจะตกอยู่กับคณะกรรมการพิจารณาโครงการแล้วล่ะ เพราะแต่ละทีมมาแรงเหลือเกิน
ส่วนอีกทีมหนึ่ง คือทีมบานไม่รู้โรย ที่ต้องการ "เร่งรัด งานหลัก hemato" ทีมนี้ทำงานกันเป็นทีม ค่อยเป็นค่อยไป พอเก็บข้อมูลได้ 1 เดือนก็มาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อปรับปรุงงานในเดือนต่อไป ผลการดำเนินงานก็เห็นเป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจน จากเดิมที่ทุกๆวันจะต้องมีโทรศัพท์จาก OPD หรือ วอร์ดต่างๆมาตามผล เร่งผล ก็ไม่ค่อยมีแล้ว หรือบางวันไม่มีเลย ผลตกค้างที่เกิดจากการลืม verified หรือใบ request ไปซ้อนทับกันจนไม่ได้รายงานผลก็ไม่มีแล้ว ทุกคนก็ happy กับการทำงานของตนเอง
นอกจากทีมหลักในหน่วย hemato ทั้งสามทีมแล้ว เราก็ยังมีแนวร่วม (คุณสุนทร) ที่ไปร่วมกันกับทีมหน่วยงานอื่น (เคมีคลีนิก) อีกด้วย เพื่อเร่งผลการทดสอบจากหน่วยฉุกเฉิน ด้วยการติดสติ๊กเกอร์สีแดงบนขวดเลือด/ใบ request ซึ่งคงต้องรอการประมวลผลอีกสักระยะหนึ่งก่อน