Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เราไม่มีองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาคนฆ่าตัวตายหรือไรคะ ?


มาช่วยกันให้กำลังใจคนที่คิดสั้นๆ กันไหมคะ ? เราให้ความสนใจวัตถุมากเกินไปไหมคะ

ข่าวการฆ่าตัวตายมีมากเหลือเกิน

เราไม่มีองค์ความรู้ในการจัดการปัญหานี้หรือไรนะคะ ??? ตอนนี้ มีใครสนใจปัญหาเหล่านี้ไหมนะ ?

“นักบินฝึกหัดพม่า” คิดสั้น! ผูกคอตายคาห้องน้ำโรงแรม

เกย์เฒ่านักออกแบบเสื้อแฟชั่นชาวญี่ปุ่นโดดคอนโดดับสยอง

ฆ่าตัวตายพิสดาร! อดีตสาวแบงก์เครียดปัญหาชีวิต คว้าถุงคลุมหัว-เชือกผูกคอ

คำสำคัญ (Tags): #ฆ่าตัวตาย
หมายเลขบันทึก: 119058เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

รู้สบายใจขึ้นค่ะ

หันไปดูว่า มีคนในโกทูโนคิดถึงเรื่องนี้ไหม ?

ปรากฏว่ามีหลายท่านทีเดียว

http://gotoknow.org/post/tag/ฆ่าตัวตาย

ขอบคุณทุกท่านที่คิดถึงเพื่อนมนุษย์ที่ทุกข์ล้นหัวใจ

สวัสดีครับอาจารย์

    ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยคิดแบบอาจารย์ครับ

    ในฐานะคนทำงานกับเรื่องนี้อยู่  จึงอยากเข้ามาลปรรครับ

   เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติมากๆครับ

  กรมสุขภาพจิตเป็นคนที่ดูแลเรื่องนี้  มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องครับ

 

   ในระดับประเทศก็ได้ผลหลายพื้นที่ครับ

   แต่บางพื้นที่ก็ยังไม่ค่อยได้ผลครับ

   เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัยมากๆครับ

   เพราะว่าเมื่อปีที่แล้วผมได้รับมอบหมายเรื่องนี้  เคยเข้าไปค้นข้อมูลหลายๆที่

   พบว่ามีผู้คนที่ทำงานอย่างหนัก  ด้วยความแข็งขัน  เพื่อให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลงครับ

   ตอนนี้กระทรวงตั้งเกณท์  เท่าที่ทราบน่าจะไม่เกิน 1/100000 ประชากรครับ

   แต่ที่บ้านผม  เป็นพื้นที่สีแดงที่ถูกเพ่งเล็งครับ

  เพราะว่าตอนนี้อัตราเรามากกว่าเกณฑ์ที่เขากำหนดแล้วครับ

  เป็นภาระหน้าที่  ที่ผมกำลังคิด..เพื่อพัฒนา  และลดลงให้ได้เท่าที่จะทำได้ให้มากที่สุดครับ

  ขอบคุณครับ

อัตวินิบาตกรรม : การจบชีวิตที่ยังไม่จบ(สิ้น)

กำลังมีเรื่องไม่สบายใจมาหลายวันแล้ว คิดทีไรก็กลายเป็นคนบ่อน้ำตาตื้นซะงั้น น้ำตาไหลไปเรื่อยๆ บางที่ก็สะอื้นเป็นเด็กๆ แล้วก็มาเปิดเจอบันทึกของอาจารย์แหววว่าด้วยการทำอัตวินิบาตกรรม

ขณะบันทึกนี้ เพื่อนรักคนหนึ่งก็กำลังถูกฌาปนกิจอยู่บนเมรุใจกลางเมื่องหลวง ด้วยเหตุที่เธอเบื่อหน่ายชีวิตที่ป่วยทางจิต รักษามากว่าสามปีด้วยยาและยา จนเบรอและประสาทหลอน เธอเคยเป็นพยาบาลแล้วหันเหมาเป็นครูโรงเรียนมัธยม ต่อมาป่วยจนทำงานไม่ไหว เธอจึงเออรี่รีไทร์ตามนโยบายรัฐ แล้วอยู่บ้านเพื่อรักษาสุขภาพตามที่แพทย์ให้ความเห็น เท่าที่เราทราบเธอเคยพยายามลงมือปลิดชีวิตตนเองมาก่อนหน้านี้ 2 ครั้งแล้วด้วยมีดและยา แต่ก็รอดมาได้ เพราะยังมีสามัญสำนึกรักชีวิตอยู่ ซึ่งเธอเล่าให้ฟังในครั้งก่อนว่า เป็นเพราะยาที่รับประทาน ทำให้เหมือนประสาทหลอน แต่เพราะคมมีดถูกผิวหนังก็รู้สึกตัว จึงวิ่งไปหาหมอเอง ทำให้ดิฉันยิ่งทักท้วงเรื่องการกินยาของเธอมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่ไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว เพราะดิฉันเชื่อว่า ปัญหาชีวิตของเราเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเจ็บป่วย ดังนั้นหากจะรักษาต้องรักษาที่ความคิดและจิตใจ ซึ่งใหม่ๆเธอก็เห็นด้วย แต่เวลารักษาที่ยิ่งเนิ่นนานออกไป กลับทำให้เธอยิ่งต้องพึ่งยาเพื่อให้นอนหลับ แต่จริงๆแล้วน่าจะเป็นเรื่องความเชื่อมั่นในตัวเองที่ลดถอยลงไปเนื่องจากการต้องพึ่งยามากกว่า ดังนั้นข่าวร้ายในรอบเดือนนี้คือ การจากไปด้วยน้ำมือของตัวเธอเอง ทำให้อากาศอึมครึ้มของอุบลฯยิ่งเศร้าหมองลงอีก ขอคุณพระคุณเจ้าได้โปรดรับดวงวิญญาณที่แสนดี สงบเสงียม ไม่เคยเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นของเธอไปสู่สุขคติด้วย

ดิฉันเป็นคนชอบดูหนังโดยเฉพาะหนังฝรั่ง ซึ่งทำให้ได้รับทราบข้อเท็จจริงใหม่ๆที่บ้านเรายังไม่มีเช่น การให้คำปรึกษาของจิตแพทย์บ้าง นักจิตวิทยาบ้าง แต่ที่ผ่านมาเรายังไม่เคยมีเคส จึงคิดว่าคงจะไม่ต่างจากต่างประเทศ จนกระทั่งมีเพื่อน 2 ราย คือรายนี้และอีกรายซึ่งในที่สุดเธอก็พบสัจธรรมด้วยตนเองว่า หมอรักษาไม่ได้หรอก ตราบเท่าที่หมอยังรักษาด้วยยา และทุกครั้งเธอคนหลังนี้ก็จะนำสิ่งที่คุยกับหมอมาเล่าให้ดิฉันฟังอีกอย่างไม่สู้พึงใจเท่าไรนัก และเราก็วิเคราะห์ร่วมกันจนเธอได้คำตอบเอง บางครั้งดิฉันยังแซวเธอว่าให้เอาเงินค่าdoctor feeมาเลี้ยงข้าวดิฉันเหอะ แล้วดิฉันจะรับฟังปัญหาของเธอเอง ปัจจุบันเข้าใจว่าเธอจะเลิกหาหมอจิตแล้ว

ดังนั้นดิฉันจึงเห็นด้วยกับอาจารย์แหววที่เราน่าจะหาองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำอัตวินิบาตกรรมของคนไทย เพื่อหาทางออกให้กับอีกหลายชีวิตที่กำลังจะก้าวไปสู่การกระทำดังกล่าว สำหรับบันทึกครั้งนี้องค์ความรู้ของดิฉันซึ่งมาจากชีวิตของเพื่อนรักคนนี้ผู้ซึ่งเชื่อมั่นกับการรักษาด้วยยาฝรั่งคือ ความเจ็บป่วยที่ใจก็ต้องรักษาด้วยใจ

 

มีความผิดพลาดในการส่งข้อความทำให้ความเห็นข้างต้นปรากฏชื่อของดิฉันจึงต้องแสดงความรับผิดชอบ เขียนอีกหนึ่งความเห็นค่ะ ข้อยเองเด้อ

เขียนผิดอีกจนได้ ตกคำว่า" ไม่ "หน้าปรากฏไปนะคะ

ตุ๊ก

  • ขอเสริมข้อมูลครับ
  • จาก เมืองไทยแข็งแรง   (Healthy  Thailand) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การสร้างสุขภาพของประเทศไทย  และได้ถูกประกาศเป็นวาระแห่งชาติ  เมื่อวันที่ 18  ธันวาคม  2547 ระบุว่า "อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน  7  ต่อประชากรแสนคน" (ต่อปี)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท