โยเกิร์ต อาหารเพื่อสุขภาพทางเดินอาหาร


พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าของโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยวมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีเรื่องราวของโยเกิร์ตมาฝากครับ...

พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าของโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยวมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีเรื่องราวของโยเกิร์ตมาฝากครับ... <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ช่วงปี 2437-2546 คนอเมริกาหันมากินผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์ หรือแบคทีเรียชนิดดีที่เรียกว่า โปรไบโอทิค (probiotics แปลว่า เพื่อชีวิต) เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า</p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

ปี 2450 ท่านอีลี เมทช์นิโคฟฟ์ นักชีววิทยาชาวรัสเซียตั้งข้อสังเกตว่า คนบัลแกเรียมีสุขภาพดี อายุยืน และอุจจาระไม่เหม็นมาก เนื่องจากกินโยเกิร์ตเป็นประจำ

ทางเดินอาหารของคนเรามี เชื้อท้องถิ่น หรือเชื้อประเภทพลเมืองดีค่อนข้างมากในช่วงแรกเกิด และค่อยๆ น้อยลงไปตามอายุที่มากขึ้น

เชื้อท้องถิ่น หรือเชื้อพลเมืองดีเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญๆ ได้แก่

  • ช่วยต่อต้านเชื้อโรค
  • ช่วยให้การย่อยอาหาร และการดูดซึมอาหารดีขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรง

เชื้อท้องถิ่นมีส่วนช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิด เช่น ท้องเสีย โรคติดเชื้อช่องคลอด โรคท้องเสียบ่อยไม่ทราบสาเหตุ (irritable bowel syndrome) ฯลฯ <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผลิตภัณฑ์ที่มีเชื้อท้องถิ่นดีๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นมหมัก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ฯลฯ ถั่วเหลืองหมัก เช่น มิโซะ (miso) เทมเป (tempeh) ฯลฯ </p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมเชื้อท้องถิ่นดีๆ ในรูปยาเม็ด แคปซูล ผง หรือผสมในเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ ฯลฯ

เชื้อเหล่านี้อาจถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการปรุงอาหาร เช่น ต้ม ทอด ฯลฯ ได้ เช่น ถ้านำมิโซะไปทำซุป เชื้อท้องถิ่นดีๆ อาจจะตายหมดได้ ฯลฯ

<p></p>

วิธีง่ายๆ ในการเลือกซื้อโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยวได้แก่

  1. เลือกชนิดไม่มีไขมัน (nonfat / 0% fat) หรือไขมันต่ำ (low fat) > ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกชนิดที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่เกิน 3% ของขีดจำกัดใน 1 วัน
  2. เลือกชนิดน้ำตาลต่ำ (low fat) > ความจริงชนิดไม่เติมน้ำตาลเลยน่าจะดีที่สุด ทว่า... รสชาดอาจทำให้กล้ำกลืนลงไปยากมากเกิน > โยเกิร์ตถ้วยส่วนใหญ่มีน้ำตาลต่ำกว่านมเปรี้ยว ถ้าเป็นไปได้... ควรเลือกชนิดมีน้ำตาลต่ำกว่า 15 กรัมต่อถ้วย
  3. เลือกชนิดเสริมเส้นใย(ไฟเบอร์) > เส้นใย(ไฟเบอร์)บางชนิดช่วยให้เชื้อท้องถิ่นดีๆ เจริญเติบโตได้ดี เช่น อินูลิน (inulin) ฯลฯ
  4. น่าจะลองเสริมเส้นใย(ไฟเบอร์)ดีๆ จาก กล้วย ไปก็ยิ่งดี กล้วยมีเส้นใย(ไฟเบอร์)ที่เสริมการเติบโตของเชื้อท้องถิ่นชนิดดี และเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ข่าวดีคือ โยเกิร์ตกับกล้วยช่วยให้อิ่มได้นานหลายชั่วโมง เหมาะกับการใช้เสริมสูตรลดความอ้วนมาก
  5. โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวบางชนิดเสริมวิตะมินดี (vitamin D) > วิตะมินดีช่วยเสริมการดูดซึมแคลเซียมได้เพิ่มขึ้น ช่วยป้องกันโรคกระดูกโปร่งบาง หรือกระดูกพรุน
  6. กินเชื้อท้องถิ่นดีๆ ให้หลากหลาย > วิธีง่ายๆ คือ ซื้อโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวต่างยี่ห้อ หมุนเวียนสลับเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้จุลินทรีย์ หรือเชื้อท้องถิ่นดีๆ หลายชนิดมาเสริมการทำงานกัน
  7. ไม่ควรกินโยเกิร์ต หรือดื่มนมเปรี้ยวช้าเกินไป เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นกรด และอาจทำให้ฟันสึกได้ถ้าสัมผัสฟันนานๆ โดยเฉพาะท่านที่มีอาการเสียวฟัน
  8. หลังกินหรือดื่ม > ควรบ้วนปากหลายๆ ครั้งหลังกินหรือดื่มทันที เพื่อลดภาวะกรดในช่องปาก ถ้าไม่มีโอกาสบ้วนปาก ควรหาหมากฝรั่งชนิดไม่มีน้ำตาลมาเคี้ยว เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำลาย(น้ำลายมีฤทธิ์เป็นด่าง หรือเบสอย่างอ่อน) บ้วนปากซ้ำหลายๆ ครั้ง และรอ 10 นาทีก่อนแปรงฟัน ถ้าแปรงฟันทันทีอาจทำให้ฟันสึกได้มาก (ช่วงแรกที่ฟันถูกกรด > เคลือบฟันจะอ่อนลงชั่วคราวทำให้สึกได้ง่าย)

ถึงตรงนี้… ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี และมีความสุขกับโยเกิร์ตสักถ้วยยามเช้าครับ <p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

ข่าวประกาศ...                                                  

  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "โยเกิร์ต"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "สุขภาพลำไส้"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "สุขภาพลำไส้ใหญ่"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อาหารเสริม"
  • [ Click - Click ] 
  • ขอแนะนำบล็อก > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                      

</span></span><ul><li><div class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt 35.7pt; text-indent: -17.85pt; tab-stops: list 36.0pt"> Many thanks to Intelihealth > Andrey Young, M.S., R.D., L.D.N. >  Food for thought > The benefits of probiotics > http://www.intelihealth.com/IH/ihtIH/EMIHC274/35320/35327/559639.html?d=dmtHMSContent > August 6, 2007.        <li> ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค </li>

  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 9 สิงหาคม 2550.
  • </span> </div></li></ul></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span>

    หมายเลขบันทึก: 118414เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท