GotoKnow

นักข่าวจำเป็น (2)

น.ส. หทัย เหมทานนท์
เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2549 10:11 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:19 น. ()
นักวิจัย

ในวันศุกร์ที่ 13 ม.ค.49 เวลาประมาณ 13.00 น. เป็นโอกาสดีที่หนู KM ได้เดินทางไปในตัวเมืองนครศรีฯ ร่วมกับทีมวิจัยพื้นที่นครศรีธรรมราช (อ.หญิง) หนู KM ก็เลยถือโอกาสช่วงเวลาที่อยู่ในรถตู้ถามความคิดเห็นของอาจารย์ในฐานะที่เป็นนักวิจัยว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ ซึ่งบรรยากาศในการพูดคุยก็คุยแบบเป็นกันเองเป็นการเล่าสู่กันฟังมากกว่าเป็นการสัมภาษณ์ แต่ก็ได้เนื้อหาที่ครบถ้วนกระบวนความ

ในความรู้สึกของอาจารย์ต่อโครงการนี้ก็คือเป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ต่อชุมชน และตอนนี้ตัวนักวิจัยเองก็พยายามถอยบทบาทจากผู้นำมาเป็นผู้สังเกตการณ์ว่าเครือข่ายมีแกนนำในการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนได้หรือเปล่า ให้แกนนำในเครือข่ายมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งในตัวแกนนำเครือข่ายเองบางคนก็ทำบทบาทได้ดี แต่ก็มีบางคนที่ยังนั่งเงียบ ไม่แน่ใจว่าเวลาลงระดับหมู่บ้านแล้วจะได้ผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือเปล่า

ส่วนการลงพื้นที่แต่ละครั้ง คณะกรรมการเครือข่ายก็ให้การความร่วมมือเป็นอย่างดี

การทำงานวิจัยนี้ เป็นการทำงานในชุมชนก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรกับภาระงานหลัก (การสอนหนังสือ) เพราะว่าการลงพื้นที่ส่วนใหญ่ก็ลงในวันเสาร์ ซึ่งก็ไม่ตรงกับวันที่สอนก็ไม่ส่งผลกระทบต่อภาระกิจหลัก

ตอนนี้ตนเองทำเรื่อง KM อยู่ ตนเองก็ไม่ใจว่าสิ่งที่ตนเองรู้ใช่ KM หรือเปล่า

สิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นในการทำงานโครงการนี้ ก็คือ

  1. รู้ว่างานชุมชนเกี่ยวข้องกันหลายฝ่าย ชุมชนไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว มีหน่วยงานต่าง ๆ ลงไปมากมาย ซึ่งหน่วยงานที่ลงไปก็มีความรู้เฉพาะด้าน ปัญหาจริง ๆ ก็คือจะทำอย่างไรคนในชุมชนจะดึงเอาความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
  2. ก่อนลงไปในชุมชน ตนเองได้ประเมินชุมชนต่ำไป ว่าชุมชนคงจะทำไม่ได้ แต่พอได้ลงไปร่วมทำงานด้วย ก็ทำให้รู้ว่าเขาเก่งกว่าที่เราคิดเอาไว้มาก ชาวบ้านก็จะตื่นเต้นกับการที่ได้ไปอบรม ได้ฟังวิทยากรเก่ง ๆ นอกเหนือจากคนที่เห็นอยู่เป็นประจำ ได้ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ เมื่อไปดูงานแล้วกลับมาชาวบ้านก็ได้พิสูจน์ให้เห็ว่าเขาได้นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับชุมชนของตนเอง เช่น การไปดูงานสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน จ.สงขลา ของ ดร.ครูชบ ยอดแก้ว เมื่อกลับมาจากดูงาน คณะกรรมการเครือข่ายก็ได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังก็เกิดกองทุนสวัสดิการลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน ตำบลกะหรอ

สิ่งที่ตัวเองได้เรียนรู้ก็คือ

  1. รู้จักองค์กรการเงินในชุมชนมากขึ้น เช่น จากหนังสือที่อ่าน เอกสารที่ได้รับ หรือบทบาทที่ส่งทาง Internet
  2. เรื่อง KM เดิมตนเองจะไม่สนใจ แต่เดี๋ยวนี้เวลาตนเองเข้าห้องสมุดจะสนใจเรื่อง KM มาขึ้น และนำมาใช้ในห้องเรียน เช่น ให้เด็กนักศึกษาเล่าเรื่องประทับใจ และเอากระบวนการที่ได้ลองใช้กับนักศึกษา
  3. เริ่มคิดกว้างขึ้น ว่าจะนำเด็กที่มีความรู้ความสามารถหลาย ๆ อย่างลงไปทำงานในชุมชนได้อย่างไร คือนำงานที่เราทำปัจจุบันมาบูรณาการร่วมกับการทำงานวิจัยนี้ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะบางครั้งอาจจะลืม แต่วันที่ 7 ก.พ.49 นี้ จะพานักศึกษาไปดูงานที่ อ่างทอง ซึ่งจะดูผลการทำงานของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านที่ตั้งด้วยความสมัครใจของชาวบ้าน ว่าจะแตกต่างอย่างไรกับกองทุนหมู่บ้านที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้ตั้ง

ปัญหาอุปสรรค์ที่พบก็คือ

  1. แผนงานที่เราวางไว้ไม่เป็นไปตามที่เราคิด ต้องปรับแก้อยู่เสมอ
  2. การบันทึก ตอนนี้ก็ยังเป็นปัญหาอยู่เพราะว่ามีคนจดบันทึกแต่ยังขาดการสังเคราะห์ที่ถูกต้อง เพราะว่าเมื่อตอนส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ก็ยังหนักใจอยู่
  3. ปัญหาด้านสภาพดินฟ้าอากาศ เพราะว่าช่วงเดือน พ.ย. – ธ.ค. 49 น้ำท่วม ทำให้การขยับงานได้ไม่เต็มที่ ต้องหยุดชะงัก
  4. การดิวงานกับชุมชนและหน่วยงาน เวลาไปพูดคุย ไม่ได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ก็คงจะต้องฝึกฝนต่อไป

คณะกรรมการเครือข่าย มาช่วงหลังนี้รู้สึกว่าจะมีการปรับตัว และให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังขาดบางหมู่ เช่น หมู่ 3 คิดว่าการทำงานทุกอย่างต้องมีปัญหาด้านตัวบุคคล แต่ทุกคนก็มีข้อดีในตัวเองอยู่ เราจะต้องพยายามดึงข้อดีของแต่ละคนออกมาใช้ให้ได้

การทำงานร่วมกับชุมชนนี้ก็มีบุคคลที่ประทับใจหลายคน ได้แก่

ม.1 พี่สมรักษ์ จะเป็นคนที่ทำงานตามแผน เก็บประเด็นได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในแต่ละกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนรู้กัน หยิบเอาข้อดีของบุคคลมาใช้

ม.2 ไม่ค่อยมีคนโดดเด่น ขาดประชุมบ่อย ประธานทำงานเองทุกอย่าง

ม.3 พี่สมศักดิ์ ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ของโครงการชัดเจนนักว่าโครงการต้องการอะไร แต่จะมองชุมชนรอบข้างมากกว่าว่าเขาเดินไปถึงไหนแล้ว พยายามจะผลักดันให้ชุมชนของตนเองไปสู่ระดับอำเภอ

ม.4 พี่นาถ ยังไม่โดดเด่นเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะยังอายุน้อย อ่อนประสบการณ์ แต่ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ม.5 ลุงแก้ว คุณอนัน ยังรวมใจคนไม่ได้ แต่มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่กันทำ ให้ทุกคนมีโอกาสได้ทำงาน

ม.6 พี่ไพรัตน์ ตั้งแต่กลับจากลำปาง ก็รู้สึกว่าจะถอยตัวออกไป แต่ก็มีผู้ใหญ่บ้านที่เป็นแกนนำของชุมชน จะมอบหมายหน้าที่ชัดเจน มีการวางแผนได้ดี ว่าใครจะทำอะไร

ม.7 ลุงประจบ ตอนนี้รู้สึกว่า ม.7 กำลังรักษาระยะ นั่งมองดูเครือข่ายว่ากำลังทำอะไรอยู่ แต่ถ้ามีการนัดประชุมก็มาครบทุกครั้ง ถือว่ายังให้ความร่วมมือด้วยดี

ม.8 พี่พัชรี จะโดดเด่นเกินไป ควรจะทิ้งระยะ เพื่อขอความคิดเห็นจากตัวสมาชิกบ้าง ต้องยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น โดยบุคลิกส่วนตัวเป็นคนเก่ง มีความรับผิดชอบสูง มีความสนใจใฝ่รู้ ถ้าจะเปรียบเป็นกองทัพทหาร คุณพัชรี น่าจะวางตัวเป็น เสนาธิการ เป็นผู้วางแผนของกองทัพ แต่ไม่ใช่เป็นคนนำทัพ เพราะคนจะนำทัพได้ต้องได้ใจของทหารทุกหมู่เหล่า

ม.9 พี่พรประสิทธิ์ หมู่นี้เป็นคนรุ่นใหม่ ไม่ค่อยพูดแต่มีบาทบาทเด่นในหมู่บ้าน มีอะไร ๆ ดี ๆ ที่จะนำเสนอให้คนอื่นทราบ แต่ยังขาดเวทีสำหรับเขาอยู่

ส่วนแผนการต่อไป ทางทีมวิจัยได้วางแผนเอาไว้แล้ว ก็คือ ให้เครือข่ายเป็นคนขับเคลื่อน เพราะว่าได้ตั้งวัตถุประสงค์ของเครือข่ายไว้แล้วก็คือ กองทุนสวัสดิการ สถาบันการเงินชุมชน จะลงสู่ระดับกลุ่มระดับสมาชิก ซึ่งจะให้แกนนำเป็นตัวนำในการลงพื้นที่ จะมีการอบรมการเป็นคุณอำนวยในชุมชน จะมีการเริ่มประชุมในหมู่บ้าน ประมาณ 3 ครั้ง ใช้ระยะเวลา ประมาณ 3 เดือน ได้วางแผนไว้คร่าว ๆ ซึ่งจะหาบุคคลที่เด่น ๆ มาสร้างเป็นคุณอำนวยระดับสมาชิก อาจจะทำพร้อมกันไป เพราะว่าได้วางแผนไว้แต่ต้นเรื่องแล้ว เช่นเรื่อง สุขภาพ อาชีพเสริม บัญชีรับจ่ายครัวเรือน ซึ่งจะร่วมกันทำ ARR นอกสถานที่ แต่ก่อนที่เราจะเริ่มทำ ARR ทีมก็จะทำ ARR รอบ 6 เดือน เสียก่อน เพื่อดูความก้าวหน้าของโครงการฯ จะเป็นการวางแผนในชุมชน จะเริ่มพร้อมกับการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการแกนนำเครือข่ายแกนนำชุมชน และจะนัดหารือในวันพฤหัสบดีที่ 19 ม.ค.49 อีกครั้งหนึ่ง

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด “งานชุมชนเป็นงานที่ยาก ต้องปรับตัวสูง มีความยืดหยุ่นสูงต่อเรื่อง เราต้องวางแผนไปเรื่อย ๆ อย่าไปเครียดกับมันมากนัก งานชุมชนเป็นงานที่ไหลลื่น มันดิ้นได้อยู่ตลอดเวลา (เคลื่อนไหวตลอด) ต้องยึดมั่นตนเองไว้ เป็นงานที่ต้องการพลัง (คนชุมชน) หากให้ยืดยาว ต่อเนื่อง อยู่กับชุมชนตลอดไป คนในชุมชนต้องเป็นตัวหลัก คนอื่นเป็นตัวประกอบหรือตัวเสริมจะที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน

หนู KM ก็ขอเป็นกำลังให้อาจารย์ทำงานชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ งานทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีปัญหาอุปสรรค์บ้างเป็นธรรมดา สู้ต่อไปนะคะ อย่ายอมแพ้


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย