ชีววิทยา


การศึกษาชัววิทยา
การศึกษาชีววิทยา ชีววิทยา  (Biology)*          เป็นวิชาที่กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ  ของสิ่งมีชีวิต  (Living organisms)  อันเป็นวิชาแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์  (Science)  นอกเหนือจากวิชาเคมี  (Chemistry)  และวิชาฟิสิกส์  (Physics)  ซึ่งถือว่าเป็นวิชาพื้นฐานของวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่ปัจจุบันได้แตกแขนงออกไปอย่างมากมาย  อาจจัดเป็น  2  กลุ่มใหญ่ๆ  คือ  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  (Biological Science)  และวิทยาศาสตร์กายภาพ  (Physical Science)          *Biology  มาจากคำภาษากรีก  Bios  (ชีวิต , สิ่งมีชีวิต)  และ  logos  (กล่าวถึง , ศึกษา , วิชา , ความคิด , การมีเหตุผล)  คำว่า  “Biology”  ใช้เป็นครั้งแรก  เมื่อ  ค.ศ. 1801  โดยนักวิทยาศาสตร์  2  ท่าน  คือ  Jean Baptiste de Lamarck  นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส  และ  Ludolf Christian Treviranus  นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันการศึกษาชีววิทยา          เช่นเดียวกับวิชาวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ  การศึกษาเรียนรู้ทางชีววิทยาอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  (Scientific Method)  อันมีขั้นตอนดังนี้          1.  การสังเกต  (Observation)          2.  การตั้งปัญหา  (Problem)          3.  การรวบรวมข้อมูล  (Accumulation of Data)          4.  การตั้งสมมุติฐาน  (Formulation of Hypothesis)5.      การทดสอบสมมุติฐาน  (Testing of Hypothesis)  หรือ  การ       ทดลอง  (Experimentation)          6.  การสรุปผล  (Conclusion)          วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการซึ่งทำให้ได้มาซึ่งความรู้  ความเข้าใจในปรากฏการณ์ของธรรมชาติอย่างมีเหตุผล ทฤษฎี  (Theory) หรือ กฏ  (Law) ที่มีอยู่มากมายทางวิทยาศาสตร์นั้น ล้วนเป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้นสิ่งมีชีวิตคืออะไร          ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า  ชีววิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ  ของสิ่งมีชีวิต  จึงมีคำถามว่า  สิ่งมีชีวิตคืออะไร          ปรากฏว่า  จนถึงปัจจุบันดูเหมือนว่ายังไม่มีนิยาม  (Definition)  ของสิ่งมีชีวิตที่ชัดเจนและให้ความหมายครอบคลุม  เพราะเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมีเรื่องที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษากันอยู่ไม่รู้จักจบสิ้น          อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งในที่นี้จะขอยกมาเป็นตัวอย่างเพียงบางประการสิ่งมีชีวิตจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้          1.  การใช้พลังงาน  (Energy Utilization)  พลังงานในที่นี้จะแฝงอยู่ในรูปของ  “อาหาร”  ที่สิ่งมีชีวิตบางอย่างอาจสร้างขึ้นมาเองหรือต้องได้รับจากสิ่งมีชีวิตอื่น  พลังงานทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถแสดงกิจกรรมอันเป็นคุณสมบัติประการต่างๆ          2.  การสืบพันธุ์  (Reproduction)  สิ่งมีชีวิตมีกิจกรรมการสืบพันธุ์  โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนชนิดของตัวเอง          3.  การเจริญเติบโต  (Growth and Development)  ร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในเชิงของขนาดและรูปร่างลักษณะ          4.  การควบคุมสภาพภายในร่างกาย  (Homeostasis)  เพื่อให้กระบวนการต่างๆ  ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายดำเนินไปได้เป็นปกติ          5.  การตอบสนองต่อสิ่งเร้า  (Response)  สิ่งเร้าในที่นี้ก็คือสภาพแวดล้อมทั้งหลายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต้องเผชิญ          6.  การปรับตัวทางวิวัฒนาการ  (Evolutionary Adaptation)  เพื่อให้เผ่าพันธุ์ของมันสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ  จำเป็นอย่างยิ่งที่สิ่งมีชีวิตนั้นต้องมีการปรับตัว แม้บางอย่างจะต้องใช้เวลานานมากก็ตาม          จากคุณสมบัติบางประการที่ยกมานี้ จึงอาจใช้เป็นเกณฑ์ที่น่าจะวินิจฉัยได้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งมีชีวิตหรือยังมี  “ชีวิต”  หรือไม่การจัดระเบียบในการศึกษาสิ่งมีชีวิต          เมื่อการศึกษาสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติได้ดำเนินมา  นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา  ในที่นี้จะขอเรียกว่า  นักชีววิทยา  (Biologist)  ได้จัดสภาพความคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตให้เป็นระบบ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบตั้งแต่ขนาดเล็กสุดไปใหญ่ขึ้นเป็นลำดับขั้นได้ดังนี้The Hierarchy of Biological Organizationอะตอม (Atom)¯โมเลกุล (Molecule)¯ออแกเนลล์ (Organelle)¯เซลล์ (cell)¯เนื้อเยื่อ (Tissue)¯อวัยวะ (Organ)¯ระบบอวัยวะ (Organ System)¯ออแกนิซึม (Organism)¯ประชากร (Population)¯สังคมสิ่งมีชีวิต (Community)¯ระบบนิเวศ (Ecoseptem)¯โลก (Biosphere)¯¯  โลกของสิ่งมีชีวิต          เริ่มจากอะตอมซึ่งถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร  หลายๆ  อะตอมมาอยู่รวมกันเป็นโมเลกุล  หลายโมเลกุลมาประกอบกันเป็นออแกเนลล์  ออแกเนลล์ต่างๆ  มาอยู่รวมกันเป็นองค์ประกอบของเซลล์          *เซลล์ถือว่าเป็นหน่วยพื้นฐาน  (Basic Unit)  ของสิ่งมีชีวิตที่แสดงคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต          เซลล์หลายๆ  เซลล์มาทำงานร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ  เนื้อเยื่อหลายๆ  ประเภทมาประกอบกันเข้าเป็นอวัยวะ  จากอวัยวะมาเป็นระบบอวัยวะ  และรวมกันเป็นออแกนิซึม  ซึ่งก็คือ  ตัวตนของสิ่งมีชีวิตนั่นเอง          สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเป็นจำนวนมากมาอยู่ร่วมกันเรียกว่า  ประชากร  ประชากรหลากหลายพันธุ์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมสิ่งมีชีวิต  สังคมสิ่งมีชีวิตผนวกกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจึงเป็นระบบนิเวศ  ระบบนิเวศจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปอย่างมากมายทั้งขนาดและองค์ประกอบ  เมื่อรวมกันเข้าทั้งหมดก็คือ  โลก  นั่นเอง  และถ้าหากพิจารณาต่อไปก็อาจสามารถต่อลำดับขั้นนี้ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ ….          มาถึงตรงนี้  นักศึกษาสามารถเข้าใจโครงสร้างขององค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตแล้ว  นักศึกษาก็จะได้เรียนรู้ในรายละเอียดของแต่ละขั้นของสิ่งมีชีวิตต่อไปชีววิทยา  :  อดีตถึงปัจจุบัน          เรื่องของสิ่งมีชีวิตนั้นยังคงเป็นสิ่งที่ลึกลับท้าทายให้นักชีววิทยาศึกษาต่อไป  ในปัจจุบันชีววิทยาได้มีการศึกษาวิจัยในเชิงต่างๆ  ออกไปอย่างมากมาย  นอกจากนี้มีการนำความรู้ไปประยุกต์ในสาขาวิชาอื่นๆ รวมทั้งในชีวิตประจำวัน  ซึ่งจะขอสรุปอย่างกว้างๆ  ดังนี้1.  ชีววิทยา  :  วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์  (Pure Science)  เพื่อการศึกษาและวิจัย-  Entomology-  Biochemistry-  Microbiology-  Protozovlogy-  Ecology-  Cell Biology-  Physiology-  Anatomy-  Geneticsวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท-เอก 2.  ชีววิทยา  :  วิทยาศาสตร์ประยุกต์  (Applied Science)  เพื่อการศึกษาและวิจัย  ,  รับราชการ  ,  รับจ้าง  ,  ธุรกิจ การประมงการกสิกรรมการเพาะเลี้ยงโภชนาการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์และสาธารณสุขเภสัชวิทยาและพิษวิทยาวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท-เอก 3.  ชีววิทยา  :  เพื่อการอนุรักษ์  (Conservation)  และการจัดการ  (Management)  ทรัพยากรของประเทศและของโลก  4.  ชีววิทยา  :  เพื่อการผักผ่อนหย่อนใจ  ,  บันเทิง  ,  สุนทรีย์ในชีวิต การสะสมการท่องเที่ยวการประดับตกแต่งการเพาะเลี้ยงการออกแบบ                 
หมายเลขบันทึก: 120152เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท