ฮุกุมและวิธีการละหมาดญะมาอะฮฺสำหรับสตรี ตอนที่ 2


แปลจาก “Hukum Solat Berjemaah Bagi Wanita dan Cara-caranya” โดย อิบนุ อับดุรรอฮฺมาน จากเว็บ Koleksi Soal Jawab agama

หะดิษดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ขัดแย้งกับหะดิษที่กล่าวความว่า“การละหมาดที่ มัสยิดของฉัน (มัสยิดนะบะวีย์) ประเสริฐกว่าการละหมาดในมัสยิดอื่นถึง ๑,๐๐๐ เท่า” (หะดิษรายงานโดยมุสลิม)


ชีคอัลอัลบานีย์กล่าวว่า“หะดิษนี้ไม่ได้ปฏิเสธว่าการละหมาดของพวก เธอ (บรรดาสตรี) ที่บ้านของพวกเธอนั้นประเสริฐกว่าสำหรับพวกเธอ และเช่นเดียวกันที่ไม่ได้ปฏิเสธว่าการละหมาดซุนนะฮฺที่บ้านของผู้ชาย นั้นประเสริฐ กว่าการละหมาดซุนนะฮฺที่มัสยิด แต่ถ้าหากเขา (ผู้ชาย) ละหมาดฟัรฎูในมัสยิดหนึ่งในสามมัสยิด (คือที่มักกะฮฺ มาดีนะฮฺ และอัล อักซอ) ดังนั้นพวกเขาจะได้รับความประเสริฐมากกว่าเมื่อเทียบกับการ ละหมาดในมัสยิดอื่นๆ เช่นเดียวกันนี้สำหรับบรรดาสตรี” (ดูในญิลบาบ อัลมัรอะฮฺ อัลมุสลิมะฮฺ : ๑๕๖)
ในหะดิษอื่นท่านนบี   กล่าวความว่า “ท่านอย่าได้ห้ามสตรีของพวกท่าน เมื่อเธอ จะออกไปยังมัสยิดและบ้านของพวกเธอนั้นดียิ่งกว่าสำหรับ พวกเธอ (หะดิษรายงานโดยคุซัยมะฮฺ)


อิมาม อัชเชากานีย์   อธิบายประโยค “บ้านของพวกเธอนั้นดียิ่งกว่า สำหรับพวกเธอ” ว่า “การละหมาดของพวกเธอที่บ้านของ พวกเธอนั้น ดียิ่งกว่าการที่พวกเธอออกไปละหมาดที่มัสยิด หากว่าพวกเธอได้รู้ (แน่นอนว่าพวกเธอจะไม่ขออนุญาตเพื่อออกไปละหมาดที่มัสยิด) แต่เนื่องจากพวกเธอไม่รู้เรื่องดังกล่าว ดังนั้นพวกเธอ (ศอหาบิยะฮฺหรือ สาวกที่เป็นสตรี) ได้ขออนุญาตออกไปยังมัสยิดด้วย เชื่อมั่นว่าจะ ได้รับผลบุญมากกว่าละหมาดที่บ้านของพวกเธอ (ดูในนะอิลุล อุษัร 3:131)


จากรายงานดังกล่าวข้างต้นบรรดาอุลามะอฺได้ฮูกุมว่าการละหมาดของ สตรีในบ้านของเธอนั้นดีกว่าการละหมาดที่มัสยิด แม้กระนั้นก็ตามอาจ จะเกิดบางคำถามผุดขึ้นในสมองของเราว่า “อันไหนจะดีกว่าการที่สตรี ละหมาดที่บ้านของเธอระหว่างละหมาดเป็นญะมาอะฮฺกับละหมาดคนเดียว” และการละหมาดญามาะฮฺของพวกเธอจะทำให้เธอได้รับดั่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ   กล่าวไว้ (นั่นคือดีกว่า ๒๗ เท่า)?  เพื่อที่จะตอบคำถามนี้เราควรมาดู คำอธิบายหะดิษ (ชาเราะฮฺหะดิษ)

“ละหมาดญะมาอะฮฺดีกว่าละหมาดคนเดียวถึง ๒๕ (ในรายงานอื่นว่า ๒๗) เท่า” หรือว่าหะดิษดังกล่าวมีลักษณะทั่วไปครอบคลุมทั้งชายและ หญิง?

ชีคอัลอัลบานีย์ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับหะดิษของอาอิชะฮฺและอุมมุลสะลามะฮฺซึ่งได้เป็นอิมามนำละหมาดบรรดาสตรี ดังคำกล่าวต่อไปนี้ว่า “อาซัร (คำพูดของศอหาบิยะฮฺ) ดังกล่าวเป็นสิ่งดี ที่ควรปฏิบัติ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับคำกล่าวของท่านรอซูลุลลอฮฺ   โดยทั่วไปแล้วบรรดาสตรีนั้นเหมือนกับผู้ชาย ซึ่งความเท่าเทียมกันนี้ ในแง่ของการละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ ไม่ใช่การได้รับผลบุญที่ดีกว่า ๒๕ หรือ ๒๗ เท่า” 

อ่านเพิ่มเติมตอนที่ 1   2  3  
หมายเลขบันทึก: 118420เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้องการข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับการขอดุอาอฺหลังละหมาดฟัรฏู

มีรายงานมากมายจากท่านนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) เกี่ยวกับการสอนให้กล่าวคำวิงวอน หรือดุอาหลังละหมาดฟัรฎูของท่านแก่ศอฮาบะฮฺ หรือสาวกของท่าน อาทิ

รายงานจากเษาบาน รอฎิยัลลอฮฺฮูอันฮูว่า เมื่อท่านรอซูล (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ละหมาดเสร็จแล้ว ท่านกล่าวว่า "อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ"  3 ครั้ง แล้วกล่าวว่า "อัลลอฮ ฮุมมะอันตัสสะลาม วะมิงกัสสะลาม ตะบาร็อกตะ ยาซัลญะลาลิลวัลอิกรอม" มีความหมายว่า

  "โอ้ อัลลอฮฺ พระองค์คือผู้ทรงสันติ และจากพระองค์คือความสันติ พระองค์เป็นผู้ทรงมีความจำเริญ โอ้ ผู้ทรงสูงส่งและผู้ทรงประเสริฐยิ่ง"

หากคุณ นุสรีย์ ต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมขอแนะนำให้หาอ่านในหนังสือ "ฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่ม 1 โดยสมาคมศิษย์เก่าอาหรับ บทที่ 18 ซุนนะฮฺต่างๆของการละหมาด หน้า 278 เรื่อง คำกล่าวและคำวิงวอนหลังจากให้สลามแล้ว"

หวังใจว่าจะตรงกับที่คุณนุสรีย์ ถามมานะครับ ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท