การกระจายรายได้และกระจายความภูมิใจสู่ทุกกลุ่มในชุมชน


จะทำให้ชุมชนคึกคัก สนุกกับการทำกิจกรรม เผยแพร่แนวคิด การเรียนรู้ป่าชุมชน ของที่นี่อย่างต่อเนื่อง

      วันนี้ มีประชุมกลุ่มออมทรัพย์สัจจะที่ เด็กรักป่า แม่บ้านเป็นกลุ่มใหญ่ที่นั่งรอกู้และสนทนากัน

       ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ พบแม่บ้านทั้งชุมชน ก็เลยเข้าไปนั่งคุยด้วย คุยกันสัพเพหะระ

       ฉันชวนคุยเรื่อง ขนมพื้นบ้าน ว่าแม่บ้าน ใครทำอะไร ได้บ้าง

อย่าง ขนมโชค ( ขนมฝักบัว )  ขนมกันเตรือม ( ขนมโดนัท ) ขนมโกร็ด ( มะนาว )    อันซอมกระบอง ( ขนมเทียน )  ขนมโดง ( ขนมห่อมะพร้าว ).......

      ที่เด็กรักป่า มีค่าย / งานประชุมบ่อย เรามีแม่บ้านในชุมชนมาทำอาหารที่นี่ แต่ถ้าเรากระจายให้ หลายๆคนในชุมชน ได้มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในรายได้ น่าจะดี ไม่น้อย

      ก็เลยอยากให้ แม่บ้าน ทำขนมพื้นบ้านมาส่ง เวลา เราจัดกิจกรรม ดีกว่า ไปสั่งซื้อในเมือง

      แนวคิด การกระจายรายได้ จากหลายบทบาท ของคนในชุมชน มาจาก ผู้ใหญ่บ้านด้วย ค่ายล่าสุด นักเรียนฮ่องกงไปพักตามบ้านชาวบ้าน ปรกติ ชาวบ้านจะมีหน่วยดูแลชุมชนที่เป็นสมาชิกชุมชน ที่เรียก อพปร. ทุกหมู่บ้าน แต่ไม่ค่อยมีบทบาทนัก

     ถ้าเราให้ อพปร. เหล่านี้ มาดูแล ในคืนที่มีกิจกรรมก็จะดีมาก และเป็นการชูบทบาทของทุกกลุ่ม         

    ที่ชุมชนนี้ นอกจากจะมีครูเดินป่า มีแม่บ้านที่ดูแลเรื่องอาหาร มีพี่เลี้ยงเยาวชน มีฝ่ายรักษาความปลอดภัย  ก็จะทำให้ชุมชนคึกคัก สนุกกับการทำกิจกรรม เผยแพร่แนวคิด การเรียนรู้ป่าชุมชน ของที่นี่อย่าง

ต่อเนื่องและนำไปสู่การพัฒนาการที่ดี ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 125089เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณหน่อย

Long time no chat !!!  สบายดีนะคะ

เรื่องของอาหารพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาที่น่าทึ่งและมีเรื่องราวสัมพันธ์กับภูมินิเวศ  มีนักประวัติศาสตร์บอกว่า  ทางหนึ่งที่จะสืบร่องรอยความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่างพื้นที่ต่างๆได้  คือ แกะรอยอาหาร ค่ะ

ชื่อขนมที่ว่ามาฟังดูน่าสนใจนะคะ  ดูจะคล้ายๆขนมที่เราคุ้นๆ แต่มีสูตรเฉพาะ เป็นขนมพื้นเมืองรึเปล่าคะ  แต่สงสัยเรื่อง ขนมห่อมะพร้าว ว่าแถวนั้นมีมะพร้าวด้วยหรือคะ  คงได้รับอิทธิพลจากพื้นที่อื่น

มีชาวบ้านยากจนที่ทำงานด้วยกันที่ชัยภูมิ ไปเรียนทำขนมดอกจอกจากโคราช ตอนเราไปทำโครงการแลกเปลี่ยนชุมชน  (คือ แลกของด้วย แลกความรู้ผสมไปด้วย)  ตอนนี้กลายเป็นอาชีพเสริมที่ทำรายได้ดี  เด็กๆในหมู่บ้านจะได้ทานขนมดอกจอก เป็นของแปลกแทนซื้อขนมขบเคี้ยวจากโรงงาน (แต่กระจายขายอยู่ทั่วไปในชุมชน)  และยังทำขายส่งตลาดในหมู่บ้านใกล้ๆด้วย

สนับสนุนความคิดคุณหน่อยนะคะ

อยู่กรุงเทพฯ เวลาประชุม  เราอยากให้โรงแรมทำน้ำสมุนไพร แทนเสริฟกาแฟ  แต่เขาไม่ทำให้ค่ะ  โรงแรมไหนทำน้ำตะไคร้ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำฝรั่งก็จะปลื้มค่ะ

 

 

P
 สวัสดีค่ะ  คุยเรื่องขนม นี่สนุกคะ หน่อยนั่งคุยกับแม่บ้าน ออกเสียงถูกบ้าง ผิดบ้าง ท้องถิ่นน่ะคะ
    ขนมโดง จริงๆน่าจะมีคำยาวกว่านี้ หน่อยจำไม่ได้ ไว้ค่อยไปถามใหม่คะ  แต่ โดง แปลว่า มะพร้าว ต้นมะพร้าว พอมีคะ แต่ไม่มาก ตามบ้าน  ขนมนี้ เขาใช้ทางมะพร้าวมาห่อ ใส่ข้าวเหนียวที่ผสมน้ำตาล หรือ กะทิแล้วน่ะคะ ห่อให้มิดอย่างดี แล้วก็ต้มให้สุก
   ช่วงงาน เบญเล็ก  เบญทม  ( งานไหว้บรรพบุรุษ ที่นี่ ) จะมีขนมหลากหลาย นี่ก็ใกล้แล้วคะ
ขอบคุณคะ

อาจารย์ปัทมาวดี  คะ หน่อยมาแก้ไข คะ จำมาผิด เรื่องภาษาเขมร น่ะคะ เพื่งไปถามแม่บ้านมา

ขนมโดง จริงต้องเรียก อันซอมสเรอะโดง เป็นขนมต้มห่อด้วยทางมะพร้าว  อันซอม แปลว่า ต้ม

สเรอะ แปลว่า ใบไม้  โดง ก็แปลว่า มะพร้าว

ส่วนข้างบน หน่อยก็เขียนผิดคะ  ขนมเทียน เขมรว่า

กันจ๊อบ

ส่วน อันซอมกระบอง เป็นขนมต้มด่าง ที่ห่อใบตอง หรือใบเตย ที่เป็นสามเหลี่ยม 

 ต้องถามผู้รู้ภาษาเขมร....ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท