รัชชานนท์ คนรักสุขภาพ
สเน่ห์คนเมือง คนเมืองมีเสน่ห์ รัชชานนท์ คนรักสุขภาพ น่วมนา

ว่าด้วยโรคของฮันจุงซู ( ฝากรักไว้ที่ปลายฟ้า )


ขอเอาใจแฟนละครเกาหลีนิดนึ่ง โดยจะนำเสนอโรคมะเร็งที่ดวงตา โรคที่เกิดกับนางเอกในเรื่องครับ ตามในเนื้อเรื่องก็คือ ฮันจุงซู นางเอกในเรื่องได้รับอุบัติเหตุจากรถชน

ว่าด้วยโรคของฮันจุงซู ( ฝากรักไว้ที่ปลายฟ้า )
 ขอเอาใจแฟนละครเกาหลีนิดนึ่ง โดยจะนำเสนอโรคมะเร็งที่ดวงตา โรคที่เกิดกับนางเอกในเรื่องครับ   ตามในเนื้อเรื่องก็คือ ฮันจุงซู  นางเอกในเรื่องได้รับอุบัติเหตุจากรถชน แทนที่จะไปตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด มัวแต่ไปเสียเวลาง้องอนกับ พระเอกจึงทำให้ละเลยต่อการดูแลสุขภาพจนเกิดเนื้อร้ายและเป็นมะเร็งที่ดวงตาในที่สุด ซึ่งก็ยากเกินที่แพทย์จะรักษาได้  ส่วนตอนจบจะเป็นอย่างไรนั้น อันนี้ก็ต้องติดตามชมเองนะครับ   กลับมาที่ชีวิตจริงกันนะครับ ในชีวิตจริงของเรานั้นนะครับ มิได้เหมือนกับในละครที่ผู้กำกับ หรือ คนเขียนบทจะแก้บทดั่งใจหวัง ตัวเราเองต่างหากครับที่เป็นคนกำหนดชะตาชีวิต   โดยเริ่มต้นจากการสังเกตุอาการดังต่อไปนี้นะครับ
1. พบตุ่ม ก้อน โตขึ้นเรื่อยๆ ภายในร่างกาย เช่น ผิวหนัง เต้านม     ริมฝีปาก ฯลฯ
2. เป็นแผลเรื้อรังนานๆ ไม่หายขาด
3. ตกขาวมาก และมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
4. เป็นหูด ไฝ ปาน ที่โตขึ้นผิดปกติ
5. ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลดมาก
6. การขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะที่ผิดไปจากปกติวิสัย
7. หูอื้อ มีเลือดกำเดาไหลผิดปกติ
8. ไอ เรื้อรัง เสียงแหบแห้งอยู่เสมอ
 สำหรับ สาเหตุ และ ปัจจัยเสี่ยง ของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกได้ดังนี้
1.  เกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือภายนอกร่างกาย  ปัจจุบันเชื่อกันว่ามะเร็งอาจ เกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
1.1  สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร และเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจากเชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน ( Alfatoxin ) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน ( Hydrocabon ) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร
ชื่อ ไนโตรซามิน ( Nitosamine ) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอกซเรย์ อุลตร้าไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพมพิสโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น
2.  เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย เช่น เด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิด มีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง เป็นต้น
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและในลำคอด้วย
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีสารพิษอัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร เช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาสจะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ และต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
ท่อน้ำดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัสเอดส์ จะเสี่ยงต่อการเป็น
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิว และส่วนไหม้เกรียมของอาหารเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำ จะได้รับอันตรายจากแสงแดดที่มีปริมาณของแสงอุลตร้าไวโอเลตจำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้
 สำหรับการรักษานั้น หากท่านมีความสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ท่านควรเริ่มต้นจากการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ เอกซเรย์ทำสะแกน (scan) ตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ (biopsy) และให้การรักษาด้วยการผ่าตัด, ฉายรังสี  (รังสีบำบัด) , หรือให้ยารักษามะเร็ง (เคมีบำบัด) หรือปลูกถ่ายอวัยวะ (เช่นไขกระดูก) ผลการรักษา ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง ระยะความรุนแรงของโรค และสภาพของผู้ป่วย (ความร่วมมือในการรักษา , การปฏิบัติตน , ความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย , กำลังใจ เป็นต้น)มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม , มะเร็งปากมดลูก , มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ , มะเร็งต่อมน้ำ
เหลืองบางชนิด, มะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด, มะเร็งในช่องปาก, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งโพรง
หลังจมูก, มะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น โรคมะเร็ง ถ้าหากได้รับการรักษาตั้งแต่แรก อาจมีชีวิตอยู่ได้นานหรืออาจหายขาดได้ แต่หากเป็นมะเร็งตับหรือปอดมักอยู่ได้ไม่นาน เฉลี่ยประมาณ  6 - 12  เดือน ฉะนั้นแล้วการตรวจสุขภาพน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคนี้นะครับ  สุดท้ายนี้มีหนึ่งประโยคที่จะขอฝากไว้นะครับว่า

รู้ก่อนป่วยดีกว่าป่วยแล้วรู้

หมายเลขบันทึก: 118379เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คอลัมน์หน้าอยากอ่านเรื่องเกี่ยวกับปัญหา ข้อเสีย และผลกระทบจากการใส่คอนแทคเลนส์ มีมั้ยค่ะ

ตอบคุณออยครับ

อย. เข้ม วางมาตรการคุมคอนแทคเลนส์แฟชั่น ต้องแจ้ง อย.ก่อนผลิต/นำเข้า


เตือน กลุ่มวัยรุ่นไทยที่นิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตากลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี ญี่ปุ่น หากใช้ไม่ระมัดระวังอาจทำให้ตาบอดเหมือนกับชายชาวนิวส์ซีแลนด์ที่ตาบอดจากการสวมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อความสนุกสนานในงานปาร์ตี้ อย. เตรียมวางมาตรการเข้มให้ผู้ผลิต/นำเข้า ต้องแจ้งรายการละเอียดต่อ อย. ก่อนผลิต/นำเข้า คอนแทคเลนส์ทุกประเภท ทั้งชนิดปรับสายตา และแฟชั่น อีกทั้งกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องจำหน่ายคอนแทคเลนส์ให้กับสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น เช่น สถานพยาบาล วอนผู้บริโภคอย่าซื้อคอนแทคเลนส์ที่จำหน่ายตามแผงลอย เพราะอาจเป็นอันตรายถึงขั้นตาบอด หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที

นพ. นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข่าวทาง หนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับกรณีที่ชายชาวนิวซีแลนด์ต้องตาบอดข้างหนึ่งเพราะ สวมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นสำหรับเปลี่ยนสีหรือรูปแบบของดวงตา เพื่อความสนุกสนานในงานปาร์ตี้ แต่เกิดการติดเชื้อหลังสวมใส่คอนแทคเลนส์นาน 3 วัน อีกทั้งเมื่อต้นปี 2549 กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่หลายสู่กลุ่มวัยรุ่นไทย เนื่องจากต้องการให้ตากลมโตตามแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและห่วงใยผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอนแทคเลนส์ชนิดที่ใช้เพื่อปรับสายตาที่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ และชนิดสวมใส่เพื่อ ความสวยงามที่ไม่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ซึ่งหากใช้ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้และอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ ทั้งนี้ในการใส่คอนแทคเลนส์นั้น จะต้องได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักทัศนมาตรศาสตร์หรือคำแนะนำ บนฉลากอย่างเคร่งครัด จากกรณีดังกล่าว อย. จึงได้มีมาตรการกำกับดูแลคอนแทคเลนส์ ทุกประเภทให้เข้มงวดมากขึ้น โดยได้จัดทำร่างประกาศกำหนดให้คอนแทคเลนส์ ทุกประเภทเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า จะต้องแจ้งรายการละเอียดต่อ อย. ก่อนผลิตหรือนำเข้า อีกทั้งได้กำหนดให้ฉลากของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะต้องมีคำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังต่าง ๆ บนฉลากอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม อย. ขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการใช้คอนแทคเลนส์ทุกชนิด โดยไม่ควรซื้อ มาใช้เองและซื้อจากร้านที่เป็นแผงลอย ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด และหากมีภาวะผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ ก็ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ และการใช้ คอนแทคเลนส์ทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสเลนส์ ห้ามใส่นานเกินระยะเวลาการใช้งานที่กำหนด ห้ามใช้ร่วมกับบุคคลอื่น ห้ามใส่ขณะว่ายน้ำเพราะอาจทำให้ติดเชื้อที่ตา และห้ามใส่ในเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม และถอดทำความสะอาดทุกวัน ซึ่งหากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมากร่วมกับอาการ แพ้แสง ตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันที และให้รีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์โดยเร็ว


กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เดือนมกราคม ข่าวแจก 26 / ปีงบประมาณ 2550
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท