ปรัชญาแนวเศรษฐกิจพอเพียงของอาจารย์ณรงค์ ทองแท้


วันที่ 31 สิงหาคม 2550 เป็นวันศุกร์แห่งชาติ เป็นวันสิ้นเดือนแต่มีภาระกิจที่ต้องปฏิบัติมากมาย เริ่มตั้งแต่ 09.00 น. ได้ต้อนรับคณะติดตามประเมินผลโครงการอยู่ดีมีสุขของสำนักงบประมาณกระทรวงมหาดไทย ณ หมู่ที่ 3 ต.ท่าเคย เป็นโครงการส่งเสริมการปลูกข้าว พอช่วงบ่ายก็เข้าติดตาม ณ หมู่ที่ 10 ต.ท่าเคย โครงการปลูกพืชผักรั้วกินได้ สาเหตุที่ต้องรอเพราะเป็นบุคคลเป้าหมายเดียวกันที่จะต้องเดินทางไปทัศนศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.หนองไทร ของอาจารย์ณรงค์ ไปถึงศูนย์ฯ ก็เป็นเวลา 14.00 น. ช้านิดหน่อยแต่ก็ดีกว่าไม่ได้ไป มีสมาชิกศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของต.ท่าเคย จำนวน 15 คนที่ได้ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการนำทีมโดยคุณธวัช วรรณดี ส่วนผู้ติดตามก็มีคุณวิลาวัลย์ ศรีภักดี และตัวข้าพเจ้าเอง

เมื่อไปถีงได้รับการต้อนรับจากคุณศิรินทร์ ชูมาก เกษตรตำบลหนองไทร อาจารย์ณรงค์ ทองแท้ เจ้าของศูนย์ฯ คุณอัมพิกา สุขเกิด เจ้าหน้าที่ธุรการ และคุณมยุเรศ ทองสุข นสว. อ.พุนพิน เริ่มอาจารย์ณรงค์ก็เล่าประสบการณ์การทำงานหลังจากลาออกราชการครูก็ยึดหลักปรัชญาแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ปลูกทุกอย่างที่กินได้ กินได้ทุกอย่างที่ปลูก บริเวณบ้านเป็นที่ร่มรื่นมากอยู่ติดกับแม่น้ำพุมดวงสายใหญ่ มีศาลาพักผ่อนจำนวน 3 หลัง ปลูกต้นไม้เป็นพวกโกสน ไผ่ หลายต้น จากการสังเกตุรู้สึกว่าท่านจะชอบต้นไม้จำพวกใบใหญ่ หลังจากนั้นก็ลงแปลงในแปลงจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น

  • เลี้ยงกบ แต่ตอนนี้เหลือพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์เท่านั้น
  • ปลาดุกในบ่อซีเมนต์ จำนวน 1,400 ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่
  • ส้มแขก ยังไม่ออกผลให้เห็น
  • สละ มีเกือบจะทุกสายพันธุ์ เช่นสละอินโด สละอาทิตย์ ท่านได้แนะนำถึงวิธีการแต่งหน่อ การผสมพันธุ์
  • ผักหวาน เป็นพืชที่ทำรายได้ในแปลงนี้มากที่สุด ท่านได้แนะนำการเตรียมพื้นที่ การเตรียมดิน การเตรียมพันธุ์ การตัดเพื่อขาย การแต่งกิ่ง
  • มังคุด แม่บ้านท่านจะเก็บเปลือกตากไว้เพื่อทำเครื่องสำอางค์
  • ต้นองุ่น ตอนนี้ยังไม่ให้ผล ท่านแนะนำถ้าไม่จำเป็นอย่าไปทานมากตัวนี้ เพราะยาทั้งนั้นถึงแม้ว่าจะล้างก็ไม่ปลอดภัย
  • ผักที่ปลูกไว้ทานรอบๆ บริเวณบ้านอย่างเช่น พริก ตำลึง ผักกูด กล้วย ส้มโอ กระท้อน
  • เห็ดฟางตะกร้า ได้ผลดี ต้องทำเองเนื่องจากต้องควบคุมอุณหภุมิ ไม่สามารถจ้างแรงงานได้
  • เห็ดนางฟ้า ก็มีแต่ไม่ได้ชม

หลังจากนั้นก็มานั่งสรุปผลจากการที่ได้ชมแปลง พอสรุปได้ว่าทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดิน และน้ำ รวมถึงอาหารเสริมที่ได้รับต้องใส่ถูกสูตร ศูนย์ฯ นี้มีสภาพเหมาะเนื่องจากเป็นดินร่วนปนทราย และอยู่ใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เลยหมดปัญหาเรื่องน้ำ สำหรับอำเภอท่าฉางส่วนมากจะอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ดินเป็นดินเหนียว ไม่สามารถทำกิจกรรมได้มากเหมือนของอาจารย์ณรงค์

นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังเพราะชอบมาก บรรยากาศก็ดี ฝันเหมือนกันแต่ต้องขยันเพราะท่านบอกว่า 10 ปี กับการทำตรงนี้ ก็ต้องชื่นชมท่านเป็นคนขยันมากๆ คนหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 124575เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

* สวัสดีครับน้องกัก

* เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ตอบสนองต่อความเป็นอยู่ในระดับรากหญ้าทั้งสิ้น

* ฉะนั้นในฐานะนักส่งเสริมควรมีคำถามอยู่ในใจได้แล้วว่า ... ทำอย่างไรที่จะทำให้ชุมชนทุกครัวเรือนหันมาเห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

  • ช่างเป็นวิถีชีวิตที่น่าอิจฉายิ่งนัก แต่ต้องขยันพอสมควรครับ
  • แถวนั้นน้ำท่วมมั๊ยครับ ?
  • เปลี่ยนสวนยางมาเป็นสวนพ่อเฒ่า (สวนผสม)กันเถอะ
  • หวัดดีคับคุณกั๊ก
  • ถึงไม่ได้อยู่ที่จังหวัดก็ได้ติดตามความเคลื่อนไหว
  • ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ
  • ตอบคุณเธียรชัย พิชัยรัตน์  ไม่เหมือนกันทุกคนหรอก เราไม่สามารถเปลี่ยนความคิดของเกษตรกรได้ทุกคนหรอกค่ะ นอกจากเราทำให้เห็นเป็นตัวอย่างก็เป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ทั้งหมด ทุกคนต้องการความสะดวกสะบายกันทั้งนั้น
  • ตอบคุณธีรกร ทัศนธีรา ปีก่อนๆ น่าจะท่วม แต่ตอนนี้คงไม่มีแล้วล่ะ น้ำน้อยลงทุกวัน
  • ขอบคุณพี่ชัยพร [หนุ่มร้อยเกาะ] ที่ให้มีตรงนี้ แล้วเป็นอย่างไรบ้าง สะบายดีหรือเปล่า หนาวไหม กินอิ่มหรือปล่าว สนุกกับอบรมหรือไม่ (หวานไปหรือปล่าวเนี้ย)

 

สวัสดีน้องจิตรลดา  ตั้งใจมาแวะเยี่ยมครับ ขอบคุณมากครับที่บันทึกความรู้ดีฯฯมาแบ่งปันครับ

ผมเอาไปประชาสัมพันธ์ต่อ ให้นะครับ

http://www.facebook.com/pages/raks-kar-thxng-theiyw-doy-chumchn-Community-Base-Travel/130150570331448?v=wall

สวัสดีคับ น้องกอฟ คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท