GotoKnow

Share Knowledge เพื่อปรับระบบงาน

นาย พงศธร ลายพรหม
เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2548 02:45 น. ()
แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2555 07:14 น. ()
หาจุดอ่อนของทั้งสองฝ่ายมาใช้ให้เป็นประโยชน์
        ผมได้คุยเรื่องที่เป็นปัญหาของ Transferring knowledge มาแล้วที่ดูๆแล้วจะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จสักเท่าไหร่ คราวนี้มาดูส่วนที่สำเร็จบ้าง เมื่อสัก 3 ปีมาแล้ว   ทางองค์กรมีความเห็นลงมาเป็นนโยบาย ให้ทำการยุบรวมแผนกไฟฟ้าเข้าด้วยกันกับ แผนกเครื่องมือวัด (Instrumentation) ผลที่ตามมาคือมีเสียงคัดค้านมากมายทั้งจากหัวหน้างานแต่ละแผนก และจากผู้ปฏิบัติงานเองด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นงานคนละส่วนคนละรูปแบบ อุปกรณ์การบำรุงรักษา การใช้งานก็ต่างกัน    ทางแผนกไฟฟ้าก็ให้เหตุผลที่น่ารับฟัง ว่างานทางด้านไฟฟ้าเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง และอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ    เป็นงานที่มีความอันตรายในตัวเองสูง ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาทางด้านไฟฟ้าโดยตรงไม่ควรประกอบอาชีพด้านนี้(ไฟฟ้ากำลัง) ส่วนทางด้านแผนก instrument ก็บอกว่างานของเขากว่าช่างทุกคนจะผ่านเข้ามารับผิดชอบงานของตัวเองได้ ต้องผ่านการศึกษาอบรมมามากมาย    ใช้เวลานานอาศัยประสบการณ์ ทักษะ ความละเอียดแม่นยำ และติดตามเทคโนโลยีของอุปกรณ์ทุกประเภทที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงาน ซึ่งงานของ instrument ครอบคลุมระบบของการผลิตเกือบจะทุกขั้นตอนก็ว่าได้ 
         ฟังๆดูแล้วเหมือนกับว่าทั้งสองหน่วยงานคงจะรวมกันยาก    ในที่สุดฝ่ายดำเนินการควบรวมก็หาจุดอ่อนของทั้งสองฝ่ายมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ คือทางด้านไฟฟ้ามีเวลาว่างมากพอที่จะช่วยเหลืองานของฝ่ายอื่นได้ เพราะระยะเวลาช่วงซ่อมบำรุงของงานมีช่วงกว้างมาก    ดังนั้นแผนกไฟฟ้าต้องศึกษางาน instrument เพิ่มขึ้นทั้งระบบ ในส่วนของแผนก instrument งานล้นมือจึงไม่ต้องศึกษางานอื่นๆเพิ่มเติม และไม่ต้องทำงานในส่วนของแผนกไฟฟ้า แต่จะต้องรับผิดชอบการถ่ายทอดความรู้ในงานให้กับแผนกไฟฟ้า จึงกลายมาเป็นหน่วยงานด้าน IE มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นความสำเร็จของฝ่ายบริหารอีกกิจกรรมหนึ่ง...
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย