Knowledge Transfer & Knowledge Sharing ในองค์กรการทำงาน


ผลเชิงบวกของการโต้แย้งในการถ่ายทอดความรู้
ในชีวิตการทำงาน  ทุกคนคงไม่ปฏิเสธว่าบางครั้งย่อมเกิดความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใช่ว่าจะให้แต่ผลด้านลบ  แต่ในทางกลับกันลองมองในแง่บวก (Positive Thinking)  จะเห็นว่าการโต้แย้ง  การถกเถียงกันในปัญหาเรื่องงานนั้น  เป็นวิธีการจัดการความรู้ (Knowledge Management) อีกวิธีหนึ่ง  ถ้าทุกคนถกเถียงกันโดยปราศจากอคติส่วนตัว  เปิดใจกว้าง เพื่อเป้าหมาย (Goal) ในการทำงานร่วมกัน  เพื่อผลสำเร็จของงาน
            การเปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Forum) เช่น การจัดการประชุม หรือกิจกรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรในองค์กรมีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน ก็เป็นอำวิธีการหนึ่งซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้  แต่ในบางครั้งก็ย่อมมีปัญหา จากสาเหตุของความขัดแย้งกันบ้าง  ซึ่งในองค์กรของข้าพเจ้าก็เจอปัญหานี้  บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้าต้องเจอและสัมผัสได้ถึงปัญหาที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาขององค์กร  ซึ่งสามารถสรุปปัญหาได้ดังนี้
1.      การเล่นพรรคเล่นพวก  บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้ารู้สึกเกิดการเล่นพรรคเล่นพวก  เกิดการหมกเม็ดปัญหาเพื่อป้องกันความผิดให้กับพรรคพวกตัวเอง  ในขณะที่เห็นความผิดพลาดของคนที่ไม่ใช่พรรคพวกตัวเองเป็นเรื่องใหญ่  ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่  ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องให้เกิดปัญหาในการติดต่อประสานงานระหว่างกัน  ไม่มีการแบ่งปันถ่ายทอดความรู้หรืองานต่อกัน เป็นผลพวงถึงผู้ใต้บังคับบัญชา  ประเภทเด็กใครก็เด็กคนนั้น  อันนี้เป็นผลให้เกิดปัญหาทำให้งานสะดุด  ไม่มีกำลังในการทำงาน  นำมาซึ่งการลาออกก็มี  เพราะรู้สึกถึงความไม่ก้าวหน้า  และไม่ภูมิใจและไม่ท้าทายในบทบาทของตัวเอง
2.      การปกป้องตัวเอง  คือมองเฉพาะงานที่ตัวเองรับผิดชอบเพียงอย่างเดียว  ไม่ได้มองเป้าหมายหรือปัญหาโดยภาพรวมขององค์กรเพื่อแก้ปัญหา  ซึ่งเมื่อเวลามาพูดประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน  ก็มักจะเสนอแนวคิดที่ส่อไปในทางที่มุ่งไปที่เป้าหมายในตำแหน่งหน้าที่ที่ตัวเองรับผิดชอบ  งานเฉพาะฝ่ายที่ตัวเองรับผิดชอบ  ต่อต้านเป้าหมายรวม
แนวทางการแก้ปัญหาขององค์กร
สำหรับในเวทีที่ประชุม  วิธีการแก้ปัญหาที่องค์กรใช้ คือ ประธานในที่ประชุมจะเป็นผู้เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็น  ถกเถียงกัน และจะคอยควบคุมสถานการณ์ไว้ ไม่ให้ออกนอกประเด็น  อาจจะนัดประชุมรอบใหม่  เพื่อให้ทุกคนกลับไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ละเอียดกว่าเดิม  นอกจากนี้ก็ใช้วิธีการโยกย้ายสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งงานที่เริ่มส่อเค้ามีปัญหาในการติดต่อประสานงานกัน  และเป็นการแก้ปัญหาการยึดติดกับตำแหน่งงาน เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองในการทำงานในแต่ละหน้าที่ เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการสร้างแนวคิดในการมองเป้าหมายรวม  สำหรับวิธีการสลายกลุ่มเล่นพรรคเล่นพวกก็พยายามที่จะมอบหมายงานโปรเจ็กพิเศษให้รับผิดชอบร่วมกันระหว่างกลุ่ม  และติดตามความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1258เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2005 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท