ชีวิตที่พอเพียง ทบทวนความจำด้วยภาพ 14. เที่ยวหลวงพระบาง ปี 2545


          เดือนพฤศจิกายน 2545 ภรรยาและผมตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ      ไปกับคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล     ไปเที่ยวหลวงพระบาง     เป็นการไปครั้งแรกของผม    และครั้งที่ 2 ของหมออมรา     โดยเธอเพิ่งไปกับคณะทัวร์ของแพทย์ เมื่อเดือนก่อนนั่นเอง    

        เสน่ห์ของหลวงพระบางคือศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่เป็นธรรมชาติ     ผมได้เห็นวิธีตักบาตรแบบลาว     ได้ชมวัด (วัดที่งดงามที่สุดคือวัดเชียงทอง) ชมวัง  แล่นเรือในแม่น้ำโขง    และกินอาหารแบบพื้นเมือง     ได้เห็นหมู่บ้านห่างเมืองไม่ไกล เด็กเป็นโรคขาดอาหารเหมือนในชนบทบ้านเราเมื่อ 40 ปีก่อน    ได้ความประทับใจว่าคนลาวนิยมสร้างพระโดยแกะสลักไม้เป็นพระพุทธรูปยืน ปิดทอง   เอาไปถวายวัด  เป็นการทำบุญ

                       

       ตักบาตรแบบลาว นั่่งคุกเข่าเอามือจกข้าวเหนียวใส่บาตร

                       

                                   ท่าจกข้าวใส่บาตร

                        

                           เจดีย์สันติ ในท่ามกลางพนา

                        

                                     บันไดจระเข้ ชั้นล่าง

                       

                        คณะทัวร์ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

                       

                                    บันไดพญานาค ชั้นบน

                       

                           คณะทัวร์กับพระอาทิตย์ตกที่ภูสี

                       

         พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เดิมเป็นวังของเจ้ามหาชีวิต

                       

                                              วิหารพระบาง

                       

                         วัดเชียงทอง อาคารราชรถ (ขวา)

                        

                                วัดเชียงทอง หน้าต่าง

                        

                                           วัดล่องขุ่น

                       

                         วัดเชียงทอง พระอุโบสถด้านนอก

                       

                                              วัดเชียงทอง

                        

                                              วัดเชียงทอง

                        

                                              วัดวิชุน สถูป

                       

                         วัดวิชุน พระพุทธรูปไม้

วิจารณ์ พานิช
6 ส.ค. 50

หมายเลขบันทึก: 120150เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากรูปพระไม้ที่อาจารย์ถ่ายมาได้ ผมเห็นความคล้ายคลึกระหว่างพระไม้ของลาว และพระไม้ทางภาคใต้ของไทย(องค์ที่ ๔ จากซ้าย) ซึ่งผมทำงานอยู่ที่นี่ จากข้อมูลที่สืบค้นพระไม้ทรงเครื่องจะจัดทำในปลายอยุทธยาตามพัฒนาการพุทธศิลป์ ซึ่งตอนนี้ผมสนใจจะสืบค้นและทำทะเบียน โบราณวัตถุ และศิลปะวัตถุในตำบล เป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ของดี คนดีในตำบลท่าข้าม โดยเชื่อมโยงอัตลักษณ์ในอดีต ปัจจุบัน และจัดกิจกรรมให้ตำบลเข้มแข็งในแนวโน้มของอนาคตครับ เดี๋ยวจะฟุ้งไป ผมอยากแลกเปลี่ยนและถามอย่างนี้ครับ การจัดทำระบบทะเบียนและสืบอดีต ได้อย่างไร พอมีแนวทาง และเชื่อมโยงกิจกรรมเหล่านี้ให้เกิดกิจกรรมที่อยู่ในชุมชนได้อย่างไรเชิงความคิด อ้อลืมบอกครับว่าที่ท่าข้าม นี่เราเริ่มเป็นชุมชนนักปฏิบัติ จากการพยายามสร้างทั้งนักปฏิบัติ+นักจัดการความรู้ไปพร้อมกัน

สุดท้ายนี้ผมคิดว่าคงได้คุยกับอาจารย์ผ่านบล็อกบ้างนะครับ หากมีโอกาสอยากรู้จังว่าอาจารย์มีอะไรที่ตกผลึก เป็นคำตอบที่อธิบายทุกปรากฏการณ์และเป็นแนวปฏิบัติของตนเอง ด้วยความเคารพ นับถือ ภัทรเดช ทองแป้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท