จะพัฒนาคุณภาพไปเพื่ออะไร


"คือการพยายามทุกวิธีทางที่จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย หรือ negative impact (ไม่ใช่ลดความเสียหาย) ต้องลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นกับประชาชนผู้รับบริการ และตัวเราที่เป็นผู้ให้บริการ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือยอมรับได้ หรือพอใจร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย"

     เรื่องนี้เกิดจากการจุดประกายของคุณวราภรณ์ ที่ขอคำแนะนำผ่านมาทาง E-mail (ผมอยากให้เรียกว่าขอ ลปรร.มากกว่า) ประเด็น “หากเราจะทำวิจัยเรื่องปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน โดยใช้กรอบของ 7S ไม่ทราบว่า มีความเห็นว่าอย่างไรคะ”

     ผมก็ตอบไปในครั้งแรกว่า  ผมเห็นเมล์คุณลงท้ายด้วย ha.or.th แล้วตกใจครับ แต่ไม่เป็นไร จากนั้นก็ลองค้น Thesis รุ่นพี่ดู แต่ไม่พบ ก็เลยส่งข้อความนี้ไปว่าเป็น วิทยานิพนธ์ วท.ม.(การวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข) "องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพโรงพยบาลเชียงรายประชานุเคราะห์" มอ. ปี 2545 ผู้วิจัยชื่อพี่หน่อง (พี่ยุรดีฯ รพ.จิตเวชสงขลา) อันนี้พอจะหาได้ไหมครับ ลองดูก่อนนะพอดีผมยังหาไม่เจอ อาจารย์หมออนุวัฒน์ ผอ.พรพ. เป็นที่ปรึกษาด้วย น่าจะมีสักเล่มที่อาจารย์ เพื่อจะดูปัจจัยความสำเร็จจากองค์ประกอบที่พี่เขาเจอแล้วครับ

     ส่วนประเด็นคำถามที่ถามผมมานั้น เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง แต่อย่าลืมว่าเราเป็นตะวันออก ต้องใช้ Soft Elements และ Hard Elements เข้ามาจับดี ๆ ด้วย เรื่องนี้เคยบันทึกไว้ที่ 7-S Model : ความอ่อนและแข็งในการบริหารจัดการ และ 7-S Model ลองดูนะผมได้ทำ Link ต่อที่จะสืบค้นไว้แล้วด้วย อาจจะมีประโยชน์บ้าง สักครู่หนึ่งผมก็ได้รับเมล์ตอบกลับมาว่า “อ่านไม่ได้” ผมตัดสินใจส่งให้ใหม่ทาง hotmail และเขียนเป็นบันทึกไว้ด้วย เพื่อจะได้เข้ามา ลปรร.กันต่อไป

     จากการที่ผมได้ติดตามอ่าน Blog คุณวราภรณ์มาโดยตลอดก็จะเห็นประเด็นหลาย ๆ ประเด็น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด succes ซึ่งอาจจะไม่อยู่ใน ทฤษฏีโดยตรง เพราะเราคือคนไทยย่อมมีอัตตลักษณ์ของเราเอง แล้วยังปลีกย่อยลงไปในแต่ละพื้นที่อีก 3C ในการพัฒนาคุณภาพ C ตัวแรก คือบริบทจึงไม่น่าจะตรงกับทฤษฎีมากนัก ส่วนนี้แนะนำให้ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาสนับสนุนด้วย หากจะใช้การวิจัยเชิงปริมาณในการวิจัยครั้งนี้

     ผมมีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พี่ที่รับผิดชอบงานพัฒนาคุณภาพ สสจ.พัทลุง ถามผมว่า "เรา (หน่วยบริการ) จะพัฒนาคุณภาพไปทำไม" ในการสนทนากันอย่างไม่เป็นทางการในห้องทำงาน ซึ่งจะมีการ ลปรร.กั นบ่อย ๆ แบบนี้ ผมตอบในทันทีว่า สำหรับผมแล้ว "คือการพยายามทุกวิธีทางที่จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย หรือ negative impact (ไม่ใช่ลดความเสียหาย) ต้องลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นกับประชาชนผู้รับบริการ และตัวเราที่เป็นผู้ให้บริการ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือยอมรับได้ หรือพอใจร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย" อยากจะได้ร่วม ลปรร.ด้วยว่าคำตอบผมยังไม่ครอบคลุมข้อเท็จจริงใช่ไหมครับ ขาดอะไรอีกบ้างช่วยเติมให้ด้วยนะครับ

    แต่ที่ผมติดใจมากก็คือ พี่เขา (เดิมอยู่ รพช. เพิ่งย้ายขึ้นมาอยู่ที่ สสจ.) เล่าว่าแต่ จนท.ส่วนใหญ่ที่สัมผัสและรับมาได้ จะคิดว่า "ทำเพื่อให้ผ่านมาตรฐาน", "เป็นนโยบาย" ตรงนี้แหละผมว่ายัง succes ยาก ประเด็นนี้อยู่ในค่านิยมร่วมของ 7 s model และเป็นส่วนที่ "อุ่นและอ่อน" หรือ Soft Elements และเป็นส่วนที่ผู้บริหารในแต่ละระดับต้องรับผิดชอบครับ ตามสไตล์การบริหาร

    เอาเท่านี้ก่อนนะสำหรับวันนี้ ผมชอบให้มีการเปิดประเด็นครับ เพราะบางทีความคิด+เรื่องเล่าก็ไม่ออกมา หากไม่ได้ถูกกระตุ้นอย่างกรณีเมล์ฉบับนี้

     ปล. ผมได้ invite ให้ใช้ Gmail จะได้ไม่มีปัญหาในการอ่าน และรับไฟล์ใหญ่ ๆ ได้ความจุ 2Gb ครับ ลองสมัครใช้คู่ ๆ กันไปด้วยซิครับ

หมายเลขบันทึก: 12323เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2006 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ขอ Gmail ด้วยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะพี่

อยากอิชวนเขา  เข้ามาร่วมใน  "ชุมชนคนอำนวย KM"  http://kmfaci.gotoknow.org/

ไม่รู้ว่าขอเกินไปม่าย?

อย่าลืมสมัครเข้าเป็นพรรคพวก  ในชุมชนนี้ด้วยนะครับ

     ด้วยความยินดีครับ ผมสมัครเป็นสมาชิกไปแล้วครับ
กำลังอ่านมันส์เลยค่ะ...แต่ทำไมจบอย่างนี้ล่ะคะ..."ทำให้อยากแล้วจากไป...."...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท