R & D : ลองทำดู (๔)


ขอให้สังเกตดูว่า  ขั้นที่ ๑ ของกระบวนการวิจัยเชิงประจักษ์นั้น "เริ่มต้น" ด้วย "การสังเกต" ธรรมชาติรอบข้างนะครับ  สังเกตแล้วก็เกิดปัญหาขึ้นมา

"สิ่งที่สังเกตได้" บอกให้เรารู้ว่า "สิ่งนั้นมีจริง" และ "ทำซ้ำได้"

ถ้า"ไม่มีจริง" เหมือนการมี"ต้นดาวเรืองต้นนี้"   "นายแดง"  "ก้อนหินก้อนนั้น"  "เจ้าด่างที่บ้านผม" ฯลฯ  เราก็ "สังเกตไม่ได้"  เมื่อสังเกตไม่ได้ ก็ "ประจักษ์ไม่ได้"  ถ้าสังเกตได้ ก็ "ประจักษ์ได้"

และถ้าประจักษ์ได้ก็ "แสดงว่า -- Imply ว่า -- ทำซ้ำได้ "

แต่ "การวิจัย" ก็คือ "Research"  ซึ่งหมายถึงว่า "ทำซ้ำ" ได้ !!

ดังนั้น  เราไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า "การวิจัยเชิงประจักษ์" หรือ Empirical Research แล้วละตรับ  เราใช้แต่เพียงคำว่า "การวิจัย" ก็พอแล้วครับ  ดังนั้น  จากนี้ไป  ผมจะใช้คำ Empirical Research  หรือ Research  เฉยๆ ก็ได้ความหมายหมายพอๆกันนะครับ

คราวนี้ เราหันมาดูคำว่า  "สังเกตได้" อีกครั้งว่า มัน "ลึกแค่ไหน"

เรา "สังเกตไฝดำที่หลังของเราไม่ได้เสย"  แล้วเราจะพูดสรุปว่า "ไม่มีไฝที่หลังของเรา" (สมมติว่าไม่มีกระจกเลย  และเราอยู่คนเดียวในโลก) ก็ไม่ได้ (ถ้าจริงๆแล้วมันมีไฝดำที่หลังของเราจริงๆ)

เรา"สังเกตดวงจันทร์ด้านมืด"ไม่ได้เลย (ในอดีตโน้นนะครับ)  แล้วเราจะมาลงสรุปว่า "ดังนั้นไม่มีภูเขาไฟที่ด้านมืดของดวงจันทร์"  (ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันมีอยู่จริง) ก็ไม่ได้  เพราะว่า  หลายร้อยปีต่อมา  เราสามารถสร้างยานอวกาศขึ้นไปดู  พบว่า  มันมีภูเขาไฟที่ดับแล้วอยู่เต็มไปหมด !!

มีสิ่งต่างๆเป็นจำนวนมาก ท่ขณะนี้เรา"สังเกตโดยตรงไม่ได้"  แต่ "มันมีความเป็นไปได้ที่จะสังเกตเห็นจริงๆสักวันหนึ่งในอนาคต"  เพราะว่า "จริงๆแล้ว มันมีอยู่จริง"  เช่น กาแล็กซี่ เป็นต้น

แต่ "บางอย่าง"  "ไม่มีความเป็นไปได้"  ที่จะ"สังเกตได้"  เพราะว่า "มันไม่มีจริง"  เช่น "เทวดา"  "ผี"  "พระอภัยมณี" ฯลฯ

ดังนั้น "การสังเกตได้" ใน "ขั้นที่ ๑ " นั้น  หมายถึง" การสังเกตได้โดยตรง หรือโดยอ้อม  เดี๋ยวนี้ หรือในอนาคต  มีความเป็นไปได้ที่จะสังเกตด้วย" ครับ

จากที่ได้กล่าวมา  จะเห็นว่า  ปัญหาที่(๔) และ (๕)  ท่สามารถนำไปใช้เป็นปัญหาการวิจัยได้

เป็นอันว่า จบสิ้นกระบวนการวิจัยขั้นที่ ๑  แล้วนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #การสังเกต
หมายเลขบันทึก: 118402เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท