Global Trend in University Governance : ๑๐. Overregulation


Overregulation และ micromanagement เป็นลักษณะของการควบคุมมหาวิทยาลัยไทยในขณะนี้ แม้แต่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐก็ไม่เว้น เพราะระบบราชการ หรือระบบ bureaucracy มันฝังรากลึกเหลือเกินในสังคมไทย

 

          ผมอดไม่ได้ที่จะแสดงความเห็นส่วนตัวแทรกขึ้นมาในตอนที่ ๑๐ นี้     เพราะ ศ. โมเสส เจ้าของบทความที่อ้างถึงในตอนที่ ๑ บอกว่า    การมีระบบ Governance แบบใหม่ที่เอาจริงเอาจัง     ก็เพื่อเข้าไปทดแทนระบบที่ควบคุมมหาวิทยาลัย ในลักษณะ overregulation และ micromanagement

          Overregulation และ micromanagement เป็นลักษณะของการควบคุมมหาวิทยาลัยไทยในขณะนี้นะครับ     แม้แต่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐก็ไม่เว้น     เพราะระบบราชการ หรือระบบ bureaucracy มันฝังรากลึกเหลือเกินในสังคมไทย     ฝังอยู่ในระดับวัฒนธรรมทีเดียว      เผลอไม่ได้ เผลอทีไรโดนออกคำสั่ง      และบางทีคนออกคำสั่งเป็นระดับเจ้าหน้าที่เด็กๆ เท่านั้น     ร่างหนังสือส่งให้ “นาย” เซ็น     นายที่ชื่อ “ซุนยัดเซ็น” ก็เซ็นปั๊บ     เพราะมันเป็นผลงาน

          Overregulation และ micromanagement นำมาซึ่งการรวมสถาบันเข้าอยู่ภายใต้ “เอกภาพ”      คือมีกฎเกณฑ์เดียวกันหมด     เพราะมันง่ายต่อผู้ควบคุม   

          แต่มันไม่ดีต่อบ้านเมือง     เพราะมันทำให้สถาบันอุดมศึกษาของเราพัฒนาสู่สภาพเหมือนกัน (homogeneous) โดยไม่รู้ตัว      ในขณะที่สังคมต้องการสถาบันอุดมศึกษาหลายแบบ (heterogeneous)     และจริงๆ แล้วในขณะนี้เราก็มีความหลากหลายอยู่แล้ว     แต่จะโดนระบบ  Overregulation และ micromanagement ทำให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่สภาพ homogeneous

          สภาพนี้ ประเทศไทยขาดทุน/เสียประโยชน์     ผู้ได้รับประโยชน์คือคนใน “Super - governance” ต่อระบบอุดมศึกษา      เพราะได้ exercise อำนาจของตน

วิจารณ์ พานิช
๑ ส.ค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 122901เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท