เปิดชมรม "เต้าเต๋อซิ่นซี" ที่สวนจตุจักร


ถ้าหากผมต้องการจะเข้าใจเต๋า ผมต้องเอา "เต๋าในความคิด" ของผม ออกไปให้หมดก่อน หากผมต้องการจะพบเต๋า ผมจะต้อง "เลิกตามหา" เต๋า นี่แหละครับสิ่งที่ท่านเล่าจื้อสอนให้เรา "ทวนวิถี" สอนว่าถ้าอยากได้ ก็ต้องให้ ถ้าอยากขึ้น ก็ต้องรู้จักลง

     ในที่สุดจุดรำมวย "เต้าเต๋อ" ที่สวนจตุจักรก็สามารถรวมตัวกันเป็นชมรม และได้ทำพิธีเปิดชมรมอย่างเป็นทางการไปเมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมานี้ ท่านอาจารย์จ้าวเหมี่ยวกว่อ ผู้คิดค้นเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซีได้กรุณาให้เกียรติมาเปิดงาน และกล่าวอำนวยพรแก่ผู้ร่วมงานทุกคน

    

     ในงานนี้ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่มาร่วมงาน สิ่งที่ผมสื่อกับทุกคนก็คือ ถึงแม้ผมจะรู้จักเต้าเต๋อซิ่นซีแค่ไม่ถึงปี แต่ผมเองสนใจในปรัชญาเต๋าของท่านเล่าจื้อมาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้จากหนังสือต่างๆ . . . เรียกว่าเป็นการเดินทางหา "เต๋า" ผ่านความเข้าใจ . . . ใช้ความคิดเป็นหลัก
 
     หลังจากที่ได้มารู้จักเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซีที่สวนจตุจักร และได้ไปฝึกปฏิบัติที่ศูนย์ที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี สองครั้ง ทำให้ผมได้ความกระจ่างอย่างหนึ่งว่า ถ้าหากผมต้องการจะเข้าใจเต๋า ผมต้องเอา "เต๋าในความคิด" ของผม ออกไปให้หมดก่อน หากผมต้องการจะพบเต๋า ผมจะต้อง "เลิกตามหา" เต๋า นี่แหละครับสิ่งที่ท่านเล่าจื้อสอนให้เรา "ทวนวิถี" สอนว่าถ้าอยากได้ ก็ต้องให้ ถ้าอยากขึ้น ก็ต้องรู้จักลง

     ใครที่สนใจต้องการอ่านรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติม ผมได้นำบทความที่ได้จากการถอดเทปการบรรยายในงานจุฬาวิชาการ '48 ที่คณะครุศาสตร์ ไว้ ตรงนี่ ครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12445เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2006 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เมื่อครั้งงาน"มหกรรมจัดการความรู้" ดิฉันมีโอกาสได้พบกับอาจารย์อาวรณ์  โอภาสพัฒนกิจ แห่งงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของ สกว. อาจารย์หล้าเข้าฟังอาจารย์ประพนธ์ ที่ห้องราชการ แล้วอาจารย์มาคุยให้ฟังด้วยความสงสัยว่า "ทำไมอาจารย์ประพนธ์ ยิ่งเห็น ยิ่งดูผ่อง(ในความหมายคือหน้าอาจารย์ดูแล้วผ่องใสมากๆๆ) อาจารย์ดูหน้าใสมากเวลาขึ้นเวทียิ่งเห็นได้ชัด ดิฉันก็เห็นด้วยกับอาจารย์หล้า

เลยเพิ่งจะรู้ความลับของอาจารย์ ว่า ฝึก เต๋าตี้ชิน แล้วอาจารย์ดูหนุ่มขึ้นนี่เอง...................

ผมฟังมาคร่าวๆจากคนรูจักแล้วพอได้ใจความมานิดหน่อยว่า ไอ้พลังที่เค้าได้มาจากการฝึกเหล่านี้มันคือพลังคลื่นครับ ซึ่งเป็นพลังที่ยังไม่สามารถตรวจวัดได้แน่นอน พลังคลื่นเลห่านี้จะส่งผลต่อร่างกายของคนเราได้หรือแม่แต่ส่งต่อให้กับคนอื่นก็ได้เช่นกัน ในขณะนี้นักวิชาการหลายกลุ่มกำลังเคลื่นไหวต่อสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างเยอะแต่คนอย่างเราๆคงจะไม่ค่อยรู้กัน ท่านเหล่านั้นพยายามเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อโบราณที่มีมานานให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทุกอย่างที่คนทำย่อมมีเหตุผลครับ ผมอาจจะไม่ค่อยได้ค้นคว้าข้อมูลด้านนี้จริงๆจรังๆ แต่เชื่อผมครับ อีกไม่เกิน15ปี คุณจะได้เห็นอะไรใหม่ๆทางการแพทย์อีกเยอะครับ

"มีเหมือนไม่มี ถึงไม่มีแต่ก็มี"

"คิดถึงจนคิดไม่ถึงว่าคิดถึง คิดไม่ถึงว่าคิดถึงแต่คิดถึง"

บ้างทีเขียนก็ดี พูดก็ดี ทำให้งง แต่มันก็เป็นแค่คำใช้แทนความหมาย เท่านั้นเอง

ขอบคุณ คุณอุทัย ครับสำหรับข้อความที่ทำให้ "ต้องคิด" ...แต่แล้วก็นึกได้ว่า "ต้องไม่คิด" ...ขอบคุณครับ

การที่เราไม่สบายนี่ไม่ดีเลย เนอะ เพื่อนที่เคยมีก็เหมือนไม่มี มีเพียงครอบครัวที่น่ารัก และคนที่รู้ใจทคอยดูแล ในยามที่ท้อแท้ เหนื่อยก็ยังมีคนที่เรารักและเค้าก็รักเราแค่นี้ก็คงเพียงพอ
โรคแปลกๆๆ เกิดขึ้นมากมาย แล้วเราเป็นอารัยเนี่ยSL โรคภูมิแพ้ลงข้อ ทางฝั่งยุโรป เท่ห์ซะไม่มี รักษายากซะด้วยสิ แต่ก็ดีแล้วแหละ ป่วยซะบ้างจะได้เจอประสบการณ์ชีวิต ได้เข้าถึงธรรมะมากขึ้น นั่งสมาธิมากขึ้น เข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้น ได้ไปนั่งสมาธิที่เต้าเต๋อซิ่นซีสากลที่ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี เหมือนเข้าไปอีกโลกหนึ่งที่มีแต่ความรัก ควมห่วงใย ให้กัน หนีจากสังคมที่ยุ่งเหยิง วุ่นวาย มีแต่ความเห็นแก่ตัว ชีวิตมีความสุขมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บค่อยๆๆสลายหายไปเหลือเพียงความสุขกายสุขใจ ในใจคิดเพียงอยากจะช่วยเหลือสังคม เป็นคนดี อืม ช่างรู้สึกดีอะไรเช่นนี้สิ่งเลวร้ายต่างๆกำลังสลายหายไป เปลี่ยนเป็นปลายฝนคนใหม่ที่ไม่คิดมาก มีความสุขร่าเริง และผลพลอยได้คือ สุขภาพที่ดีขึ้น น้ำหนักที่ลดลง อยากจะเชิญชวนพี่ๆรู้จักเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซีด้วยกัน

"....เมื่อคนทั่วหล้าทราบดีว่า อย่างไรคือความงาม
ครั้นความอัปลักษณ์ก็อุบัติขึ้น
คนทั่วหล้าต่างทราบดีว่า อย่างไรคือความดี
ก็เพราะมีความชั่วดำรงอยู่
"มี" กับ "ไม่มี" คือสองสิ่งตรงกันข้ามที่ก่อเกิดซึ่งกันและกัน
"ยาก" กับ "ง่าย" ประกอบขึ้นจากส่องสิ่งตรงกันข้าม
"สูง" กับ "ต่ำ" คือสองสิ่งตรงกันข้ามที่ดำรงคงอยู่
"เสียงร้อง" กับ "เสียงสะท้อน" คือสองสิ่งตรงกันข้ามและปรากฎให้เห็นเป็นลำดับ
เหล่านี้เป็นอมตะ
ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาเมธียึดกุมกฎเกณฑ์เหล่านี้ไว้
ทำให้การอบรมศึกษาศึกษากลายเป็นเรื่องมุมานะปฏิบัติด้วยตนเองอันเป็นพลัง
แบบอย่างที่ไร้วาจา
คล้อยตามธรรมชาติ
ปล่อยสรรพสิ่งเจริญพัฒนาตามสัญชาตญาณธรรมชาติโดยไม่ก้าวก่าย
ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งโดยไม่ครองครองเป็นส่วนตน
ช่วยเหลือเอื้อสรรพสิ่งเต็มกำลัง โดยไม่คิดหวังผลตอบแทน
เมื่อภารกิจสัมฤทธิ์ผล ไม่แสดงตนเป็นเจ้าของ
ด้วยเหตุมีเกียรติคุณ ไม่ถือครอง
ดังนั้นเกียรติและเกียรติคุณท่านจึงไม่สูญสลาย...."

จากคัมภีร์เต้าเต๋อจิง(ฉบับประยุกต์ใช้)บทที่2

อยากได้เพลงจีนค่ะ

ทุ่งสิ่ง เกิดขึ้นจาก ธรรมชาติ และดับลง ก็เกิดจากธรรมชาติ ธรรมชาติสร้างความสมดุลกันและกัน ธรรมชาติเหมือนความว่าง ความว่างนั้นคือพุทธะ พุทธะ คือ จิต จิต ก็คือใจ เราจะรักษาใจอย่างไร เพื่อดำรงค์อยู่แห่งกฏของธรรมชาติ เดินตามรอยวิถีแห่งเต๋า เรามีความศรัทธา ความศรัทธาจึงให้เราเดินตามรอยแห่งเต๋า เมื่อเรามีครามศรัทธาแล้วจริงเกิดความเชื่อมั่นแห่งเต๋า และสิ่งที่ผลได้รับจากธรรมชาติ จงอย่าสงสัย ทุกอย่างเป็นการประความสมดุลของธรรมชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท