AHS : ควันหลงนเรศวรวิจัย


นำผู้ที่ได้รับรางวัลการนำเสนองานวิจัยด้วยวาจาดีเด่นจากงานนเรศวรวิจัย มานำเสนอให้บุคลากรในคณะฟังอีกครั้ง

     งานนเรศวรวิจัย ของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่จัดขึ้นช่วงระหว่างวันที่ 28-29  กรกฏาคมจบไปเรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีควันหลง ที่งานวิจัย ของคณะสหเวชศาสตร์ นำผู้ที่ได้รับรางวัลการนำเสนองานวิจัยด้วยวาจาดีเด่น ของกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งไม่ใช่ใครที่ไหนเลยครับ เป็นบุคลากรภายในคณะ คือ อาจารย์สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์ และอีกท่านหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของบุคลากรสายสนับสนุนที่ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลการนำเสนองานวิจัยสถาบันด้วยวาจาดีเด่น คือ อาจารย์วลุลี โพธิรังสิยากร (พี่เจี๊ยบ) จากสำนักหอสมุด มานำเสนอให้บุคลากรภายในคณะสหเวชศาสตร์ ได้เห็นวิธีการนำเสนอที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัล โดยคณบดี (รศ.มาลินี ธนารุณ) ขอให้นำเสนอเหมือนวันที่นำเสนอในงานนเรศวรวิจัย มีการกดกริ่งเป็นสัญญาณเตือนด้วย พยามยามทำบรรยากาศให้เหมือนจริงครับ

  

 

 อาจารย์สุวรรณา  ถาวรรุ่งโรจน์

 

 อาจารย์วลุลี  โพธิรังสิยากร

  <p>
    ผมเรียกชื่องานที่ทางคณะจัดไม่ถูกนะครับ เจ้าภาพงานนี้คือ งานวิจัยของคณะ โดยมีอาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็ง  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพเป็นแม่งาน งานนี้จัดขึ้นเมื่อวาน (8 ส.ค. 50) อาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็ง ขอให้ผมช่วยเป็นผู้ดำเนินรายการให้ โดยจัดในรูปแบบ KM  เริ่มจากเชิญวิทยากรทั้ง 2 ท่าน คือ อาจารย์สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์ และอาจารย์วลุลี โพธิรังสิยากร ขึ้นนำเสนอให้ทุกคนฟังอย่างตั้งใจ

       เมื่อทั้ง 2 ท่านนำเสนอจบ มีการแบ่งกลุ่มล้อมวง ภายในกลุ่มเลือกประธานและเลขา ทุกคนช่วยกันถอดความสำเร็จของวิทยากรทั้ง 2 ท่าน ว่าทำอย่างไรถึงประสบความสำเร็จในการนำเสนองานวิจัย โดยให้เวลาประมาณ 30 นาที เมื่อหมดเวลาจะมีตัวแทนในกลุ่มมานำเสนอปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ทุกคนได้ร่วมลปรร.กัน </p><p>  </p><p></p><table border="0" align="center"><tbody>

       

</tbody></table>

       หลังจากนั้นเพื่อความชัดเจนมากขึ้น จะให้วิทยากรทั้ง 2 ท่านมาสรุปให้ทุกคนฟังแบบย่อ  ๆ อีกครั้งหลังจากที่ได้ฟังการนำเสนอของตัวแทนกลุ่มแล้ว บรรยากาศคึกคักดี เมื่อดร.วันวิสาข์ ยิงคำถามไปว่า ทำอย่างไรถึงได้รางวัล ผู้ที่จะไขข้อข้องใจในคำถามนี้คงหนีไม่พ้นวิทยากรทั้ง 2 ท่าน และนอกจากวิทยากรทั้ง 2 ท่านแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสิน ซึ่งในคณะมีท่านคณบดี และอาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็งในงานนเรศวรวิจัย ได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินด้วย ก็ช่วยให้ความชัดเจนมากขึ้น ในการพิจารณารางวัลครับ 

      จบลงการทำ AAR แบบเรียบง่าย ไม่มีพิธีรีตองมากนัก สุ่มเรียกทั้งผู้ที่มีประสบการณ์ และน้องใหม่ ได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นสำหรับการจัดงานในครั้งนี้

      งานนี้ไม่ได้เตรียมอะไรมากมาย แต่บรรยากาศในการจัดงานครั้งนี้ช่วยสร้างความคึกคักในงานวิจัยได้เป็นอย่างดีครับ 


                                                                          บอย สหเวช
                                                                           9 ส.ค. 50        

หมายเลขบันทึก: 118405เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณบอย บอกว่า "ผมเรียกชื่องานที่ทางคณะจัดไม่ถูกนะครับ" 

ดิฉันจึงขออนุญาต ตั้งชื่อให้นะคะ เผื่อวันหน้าวันหลังกลับมาอ่านอีก  จะได้ทราบเป้าหมายที่แท้จริง (หัวปลา : KV : Knowledge Vision) ของการจัดกิจกรรมครั้งนี้  ดังนี้

  • "ความสำเร็จของการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา"
  • "ถอดรหัสเทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา"
  • "นำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา อย่างไรจึงได้รางวัล"

เลือกเอาตามอัธยาศัยนะคะ....ท่านผู้ชม

และแบบนี้ ก็คือ KM ที่เนียนในเนื้องาน (ส่งเสริมศักยภาพการวิจัยของบุคลากร)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท