"วิทยาศาสตร์กับความรู้ภูมิปัญญา"สัมพันธภาพใหม่ เพื่อการพัฒนา


ทำอย่างไร เราจะมีนักวิชาการที่ใจง่าย ใจง่ายก็คืออย่าใจยากมากนักมีเงื่อนไขยุ่งยาก มันถึงไปกันไม่ได้ มันก็ได้แค่งานวิจัยเสมือนจริงที่ไม่ใช่ของจริง มันใช้ในชีวิตจริงไม่ได้

        

      ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ จากมหาวิทยาลัยปอยเตียรส์ ประเทศฝรั่งเศส และคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ เครือข่ายนานาชาติด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่สาธารณะชน   เปิดเผยในเวทีเสวนา การสร้างความรู้ในสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจัดโดย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โดยดร.ยุวนุช ได้กล่าวถึงกรณีศึกษาในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกซึ่งเน้นเรื่องการศึกษาการสร้างความรู้จากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่น กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่  จากกรณีศึกษา 9 กรณีคือ  การพัฒนาพันธุ์ข้าวด้วยภูมิปัญญาไทย จ.พิจิตร , การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว จ.ปทุมธานี , การพัฒนาสมุนไพรไร้สารพิษ จ.ระยอง , การสร้างความรู้เพื่อการปรับปรุงบำรุงดินของโครงการฟ้าสู่ดิน โดยเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์ ,การสร้างความรู้ของหมอเมืองล้านนา จ.เชียงราย ,การพัฒนากระบวนการย้อมคราม จ.สกลนคร , การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จ.ปราจีนบุรี, การพัฒนาเฟอร์นิเจอผักตบชวา จ.ปทุมธานี และ กระบวนการสร้างความรู้ของโรงงานแป้งขนมจีน อ.นพพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

          โดย ดร.ยุวนุช กล่าวถึงแรงจูงใจที่ทำให้ตน ศึกษาเรื่องการสร้างความรู้จากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่น กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์ที่แม้ว่าตนเองจะเป็นนักส่งเสริมการนำความรู้จากการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาประเทศในระดับต่างๆ และเชื่อมั่นว่า วิทยาศาสตร์เท่านั้นจะเป็นศาสตร์สำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมได้  แต่สิ่งที่ ดร.ยุวนุชพบมาตลอด 20 ปีก็คือความรู้วิทยาศาสตร์มีข้อติดขัด และเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ให้กับผู้รับที่ไปด้วยกันไม่ค่อยได้ เมื่อเวลามีปัญหาก็ไม่ได้นำความรู้วิทยาศาสตร์มาใช้แก้ปัญหา ทำให้ดร.ยุวนุชสงสัยมาตลอดว่าเป็นเพราะเหตุใด ทั้งๆ มีนักวิจัยนับพันคน และสังคมไทยยังเป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อในการให้ความรู้ กระทั่ง ดร.ยุวนุชได้มีโอกาสเดินทางไปในชนบทไทย พบนักวิทยาศาสตร์กับชาวบ้านที่ทำงานร่วมกันอย่างเคารพซึ่งกันและกัน เปิดกว้างที่จะเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันระหว่างความรู้ภูมิปัญญาที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยรู้กับความรู้ของวิทยาศาสตร์ที่ชาวบ้านเองก็ยากที่จะเข้าใจ การพูดคุยกันโดยตรงกับชุมชนและผู้เกี่ยวข้องทำให้ ดร.ยุวนุชขมองเห็นมุมใหม่ที่ไม่เคยมองมาก่อนในสายตา นักวิทยาศาสตร์ อย่างดร.ยุวนุช

                ดร.ยุวนุช กล่าวว่า แม้วิทยานิพนธ์ชุดนี้จะทำในประเทศฝรั่งเศส แต่เป็นการศึกษาสังคมไทยล้วนๆ  พร้อมทั้งเล่าถึง กรณีการพัฒนากระบวนการย้อมคราม จ.สกลนคร หนึ่งใน 9 กรณีศึกษาของวิทยานิพนธ์นี้ว่า ตนได้พบ แม่ฑีตา วัย 56 ปี และนางประไพพรรณ แดงใจ สองแม่ลูกที่พยายามสืบค้นความรู้ด้านการย้อมผ้าจากคราม ที่สูญหายไปจากบ้านนาดี เนิ่นนานมาแล้ว แต่ แม่ฑีตาซึ่งพอจะมีความทรงจำเรื่องการย้อมครามอยู่บ้าง ก็พยายามรื่อฟื้นความรู้ และออกเดินทางเสาะหาต้นคราม 1 ใน 2 สีธรรมชาติในโลกที่ใช้เทคนิคการย้อมเย็นหรือการหมักได้สูญหายไปพร้อมๆ กับผู้รู้ในท้องถิ่นของตนมานานแล้วเช่นกันเพื่อขยายพันธุ์และลองผิดลองถูกบนผ้าดิบ เพื่อให้เกิดสี และผสมผสานกับฝีมือด้านศิลปะการ มัดย้อม ลายผ้าแบบโบราณ และลายประยุกต์ กระทั่งเป็นผืนผ้าที่งดงาม แต่แม่ฑีตากลับพบว่า หม้อครามที่ใช้เตรียมสีย้อมด้วยวิธีการที่ซับซ้อนนานกว่า 1 เดือนนี้เน่าเร็วเกิยไปจนสูญเสียทั้งเวลาและวัตถุดิบ

                ปัญหานี้เองทำให้นางประไพพรรณ และแม่ฑีตา พยายามแสวงหาผู้รู้มาช่วยกันแก้ปัญหากระทั่งพบนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ทำโครงการวิจัยการพัฒนาผ้าย้อมครามที่อำเภอนาหว้า จ.นครพนม ในปี 2537 จึงเข้าร่วมโครงการ โดยมีนักวิจัยช่วยออกแบบเครื่องทุ่นแรงในกระบวนการผลิตจากนั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ใกล้ชิด และทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้นและมีความซาบซึ้งกับหัตถกรรมไทย ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการ่วมกันเรียนรู้ ด้วยความเคารพซึ่งกันและกันไม่เพียงแต่ชาวบ้านจะได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา ที่มีอยู่ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยอมรับว่าได้เรียนรู้มากมายในสิ่งที่ไม่เคยเรียนรู้หรือให้ความสนใจมาก่อน

                ผลที่ได้รับจากการทำงานรร่วมกันในครั้งนี้  นอกจากนี้การผสานความรู้ทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้นักวิทยาศาสตร์และชาวบ้านได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ส่งผลถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาผ้าย้อมครามขึ้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร  และการสัมมนาระดับจังหวัดและภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ส่งเสริมการผลิตผ้าย้อมครามคุณภาพสูงในที่สุด

                ด้านครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์ และหัวหน้าโครงการพัฒนาปรับปรุงดินร่วมกับสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) กล่าวว่า วิทยานิพนของดร.ยุวนุช  เป็นการค้นพบโครงสร้างการเรียนรู้ของประเทศ ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีสายพันธุ์ นักวิชาการก็มีสายพันธุ์ เราพูดกันมากแล้วว่า ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เกิด และไปไม่ถึง แต่ถ้าไปถึงเมื่อใดประเทศนี้ก็จะมีชุดความรู้ใหม่ที่เป็นของตัวเอง เปรียบเสมือนรางรถไฟ ที่เป็นของเขาและเป็นของเรา และก็เดินทางคู่กันไป  ซึ่งระบบของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมันยังเข้าไม่ถึง ตัวภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีกึ๋นจำกัด ตัวนักวชาการการก็กึ๋นเยอะ แต่วัฒนธรรมที่มันจับมือกันมันไม่มี ทำอย่างไร เราจะมีนักวิชาการที่ใจง่าย ใจง่ายก็คืออย่าใจยากมากนักมีเงื่อนไขยุ่งยาก มันถึงไปกันไม่ได้ มันก็ได้แค่งานวิจัยเสมือนจริงที่ไม่ใช่ของจริง มันใช้ในชีวิตจริงไม่ได้  ดังนั้นเมื่อดูแผนพัฒนาต่างๆ  เราก็ยังไม่มีแผนแม่บทตัวจริงที่มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาชีวิตจริงๆของพวกเราได้  นี่คือจุดตายของประเทศ แต่การวิจัยของดร.ยุวนุช เป็นแก่นแท้ที่ ต้องทำให้ถึงขั้นนี้  ตนรอมา 50 ปี เดินมาถึงวันนี้สงสัยเหลือเกินว่าทำไมคนไทยไม่ช่วยกันเป็นนักเรียนช่วยกันเรียน ช่วยกันรู้ร่วมกัน ถ้ามันไม่เกิดตรงนี้เราก็เปรียบเสมือนหมาน้อยธรรมดาวิ่งตามก้นต่างชาติแล้วก็แก้ปัญหาไม่ได้ สุดท้ายก็เหมือนลูกไก่ในกำมือคนอื่น
                ดร.ยุวนุช กล่าวในตอนท้ายว่า วิทยานิพนธ์ของตน เป็นการบูรณาการสิ่งเก่า คือภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับสิ่งใหม่ก็คือความรู้วิทยาศาตร์เทคโนโลยี ที่เรามิอาจปฏิเสธได้ กรณีศึกษาของตนจึงเป็นความสำเร็จของชุมชน และเห็นชัดๆ ว่าชาวบ้านไม่ได้ใช้ความรู้ภูมิปัญญาอย่างเดียวแต่ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์คู่กันไปด้วย และทำแล้วต้องมีความสุขสร้างเครือข่ายกันได้ด้วย สังคมแบบนี้ต่างหากที่เรียกว่าเป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน คือใช้ความรู้ทุกอย่างที่มีในสังคมและโลกใบนี้ มิใช่สังคมสมัยใหม่ที่ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีซีกเดียว ซึ่งตนค่อนข้างเป็นห่วงว่าหากคนไทย และนักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยว่าหากคิดเหมือนกันหมดว่าวิทยาศาสตร์มีคำตอบให้กับทุกสิ่งในโลก  บ้านเมืองของเราคงแย่
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1271เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2005 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้อ่านแล้วเข้าใจลึกซึ้งดีนะครับ ไม่ได้เข้าร่วมฟังเสวนาครั้งนี้ด้วย เนื่องจากต้องแบ่งภาระกิจ ไปทำงานอีกงาน ที่ "กรมวิชาการเกษตร" ซึ่งผมก็เขียนเล่านคร่าวๆลง Blog ไปแล้วเมื่อ 2 วันก่อน ....

(มาถึงเรื่องเล่าที่พี่น้ำเขียนต่อ)

อ่านแล้วเข้าใจดีครับ เห็นภาพในจินตนาการผม คือ "ดร.ยุวนุช และ ครูบาฯ" กำลังพูดในเรื่องของความสำเร็จ และความลงตัวของสิ่งเก่า "ภูมิปัญญา"

และสิ่งใหม่ "วิทย์และเทคโนฯ" ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการกันจนกระทั่งเกิด "ความสำเร็จ"

ผมเห็น "การเรียนรู้" ที่ประสบความสำเร็จมานักต่อนักแล้ว และปัจจัยที่ทำเกิดความสำเร็จนั้นๆก็คือ "การบูรณาการการเรียนรู้"  ตัวอย่างในกรณีศึกษาของ ดร.ยุวนุชนี้ก็เช่นกัน ทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิผลมากมาย

 ผมเห็นด้วยกับประโยคเด่นของครูบาสุทธินันท์ ที่ว่า "ทำอย่างไร เราจะมีนักวิชาการที่ใจง่าย ใจง่ายก็คืออย่าใจยากมากนักมีเงื่อนไขยุ่งยาก มันถึงไปกันไม่ได้ มันก็ได้แค่งานวิจัยเสมือนจริงที่ไม่ใช่ของจริง มันใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ "

อย่างไรก็ตามผมขอชื่นชมผู้เขียน เรื่องเล่านี้ ที่ทำให้ผมอ่านได้อย่างเข้าใจได้ตั้งแต่บรรทัดแรก กระทั่งบันทัดสุดท้าย และระหว่างทางที่สมองผมรับรู้ผ่านตัวอักษรในเรื่องเล่านี้ อรรถรสในการอ่านมันเกิดขึ้นตลอดเวลา ชวนให้อ่านยันบรรทัดสุดท้ายในที่สุด

ผมขออนุญาติผู้อ่าน เรียนรู้ เทคนิค และวิธี การเขียนเรื่องให้น่าอ่าน จากบทความนี้ เพื่อเป็นต้นแบบ สู่การ "บูณาการคิด - การเขียน" ของผมต่อไป..

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ.

ได้อ่านแล้วเข้าใจลึกซึ้งดีนะครับ ไม่ได้เข้าร่วมฟังเสวนาครั้งนี้ด้วย เนื่องจากต้องแบ่งภาระกิจ ไปทำงานอีกงาน ที่ "กรมส่งเสริมการเกษตร" ซึ่งผมก็เขียนเล่านคร่าวๆลง Blog ไปแล้วเมื่อ 2 วันก่อน ....

(มาถึงเรื่องเล่าที่พี่น้ำเขียนต่อ)

อ่านแล้วเข้าใจดีครับ เห็นภาพในจินตนาการผม คือ "ดร.ยุวนุช และ ครูบาฯ" กำลังพูดในเรื่องของความสำเร็จ และความลงตัวของสิ่งเก่า "ภูมิปัญญา"

และสิ่งใหม่ "วิทย์และเทคโนฯ" ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการกันจนกระทั่งเกิด "ความสำเร็จ"

ผมเห็น "การเรียนรู้" ที่ประสบความสำเร็จมานักต่อนักแล้ว และปัจจัยที่ทำเกิดความสำเร็จนั้นๆก็คือการ "บูรณาการการเรียนรู้"  ตัวอย่างในกรณีศึกษาของ ดร.ยุวนุชนี้ก็เช่นกัน ทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิผลมากมาย

 ผมเห็นด้วยกับประโยคเด่นของครูบาสุทธินันท์ ที่ว่า "ทำอย่างไร เราจะมีนักวิชาการที่ใจง่าย ใจง่ายก็คืออย่าใจยากมากนักมีเงื่อนไขยุ่งยาก มันถึงไปกันไม่ได้ มันก็ได้แค่งานวิจัยเสมือนจริงที่ไม่ใช่ของจริง มันใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ "

อย่างไรก็ตามผมขอชื่นชมผู้เขียน เรื่องเล่านี้ ที่ทำให้ผมอ่านได้อย่างเข้าใจได้ตั้งแต่บรรทัดแรก กระทั่งบรรทัดสุดท้าย และระหว่างทางที่สมองผมรับรู้ผ่านตัวอักษรในเรื่องเล่านี้ อรรถรสในการอ่านมันเกิดขึ้นตลอดเวลา ชวนให้อ่านจนถึงบรรทัดสุดท้ายในที่สุด

ผมขออนุญาติผู้เขียน เรียนรู้ เทคนิค และวิธี การเขียนเรื่องให้น่าอ่าน จากบทความนี้ เพื่อเป็นต้นแบบ สู่การ "บูณาการคิด - การเขียน" ของผมต่อไป..

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ.

อ่านเเล้วสนุกมากและมีความรู้ด้วย (จาก เหมียว ร.ร. วัดพระยาปลา ค่ะ )

อยากได้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสาร อ้ะนะค้ะ พอดีครูสั่งงานมาแต่หาไม่ได้ ก็เลยเอาเป็นสารไปอย่างเดียว แต่ว่าถ้าเกิดมียังไงก็ช่วยบอกธัญญ่า ด้วยนะค้ะ เพราะงาน ส่งวันที่ 15 นี้ค้ะ ขอบคุณค่ะ พรุ่งนี้จะลองเข้ามาดูอีกทีนะค่ะเพื่อมีเพิ่มเติมไว้ให้ญ่าแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท