ธรรมะ 1 นาที : ไฟสุมอก


เวรที่ผูกกันไว้....มิใช่นำความทุกข์มาให้เฉพาะในชาติปัจจุบันเท่านั้น...ยังข้ามภพข้ามชาติไปด้วย

เวรที่ผูกกันไว้......

มิใช่นำความทุกข์มาให้เฉพาะในชาติปัจจุบันเท่านั้น

เวรยังติดตามคนที่มีเวรต่อกัน

......ข้ามภพข้ามชาติไปด้วย

คนที่มีเคยเวรต่อกันมาในอดีต

แม้เพียงได้ยินชื่อก็เกลียดกันเสียแล้ว

หรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ดี

ก็เกิดอาการไม่พอใจขึ้นมา

ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักเกี่ยวข้องกันเลย

เวรมีฤทธิ์ทำลายมากมายและยาวนานถึงเพียงนี้

ก็ไม่รู้ว่า.....จะผูกเวรกันไว้ทำไม

                                                                  พระธรรมกิตติวงศ์

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมะ 1 นาที
หมายเลขบันทึก: 121384เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • การให้ทานนั้นมีหลายอย่างครับ
  • เป็นต้นว่า วิทยาทาน วัตถุทาน
  • และมีอีก ๒ อย่างที่พระพุทธองค์สอนว่าได้กุศลมากมาย
  • นั่นคือ ธรรมทาน และ อภัยทาน
  • คิดว่าหากเรามี อภัยทาน แล้ว การจองเวรย่อมลดลงได้
  • ทั้งนี้ทางที่ดีคือ การอย่าก่อเวร มีสติ มีจาคะ และอื่นๆ
  • ขออนุโมทนา ขอบคุณครับ
เห็นด้วยเต็สร้อย และกำลังเขียนบันทึก เรื่องเกี่ยวกับการผูกเวรอยู่พอดีเลยค่ะ คนแม้ไม่ชอบธรรมะ แต่ทีสุด ก็ไม่พ้นธรรมะนะคะ

ขอบคุณค่ะ

  • คุณ P  บีเวอร์
  • ขออนุโมทนากับคนที่มีจิตอภัยทานทุกท่าน
  • ขอบคุณค่ะ

 

  • คุณ  Pตันติราพันธ์
  • คนส่วนใหญ่ที่ไม่ชอบธรรมะเพราะเขาไม่เข้าใจธรรมะ ท่านใดที่เห็นธรรมะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ท่านนั้นยังไม่รู้ว่าชีวิต คืออะไร
  • หากเราศึกษาและเข้าใจหลักของธรรมะ (ธรรมะก็คือธรรมชาติ) สิ่งที่เกิดขึ้น เราก็จะไม่ทุกข์ค่ะ
  • การจองเวรก็ทำให้จิตใจขุ่นมัว
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

   อืม..เป็นคำอธิบายที่น่าสนใจมากครับ

  ก่อนนี้บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไร

  แต่ผมก็คิดว่า

  ถ้าเรายังมีความรู้สึกความคิดอย่างนี้ก็แปลว่าเราอาจจะต้องปรับหรุงและพัฒนาจิใจของตนเองอีกเพิ่มครับ

  อภัยทาน...และการเข้าไปสำรวจความคิด  จิตใจของเราเอง  แก้ใขจากภายในให้ถูกต้อง  ถูกทางน่าจะเป็นทางออกหนึ่งครับ...ผมคิดว่านะ....

 

   ยินดีที่ได้ ลปรร กันครับ

  อืมไม่แน่เหมือนผมเคยเห็นครูพานักเรียนมาตรวจที่อนามัยนะครับ.

   ผมก็รักเมืองแปงนะครับ..เพราะว่าต้องไปเดือนละครั้งครับ....

สวัสดีค่คุณหมอ

  • P  kmsabai
  • พี่เอกพูดถึงคุณหมอบ่อย ๆ
  • ค่ะครูแอนพานักเรียนไม่สบายไปอนามัยบ่อย ๆ เพราะเด็กไม่สบาย
  • วันนี้ครูไม่สบายเลยลาป่วย 1 วัน
  • คุณหมอมาเมืองแปงบ่อยมั๊ยค่ะ
  • ครูแอนว่าจะแวะไปเยี่ยมเยือนที่คลีนิคสบายน่ะค่ะถ้ามีโอกาส
  • ขอบคุณค่ะ

ทำอย่างไรจะลดความรู้สึก  อิจฉาริษยา จองเวรจองกรรม   ของมนุษย์ได้ ล่ะคะ   สังคมทุกวันมีแต่ความแกร่งแย่งแข่งขัน ผู้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น  เพราะต้องเอาตัวเองให้รอดพ้นจากสภาพสังคมที่วุ่นวาย

โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่าการพยายามคิดดี พูดดี ทำดี และก็พยายามอยู่กับตนเองให้มาก จะช่วยได้

แล้วครูแอนมีคำแนะนำอื่น ๆ หรือเปล่าค่ะ

  • ขออนุโมธนาครับ
  • การเจริญเมตตาคงช่วยได้ส่วนหนึ่งกระมั้งครับ แต่สมัยนี้หาคนที่มีพรหมวิหารสี่ได้น้อยเต็มที
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

  • คุณP ปอเป้
  • คิดดี พูดดี ทำดี  และรักษาศีล 5 ให้เป็นปกติก็พอแล้ว
  • หากมีโอกาสปฏิบัติธรรมบ้างก็ดีค่ะ
  • อนุโมทนาค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • อาจารย์PAj Kae
  • การเจริญภาวนา แผ่เมตตา รู้จักหน้าที่ตน
  • มีหิริ และ โอตัปปะ ก็ทำให้สังคมสงบสุขค่ะ
  • อนุโมทนาค่ะ

                                                                                                            

  • พระไตรปิฎกที่มีอุปมากล่าวถึงเรื่องจิต มีปรากฏอยู่มากมาย เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาโลกุตตระ(เหนือโลกีย์)เน้นเรื่องจิตเป็นพิเศษ ดังที่ปรากฎในพระสุตตันตปิฎกที่ ๑๑(เล่มที่๒๐) อังคุตรนิกาย เอกนิกนิบาต ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า

  • (๔๖) ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดกระเบื้องถ้วยบ้าง  ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น       ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้จักประโยชน์ตนบ้าง จักรู้จักประโยชน์ผู้อื่นบ้าง   จักรุ้จักประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งวิเศษ คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ดวยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี่มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัวฯ

  • (๔๗)ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋วไม่ขุ่น บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง  ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้างในห้วงน้ำนั้น   ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด  ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน รุ้จักประโยชน์ตนบ้าง รู้จักประโยชน์ผู้อื่นบ้าง รู้จักประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คืออุตริมนุสธรรม คือความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว

  • (๔๘) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด ดูภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติที่อ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต  ดูกรภิกษุทั้งหลายจิตที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงานฉันนั้นเหมือนกันฯ

  • จิตที่ควรแก่การงาน คือจิตที่ผ่านการอบรมแล้ว นั้นก็แปลว่า งานอบรมจิต เป็นพื้นฐานของการสร้างงานใดๆทั้งหมดทั้งมวล เพราะถ้าจิตมีคุณภาพ งานก็มีคุณภาพ ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ งานก็ไม่มีคุณภาพ ถ้าต้องการให้งานมีคุณภาพก็ต้องหมั่นฝึกจิตให้มีคุณภาพ..

        

  • 1 นาทีหน้า ช่วยอรรถาธิบาย
  • เวรผูกพัน เป็นอย่างไร
  • ตกแต่งบล็อกเข้ากับบรรยากาศ
  • จนกลัวบาป.....

เวรกรรมมีจริง และมาทันตาเห็นด้วยค่ะ

ไม่ต้องรอชาตินี้ หรือชาติหน้า

...ใครทำกรรมเช่นใด  ก็จะได้รับผลเช่นนั้น

การให้อภัยมากครั้งก็จะได้รับความสุขมากขึ้น

......ทำจิต....ให้สงบ .....

แล้วเราจะพบทางที่สว่างนะค่ะ

เป็นกำลังใจคะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท