ดงหลวง 157 การใช้ ICT ในการจัดการความรู้ขององค์กรพัฒนา กรณีของบางทราย


การทำงานมีความรู้เกิดขึ้นมากมาย มีประเด็นชวนคิดเกิดขึ้นมากมาย เกล็ดงาน ผลงาน แนวคิดใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย

ท่านอาจารย์ Handy จั่วหัวไว้ว่าขอรับประสบการณ์ในหัวข้อการใช้ ICT ในการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยและองค์กร  แหม..อยากจะช่วย แต่ไตร่ตรองดูแล้วประสบการณ์เราจะเข้าแก๊ป หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ อย่างไรก็นำเสนอให้พิจารณาก็แล้วกัน อยากช่วย อ๊ะ 

ความเป็นมา: พ.ศ. 2533 ผมเข้าทำงานกับโครงการการจัดการน้ำชลประทานในระดับฟาร์ม” (On Farm Water Management Project) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสังคม โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลประเทศเนเทอร์แลนด์ ที่เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์  

ความรับผิดชอบ: (คร่าวๆ) ร่วมกับฝ่ายฝึกอบรม ทำการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ICO (Irrigation Coordination Officer) รับผิดชอบเป็นพี่เลี้ยงให้ ICO ไปพัฒนาความสามารถให้กับ คณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ ที่รับน้ำชลประทานเขื่อนลำปาว ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 100,000 ไร่ 

ภารกิจ: คัดเลือกนักศึกษาปริญญาตรีด้านสังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ พัฒนาชุมชน แล้วร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านฝึกอบรมจัดหลักสูตรฝึกอบรมและเป็นพี่เลี้ยงในการทำงานในพื้นที่รวมทั้งสิ้น 15 คน จัดประชุมประจำเดือนของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 

สิ่งที่เรียกว่าประสบการณ์ที่เกี่ยวกับ ICT: ปัญหาที่พบ

  • จากการทำงานกับนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษามาลงสนามจริงๆนั้น เขายังไม่มีประสบการณ์
  • แม้ว่าจัดการฝึกอบรมและฝึกภาคสนามเป็นเวลา 1 เดือน เมื่อลงสนามจริงๆ ICO ก็ยังขาดทักษะต่อการปฏิบัติจริงๆกับเกษตรกรในพื้นที่
  • ขาดแนวทางปฏิบัติต่อสิ่งที่เผชิญหน้า จำเป็นต้อง consult อย่างใกล้ชิด แต่ ICO จำนวนมาก ไม่สามารถทำได้อย่างใกล้ชิด
  • หลักสูตรการฝึกอบรมนั้นได้ให้หลักการที่เป็นเรื่องใหญ่ๆ และเชิงหลักการแต่ไม่ครอบคลุมรายละเอียดในพื้นที่จริงที่ ICO ต้องเผชิญ

 

ตัวอย่าง memo 1

 ผมจึงคิดแก้ปัญหาโดย

  • เขียน Memo ในลักษณะบทความสั้นๆสัปดาห์ละ 1-2 เรื่องที่เห็นว่าจะไปเติมเต็มให้แก่น้องๆ ICO นั้นๆได้
  • เรื่องที่จะเขียนได้มาจากหลายๆทาง เช่น จากการไปร่วมประชุมตามสำนักงานส่งน้ำและบำรุงรักษาต่างๆทั่วพื้นที่ชลประทาน แล้วพบว่าน้องๆยังขาดความเข้าใจบางเรื่องอยู่  จากการตอบคำถามน้องๆบางคน แล้วเห็นว่าสำคัญจึงเอามาเขียนขยายความ เป็นต้น
  • เขียนโดยใช้หลัก สั้น กระชับ ได้ใจความ ได้สาระครบถ้วน ใช้ภาษาง่ายๆ ความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ A4
  • องค์ประกอบของบันทึกคือ  นำเข้าสู่เรื่อง เนื้อหาเรื่อง สรุป และข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติจริง
  • แล้วขอทำสำเนาแจกน้องๆทั้ง 15 คน ด้วยระบบเมล์ภายในโครงการ

 

ตัวอย่าง memo 2 

  ผลที่เกิดขึ้น

  • ตลอดระยะเวลา 1 ปี มีประมาณ 50 เรื่องหลักๆที่เขียนและส่งให้น้องๆศึกษา
  • น้องๆพึงพอใจและรวบรวมเป็นเอกสารเล่มเพื่อใช้เป็นคู่มือการทำงาน
  • น้องๆเกิดแรงบันดาลใจ ช่วงตอนจบโครงการจึงร่วมกันเขียนประสบการณ์ของตนเองในการทำงานออกมาโดยเลือกเรื่องที่จะเขียนไม่ซ้ำกัน
  • เป็นสาระเสริม เติมเต็มแก่กระบวนการฝึกอบรม การทำงาน  
  • จากบันทึกดังกล่าวนำไปสู่การสืบสานความคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อในที่ประชุมประจำเดือน หรือทุกครั้งที่พบปะกันในสนาม

ตัวอย่าง memo 3 

 เปรียบเทียบ

  • ฝรั่งชอบใช้บันทึกการออกสนามเป็นแบบ memo แล้วนำมาทำสำเนาแจกให้แก่เพื่อนร่วมงานทุกคนได้ทราบว่าไปทำอะไร กับ ใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ผลเป็นอย่างไร ฯลฯ ทำให้เพื่อนที่ไม่ได้ไปสนามรู้เรื่องหมดโดยไม่ต้องเสียเวลาคุยกัน และบันทึก memo ยังนำมาใช้ค้นรายละเอียดเมื่อต้องการเขียนรายงานไตรมาส รายงานสิ้นสุดโครงการ ฯลฯ
  • ผมก็ใช้แบบฟอร์มเดียวกันแต่คนละวัตถุประสงค์ 
  • แบบที่ใช้นั้นหากเทียบปัจจุบันก็คือการทำบันทึก Blog นั่นเอง สมัยนั้นยังไม่มี ระบบ Blog แต่มีลักษณะเดียวกัน วัตถุประสงค์เดียวกัน แต่ใช้รูปแบบต่างกัน

 

เอกสารรวมเล่มบันทึกที่จัดทำขึ้นทั้งหมด 

 ผลกระทบ

  • น้องๆชอบการเพิ่มเติมความรู้ ทักษะแบบดังกล่าว
  • น้องๆนำไปขยายผลใช้ต่อในโครงการอื่นๆ
  • ผมเองก็นำวิธีการนี้ไปใช้ต่อในโครงการอื่นๆ รวมทั้งโครงการปัจจุบันก่อนที่จะเข้ามา G2K ก็ใช้วิธีเขียนบทความที่เห็นประเด็นจากสนามเป็นบันทึกสั้นๆ 1-2 หน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่ง email ให้เพื่อนร่วมงานทุกสัปดาห์ (โครงการที่ผมทำมี 4 จังหวัด มีเพื่อนร่วมงานประมาณ 25 คน)
  • เพื่อนๆติดใจและแนะนำให้เข้ามา G2K นี้

 สรุป

  • การทำงานมีความรู้เกิดขึ้นมากมาย มีประเด็นชวนคิดเกิดขึ้นมากมาย เกล็ดงาน ผลงาน แนวคิดใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย
  • ข้อถกเถียง ในที่ประชุมอาจไม่สามารถอธิบายลึกๆได้หมด อาจจำเป็นต้องใช้บันทึกแสดงความคิดเห็น
  • เพื่อมิให้ความรู้และประเด็นมอดไหม้ไป ควรทำการบันทึกไว้เป็นเอกสารรูปแบบต่างๆตามความถนัด แล้วส่งผ่านไปให้เพื่อนร่วมงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

 นี่คือประสบการณ์แบบคร่าวๆในเรื่องที่เกี่ยวกับ ICT ในองค์กรพัฒนาชุมชนครับ

หมายเลขบันทึก: 120563เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2007 02:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • หว้าก็ทำการบ้านอ.handy เสร็จแล้วค่ะ
  • แต่พอเห็นงานพี่ไพศาล อึ้งค่ะ
  • เดี๋ยวพรุ่งนี้ไปเพิ่มเติมใหม่
  • นอนไม่หลับค่ะ

สวัสดีน้องลูกหว้า

  • โอย..พี่ยังไม่แน่ใจว่าตรงกับที่อาจารย์ handy ต้องการไหม
  • อยากช่วย เลยเอาประสบการณ์เก่าตั้งแต่ก่อน มีระบบ Blog มาเสนอเลยครับ  หากใช่ แสดงว่า พี่ก็ใช้ ICT แบบโบราณมาก่อนแล้ว เน๊าะ..

ขอบคุณอย่างยิ่งครับ
    นี่คือสุดยอดครับ .. กลั่นมาด้วยใจอยากแบ่งปัน เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกัน มีแต่ได้ไม่มีเสียครับ ผู้รับสารจะได้หลากหลายประสบการณ์ จากหลากหลายบริบท นำไปปรุง ไปปรับใช้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นครับ
    ลูกหว้า ก็อย่าตื่นเต้น ตกใจมากไป .. ท่านผู้ใหญ่ ทำมามาก ทำมานาน เรา ลูกหลานสั่งสมไปเดี๋ยวก็มากเอง .. นะจ๊ะ .. นะจ๊ะ .. อิ อิ อิ.

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • น่านำไปเป็นแบบอย่าง
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ P บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

จะมาบอกว่าเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมมากๆ เลยค่ะ ^ ^

กำลังหาตัวอย่างคำตอบไปตอบอ. innoPhys  ที่มาถามเกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการความรู้ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ต ที่คำถามเครือข่ายชุมชนต่อต้านยาเสพติด พอดีเลยค่ะ

ขอบคุณมากๆ เลยนะคะ ถ้าไม่มีตัวอย่างนี้ จะตอบได้ยากมากเลย

ขอบคุณมากๆ อีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะ

P
สวัสดีค่ะ
จะเข้ามาบอกว่า วิธีที่คุณบางทรายใช้ ก็เป็นวิธีเดียวกับที่ดิฉันใช้ในการทำงานมาตลอดชีวิตค่ะ ได้ผลมาก ต่อมาเราต้องมาสรุป ทำรวมเล่ม เพื่อเป็นหลักฐานในการทำงารต่อไปค่ะ

ขอconfirmค่ะ ดีๆมากเลยค่ะ

  • แบบที่ใช้นั้นหากเทียบปัจจุบันก็คือการทำบันทึก Blog นั่นเอง สมัยนั้นยังไม่มี ระบบ Blog แต่มีลักษณะเดียวกัน วัตถุประสงค์เดียวกัน แต่ใช้รูปแบบต่างกัน
  • สวัสดีครับท่าน Handy

    • คิดว่าพอเป็นปนะโยชน์บ้างนะครับ
    • การทำงานแบบ project ที่มีชาวต่างชาติอยู่ ดีอยู่อย่างคือ เราเรียนรู้เทคนิคต่างๆจากเขาแล้วมาดัดแปลงใช้อย่างไทยๆเรา  ผมเรียนรู้และเอามาใช้หลายอย่างจนบางอย่างเป็นที่ยอมรับในวงราชการไปแล้วครับ
    • ยินดีที่ได้รับใช้กัลยาณมิตรครับ

    สวัสดีครับ P pa_daeng

    • เดี๋ยวผมจะเขียนต่อเรื่องนี้กับวัฒนธรรมคนไทยครับ

    สวัสดีครับน้อง P กมลวัลย์

    • ก่อนอื่น ต้องบอกว่าชอบรูปนี้อีกแล้ว ฝีมืออาจารย์แป๋วเข้าขั้นจริงๆครับ
    • ด้วยความยินดีครับอาจารย์จะเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้เลย และหากมีคำถามเพิ่มเติมถามได้นะครับ
    • หากดี ของดีดีเก็บเอาไว้ทำไม เพื่อสังคมไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ต้องช่วยกัน
    • อย่างที่เรียนไว้กับ อ.handy ว่า การทำงานแบบProject ชาวต่างชาตินั้น เราเรียนรู้เทคนิคการทำงานเขาเยอะเหมือนกัน แบบเรียนลัดเลย คือเรียนจากการทำจริง  ไม่ต้องไป เข้าชั้นเรียนที่เขาเสียเงินปีละมากๆเพื่อกลับไปเข้า Course พิเศษเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่เราแอบเรียนจากเขาทางปฏิบัติเลยครับ 

    ท่านพี่ sasinanda  มา confirm แล้วครับ ขอบพระคุณมากครับ  เป็นวิธีการเติมเต็มที่ดีมาก แบบทำได้ตลอดเวลาที่เราเฝ้าสอดส่องดูว่าใครยังไม่เข้าใจเรื่องอะไร หรือเราต้องการจะเพิ่มอะไร เน้นอะไร

    การฝึกอบรมนั้น แค่ความรู้ผ่านหู ผ่านประสาทรับรู้ไปเท่านั้น พอการปฏิบัติจริงมันอีกเรื่องเลยนะครับ ต้อง consult มากเลย โดยเฉพาะเรื่องที่ sensitive ยิ่งต้องใกล้ชิด เติมเต็มอยู่เรื่อยๆ

     

    แม้การฝึกอบรมเน้นการฝึกปฏิบัติภาคสนามก็เถอะ เรื่องนี้ขอให้นึกกระบวนการฝึกแพทย์ ที่เรียก Intern ต้องมีการฝึกเป็นปี และมีอาจารย์หมอกำกับตลอด

    การฝึกคนทำงานก็เหมือนกันเมื่อเข้ากระบวนการฝึกอบรมที่เน้นการปฏิบัติแล้ว ยังจำเป็นต้องมีพี่พี่ คอยช่วยเติมเต็มอีก อย่างที่ผมและพี่ท่านทำนี่แหละครับ

    ต้องอย่าลืมว่าการทำเช่นนี้เป็นเพียงเสริมเท่านั้น กระบวนการทั้งหมดต้องประกอบกันและกัน เพียงการทำบันทึกเสริมนี้มีบทบาทมากเพราะจี้จุดตรงๆไปเลยว่าเขาขาดอะไรเติมเต็มตรงนั้นครับ

    ขอบคุณครับที่มา confirm ครับ

    • ฝรั่งชอบใช้บันทึกการออกสนามเป็นแบบ memo แล้วนำมาทำสำเนาแจกให้แก่เพื่อนร่วมงานทุกคนได้ทราบว่าไปทำอะไร กับ ใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ผลเป็นอย่างไร ฯลฯ ทำให้เพื่อนที่ไม่ได้ไปสนามรู้เรื่องหมดโดยไม่ต้องเสียเวลาคุยกัน และบันทึก memo ยังนำมาใช้ค้นรายละเอียดเมื่อต้องการเขียนรายงานไตรมาส รายงานสิ้นสุดโครงการ ฯลฯ
    • ชอบข้อเขียนนี้มากเพราะประสบกับตัวเอง ความจริงเรามีเวลาF2F กันน้อยในช่วงทำงาน ต่างคนต่างออกพื้นที่ดังนั้น Memo จึงใช้ได้ดีครับ
    • น้องออต ใช่แล้วครับ เราหยิบของดีดีของฝรั่งมาใช้กับงานของเราบ้าง และก็ใช้ได้ แต่ไม่ทุกองค์กร
    • เดี๋ยวพี่จะเขียนเรื่องนี้ต่อไปครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท