กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์


 

          วันที่ ๑๗ ส.ค. ๕๐   สภามหาวิทยาลัยมหิดลเชิญ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยมหิดล   มานำเสนอ lunch talk เรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในสังคมไทย    

          เป็นเรื่องของการใช้มุมมองของคนธรรมดาต่อกฎหมาย      เช่นใช้กลุ่มครอบครัว     ใช้ด้านดีของความเป็นมนุษย์  ใช้อารมณ์ด้านบวก มาทดแทนอารมณ์ด้านลบ     เพื่อบรรลุข้อตกลง ทดแทนการเผิญหน้า  การเอาชนะ     เปลี่ยน แพ้ – ชนะ  เป็น ชนะ – ชนะ     เป็นการเปิดโอกาสให้ “ผู้เสียหาย”  ครอบครัว (ของผู้กระทำผิด)  และชุมชน ได้เข้ามาร่วมกันหาทางออก    

          เป็นการสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ด้านกระบวนการยุติธรรม     เปลี่ยนจากแนวแก้แค้นทดแทน (retributive) ไปสู่แนวสมานฉันท์ (restorative)     มุ่งที่การสร้างสรรค์สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (ผู้ทำผิด – ผู้เสียหาย)     และสร้างสรรค์สันติสุขให้แก่สังคม (social harmony) มากกว่าการลงโทษผู้ผิด     

          เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกแบบหนึ่ง   
          มี ๔ แนวทางดำเนินการ   (๑) ประชุมประสานสัมพันธภาพ   (๒) ประชุมกลุ่มครอบครัว    (๓) การประชุมล้อมวง (Sentencing Circle) ให้ผู้ทำผิดพูด  และผู้เสียหายพูด  (๔) คณะกรรมการชุมชน   

          ใช้ได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม    ใช้กับความผิดที่เด็กเป็นผู้กระทำ     ความรุนแรงในครอบครัว     ความผิดโดยประมาท     และความผิดเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ     แต่ในต่างประเทศใช้ได้ผลดีที่สุดในความผิดร้ายแรง    

          ใช้การเคลื่อนไหวแบบสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา     มีการใช้ที่ศาลอาญา  ศาลเยาวชนและครอบครัว     ประเด็นท้าทาย
          ๑. ทัศนคติเรื่องการลงโทษในสังคมไทย และของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
          ๒. กระบวนการสร้างความสมานฉันท์ได้ผลจริงหรือไม่
          ๓. จะสร้างความเสมอภาคในกระบวนการสร้างความสมานฉันท์ได้อย่างไร
          ๔. ทางเลือกที่จำกัดในการปฏิบัติต่อผู้ทำผิด
          ๕. ขาดองค์ความรู้ และความเข้าใจในผู้ที่เกี่ยวข้อง
          ๖. ขาดกฎหมายกลาง

          เป็นระบบเสริม   ไม่ใช่ระบบทดแทน     เพื่อแก้หรือบรรเทาปัญหาพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมไทย  : ลดบทบาทรัฐ เพิ่มบทบาทชุมชน    เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ที่ส่งผลลดปริมาณคดีในระบบ (จาก ๒๗๐,๐๐๐ เหลือ ๑๕๐,๐๐๐ ในปัจจุบัน)

          เป็นแนวทางที่มองรอบด้าน โดยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เสียหาย ผู้กระทำผิด และชุมชน

การอภิปราย
ศ. นพ. ประเวศ วะสี

             ม. มหิดล เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะเกี่ยวกับสุขภาวะ ซึ่งเป็นเรื่องสุขภาวะทางกาย  จิตใจ สังคม อารมณ์ และปัญญา      ถ้าสังคมมีความยุติธรรม จะช่วยด้าน social  health  
             ที่ Cincinnati คนดำกับคนขาวขัดแย้งกัน     มีกรณีสู่ศาล ศาลไม่ตัดสิน เพราะตัดสินก็ไม่ยุติความขัดแย้ง    
              จุดอ่อนด้านวิชาการคือ นิติศาสตร์เรียนเทคโนโลยี เพื่อไปเป็นทนาย เป็นผู้พิพากษา      ไม่ได้เรียนเพื่อความเป็นมนุษย์    

อธิการบดี ศ.ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ
             ม. มหิดล ตั้งศูนย์ศึกษาสันติวิธี     และเชิญ ดร. โคทม อารียา จากจุฬาฯ มาเป็นผู้อำนวยการ    เข้าไปภาคใต้ ใช้หลัก เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา     เพื่อสันติสุข     ไม่ใช่แค่เพื่อภาคใต้ แต่ใช้ได้ทั้งประเทศ    

ดร. โคทม อารียา
            เรื่องสำคัญที่ควรดำเนินการสำหรับ ๓ จังหวัดภาคใต้คือ สมานฉันท์ชุมชน     และกระจายอำนาจทางการศึกษา    
    
            ดร. กิตติพงษ์ เล่าเพิ่มว่า  มีศูนย์ยุติธรรมชุมชนกว่า ๑๐๐ แห่ง  ที่ชาวบ้านตั้งเอง  และใช้ KM  เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          เป็นการนำเอาเรื่องสร้างสรรค์แก่บ้านเมืองมา ลปรร. กัน     หาลู่ทางส่งเสริมให้ ม. มหิดล ทำงานวิชาการสร้างสรค์สังคม   

วิจารณ์ พานิช
๒๐ ส.ค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 124676เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

งานนี้น่าสนใจมากครับ  สอดคล้องกับงานผมอย่างยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท