เราจำแบบใด ใน LTM ?


สมองของเรามีความสามารถในตัวเองที่จะจัดเก็บความรู้ไว้อย่างเป็นระบบ สัตว์ใดไม่มีสมอง สัตว์นั้นไม่อาจทำได้

ความรู้ที่เข้าไปอยู่ใน LTM จะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ  เช่น เป็นหน่วย(Chunk), เป็นเครือข่าย เป็นต้น

หน่วย  จะมีลักษณะเป็นกระจุก  ในรูปข้างบนนี้ได้แสดงตัวอย่างของหน่วยสองหน่วย  คือหน่วยสัตว์  กับ หน่วยนก  ในหน่วยสัตว์จะมี  (นก,ปลา,แมว,ควาย,แมลง.)เป็นลักษณะของหน่วย  ในหน่วยนกก็จะมี(ปีก,หาง,ขน,บิน,ไข่)เป็นลักษณะของหน่วย  จะเห็นว่า  เราจำเพียงสองหน่วยแต่ทำให้เราจำความรู้อื่นๆในหน่วยนั้นๆรวมกันได้มากมาย หน่วยดังกล่าวสมองเป็นผู้จัด  ไม่มีเทวดา หรือผีที่ไหนมาจัด  และในขณะที่มันจัดนั้น เราไม่รู้สึกตัว เส้นที่เชื่อมโยงระหว่างลักษณะกับตัวหน่วยนั้น แทนการโยงสัมพันธ์(Association), (ถ้าใช้ภาษาของคอมพิวเตอร์ว่า การเข้ารหัส หรือรหัส ก็จะไม่มีเส้นโยงสัมพันธ์เหล่านี้)

เครือข่าย  เราสันนิษฐานกันว่า จะมีเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม ที่เกิดจากการโยงสัมพันธ์กันระหว่างหน่วย  และหรือ ระหว่างลักษณะของหน่วยต่างๆ  การโยงสัมพันธ์ก็จะมีแบบต่างๆคือ (1)แบบสถานที่ - เวลา, (2) แบบ สิ่งแวดล้อม - ข้อเท็จจริง, (3) แบบภาคประธาน - ภาคแสดง, (4) แบบความสัมพันธ์ - กรรม,(โปรดดูที่ http://gotoknow.org/archive/2006/01/12/23/57/30/e12071 )

ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้เสนอทฤษฎีอธิบายเหตุการณ์ข้างบนนี้หลายทฤษฎี  แต่ยังไม่มีทฤษฎีที่สมบูรณ์แบบ ต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป  เพือ่ให้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการถึงขั้นสูงสุด  ทั้งนี้เพื่อจะได้สร้างทฤษฎีที่ใหม่ แปลก ไม่เหมือนใคร และสมบูรณ์แบบ ออกมาให้โลกได้ชื่นชมบ้าง 

ผมจึงรู้สึกดีใจที่มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนระดับปริญญาเอกกันมากในปัจจุบันนี้  ซึ่งจะทำให้เราคาดหวังว่าอาจจะได้คนที่สนใจทางนี้บ้าง แม้ปีละคนสองคนก็ยังดี เพื่อจะได้ช่วยกันค้นหาความลี้ลับของสมอง  หรือของจิตของมนุษย์อย่างไม่หยุดยั้งกันต่อไป 

ผมมีความฝันว่า  ถ้าสักวันหนึ่งเราค้นพบว่า  ความรู้สึกหรือจิตคืออะไร  มันเกิดขึ้นได้อย่าง  เราสร้างมันได้หรือไม่  แล้ว  วันนั้น เราอาจจะสร้างเครื่องจักรอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ ให้มันมีความรู้สึกเจ็บ  รู้สึกรัก  รู้สึกว่ามันกำลังบวกเลขอยู่ทุกครั้งที่มันบวกเลข ได้ก็ได้  ในขณะนี้เราปล่อยให้ภาพยนต์ และการ์ตูน ล้ำหน้าไปก่อน

ฟังดูแล้วน่าขำนะครับ  ผมเองก็รู้สึกขำกับความคิดนี้เหมือนกันครับ.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12079เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2006 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท