จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

คุยกับนักศึกษาเมื่อวานนี้


เมื่อวาน คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์มีงานสำคัญงานหนึ่งของเทอมนี้ครับ คือวันครอบครัวคณะศิลปฯ อาจถือได้ว่าเป็นการรวมนักศึกษาทั้งคณะครั้งแรกของเทอมนี้ครับ จริงๆ ผมลืมรายการนี้ไปแล้วครับ ตะงิดๆ ตั้งแต่เช้าว่า ลืมอะไรสักอย่าง เมื่อสอนเสร็จตอนสี่โมงเช้า ก็กำลังจะไม่ทำกิจกรรมอย่างอื่นแล้วครับ ดีที่เจอท่านคณบดี แล้วท่านบอกว่าจะรีบไปเปิดงานที่หอประชุมวันมูหัมมัดนอร์ฯ ผมเลยนึกได้ ตามท่านไป (แหะ แหะ เป็นลูกน้องที่ดีครับ ไปถึงหลังเจ้านายเปิดงาน)

นั่งร่วมรายการสักพักหนึ่ง ก็เกิดอาการสงสัย แอะ งานนี้ฉันต้องขึ้นพูดด้วยหรือเปล่า จึงเหลี่ยวไปถามท่านอาจารย์คอเหล็ด ท่านเลยตอบว่า เดี่ยวก็เราขึ้นไปพูดพร้อมกัน (ฮา คราวนี้นึกออกแล้ว มีเคยเห็นหนังสือเชิญ)

ฟังท่านคณบดีเล่าความสำเร็จของคณะให้นักศึกษาฟัง ครั้งนี้ท่านพูดให้นักศึกษาได้มีเจตรนาที่ดีในการศึกษา และต้องมีความมุ่งมั่น

เมื่อถึงคราวที่ผมจะพูด จริงๆ ตั้งจะพูดเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของนักศึกษา แต่คิดว่าเวลาไม่น่าจะพอให้พูดยาวๆ จึงไปเปลี่ยนสดๆ บนเวที (ตอนเตรียมจะพูดนั้นอยู่ล่างเวที สรุปว่า ตัดสินใจ แล้วก็เปลี่ยนกันฉับพลันทันที)

สิ่งที่ได้พูดไป เป็นเรื่องต่อเนื่องจากความสำเร็จที่ท่านคณบดีได้พูด ซึ่งผมคุยไปว่า การที่นักศึกษาของคณะไปแข่งขันรายการต่างๆ แล้วได้ที่สองที่สาม เป็นรองเพียงบางมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้หมายถึงเป็นความสำเร็จหรือความเก่งกาจของใครคนใดคนหนึ่ง และเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เพียงแค่คนเก่งเท่านั้นที่มีความสำคัญในห้องเรียน หรือเป็นที่เอาอกเอาใจของอาจารย์ แต่นักศึกษาทุกคนมีความสำคัญ และการที่เพื่อนคนหนึ่งเรียนเก่ง ก็เพราะเพื่อนๆ อีกหลายคนที่เรียนไม่เก่งช่วย อย่างน้อยก็ช่วยให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ในคณะ

สำหรับคนที่เรียนไม่เก่ง ผมอยากฝากไว้ว่า อย่าคิดว่า ตนเองอ่อน ทำอะไรไม่ได้ ไม่เก่งเท่าคนอื่น แล้วจะแพ้คนอื่นไปทุกเรื่อง แต่ทุกคนก็มีจุดดีจุดเด่นของตนเอง  ที่สำคัญที่ผมได้ย้ำไปคือ ให้เรามีความพยายามอย่างเต็มที่

เราไม่่จำเป็นต้องภูมิใจกับความสำเร็จก็ได้ แต่ขอให้เราได้ภูมิใจกับความพยายาม ความทุ่มเทของเรา 

 

คำสำคัญ (Tags): #คุยกับนักศึกษา
หมายเลขบันทึก: 122903เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาเยี่ยม   คุณ จารุวัจน์

จริงครับ...ความพยายามอยู่ที่ไหน...ความพยามก็อยู่ที่นั้นนะครับ...

ทุกคนต่างพึ่งพาอาศัยกัน..นะครับ  ฮา ๆ เอิก ๆ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์จารุวัจน์
  • อาจารย์พูดได้ดีจังค่ะ คงได้ใจนักศึกษาไปเยอะเลย
  • เพื่อนๆๆป้าแดงนะคะ คนเรียนเก่งๆได้เป็นหมอเป็นพยาบาล หน้าดำคร่ำเครียดเชียว คนเรียนไม่เก่งได้เป็นผู้พิพากษา ผู้พัน นายอำเภอ คนนับหน้าตาถือตาไปทั่ว
  • ตอนนี้เลยไม่คิดอะไรมาก ลูกหลานไม่บังคับให้เรียนตามใจผู้ใหญ่แล้วค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

มาทักทายคุณจารุวัจน์คะ

"ทุกคนก็มีจุดดีจุดเด่นของตนเอง"  ใช่แล้วคะ บางทีเราอาจจะอ่อนในบางเรื่อง  แต่ไม่ใช่ว่าเรื่องอื่นเราก็ไม่ได้เรื่องไปด้วย ทุกคนต้องมีจุดเด่นในตัวสักเรื่องแหละ

ขอบคุณความเห็นจาก อาจารย์
P
umi พี่
P
pa_daeng และพี่
P
ศวพถ. มากครับ
ผมเห็นด้วยกับทุกข้อเสนอครับ ผมว่า การจัดการศึกษาก็เพียงพยายามให้ผู้เรียนค้นพบความเก่งของตน ไม่ใช่มองผู้เรียนเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของโรงงาน ที่ต้องผลิตออกมาให้เหมือนๆ กัน 
  • ในทฤษฎีระบบอย่างที่เราทราบๆกัยอยู่ ก็ต้องมี input-process-output 
  • เคยไปสัมมนาเรื่องคุณภาพการศึกษาครั้งหนึ่ง เขาเปรียบเทียบ การผลิดนักศึกษา เหมือนกับการผลิดปลากระป๋อง .. จะให้ได้ดีนั้น ต้องคัดเลือกปลาที่ดีก่อน คือ input เขาจึงเลือกเฉพาะนักเรียนเก่งๆ เขาเรียนไง นักเรียนที่ไม่ถึงขั้นก็ปล่อยให้ไป เกะกะเกเรไปเรื่อย.. ก็กลายเป็นปัญหาสังคมทุกวันนี้ไง
  • ในวันนั้น(วันครอบครัวคณะที่กล่าวถึง) ผมต้องไปประชุมที่ปัตตานี เกี่ยวกับนโยบายการศึกษาภาคใต้ 3 จังหวัด กับอีก 4 อำเภอ ก็มีข้อมูลทางลบที่ถูกนำเสนอ คือ การศึกษาบ้านเรา โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชน อยู่ลำดับสุดท้ายของประเทศ ทำไมเป็นแบบนั้น ผมว่าส่วนหนึ่งเพราะเราไม่ได้กรอง ไม่ได้คัด เราไปกวาดเอาให้ทุกคนในหมู่บ้านมาเรียนกับเรา เราไม่โอกาสเลือก input ถึงมีโอกาสบางครั้งเราก็ไม่ขอเลือก ตอนที่ผมอยู่โรงเรียนผมได้บอกแก่ครูทุกคนว่า ถ้าเขาอยู่นอกรั้วเราสอนเขายาก ให้เขามาอยู่ในรั้วดีกว่า เราสอนเขาได้ทุกอย่าง แน่นอนคนกลุ่มหนึ่งจะหวังเอาดีทางการศึกษากับเขายาก ขออย่างเดียวให้เราเป็นครูเขา เมื่อนั้นเราก็สามารถแนะนำเขาได้ตลอดชีวิต
  • บางคน บางทฤษฎีไปเน้นที่ Output ก็เลยทำให้ลืมนึกถึงคุณธรรมจริยธรรม ถ้าเราอยากดัง อยากมีชื่อเสียง ได้รางวัล โดยไม่คำนึงถึงกระบวนการที่ได้มา ก็ไม่มีความหมายอะไร
  • ที่นี้เราลองมาดูอิสลามสอนอย่างไร.. สิ่งแรกที่ทุกคนต้องทำก่อนสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น คือ เนียตหรือการตั้งใจ ทำทำไม ทำเพื่อใคร .. เนียตสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น แต่เนียตที่ต้องการคือเพื่ออัลลอฮฺ .. อย่างที่สอง คือ ในการทำงานนั้นต้องถูกต้องตามสุนนะฮฺ(คำสอนของนบี) หรือ เป็นการกระทำที่ปลอดจากความผิดทั้งมวล
  • นั่นหมายถึง อิสลามเน้นที่ input (ตั้งใจ) และ process ส่วน output อย่าไปสนใจมากนัก เมื่ออันที่หนึ่งกับอันที่องถูกต้อง อันที่สามก็จะมาเองด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ
  • ผมว่า ตลอดสิบปีที่เราเดินมา เราเดินมาถูกต้องแล้ว ทั้งผู้บริหาร ทั้งอาจารย์ ทั้งบุคลากรและนักศึกษาทุกคน เนียตมาดีและกำลังดำเนินอยู่บนกรอบแนวทางของซุนนะฮฺ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร เราก็ได้บุญแล้ว 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท