“ พระราชปริยัติสุธี พระนักประพันธ์และนักเทศน์ ของชาวสุพรรณ ”


 

 

พระราชปริยัติสุธี พระนักประพันธ์และนักเทศน์ ของชาวสุพรรณ

ผมได้ทราบมาว่าพระราชปริยัติสุธีได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีและมีการเฉลิมฉลองของคณะศิษยานุศิษย์เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงพยายามค้นคว้าเรื่องราวของท่านนำมาเผยแพร่ ให้ผู้สนใจทราบ

  

         อยู่เพื่อตัว อยู่แค่สิ้นลม        อยู่เพื่อสังคม อยู่คู่ฟ้าดิน หลายๆท่านคงเคยได้ยินได้ฟังคำสอน ที่เป็นคำคล้องจอง สละสลวย มีความหมายกินใจ ข้อความนี้ และคงอยากรู้ว่าใครคือผู้เผยแพร่ถ้อยคำสอนของครูบาอาจารย์ที่เยี่ยมยอดเช่นนี้ ผมจึงขออนุญาตนำเรื่องราวของท่านมาเผยแพร่ เพื่อความภาคภูมิใจของชาวสุพรรณ ท่านเป็นพระราชาคณะชั้นราช เป็นพระนักเทศน์ที่เคยแสดงธรรมทางโทรทัศน์ให้คนไทยทั้งประเทศประทับใจมาแล้ว เป็นพระนักประพันธ์ที่มีผลงานทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองมากมาย ท่านคือพระราชปริยัติสุธี ( สอิ้ง       สิรินันโท ป..) รองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

 

            พระราชปริยัติสุธี มีนามเดิมว่า สอิ้ง  อาสน์สถิต ชาติภูมิของท่านอยู่ที่ บ้านท่าไชย อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เกิดเมื่อ วันศุกร์ แรม 14 ค่ำ เดือนอ้าย ตรงกับวันที่ 4 มกราคม พ..2477 เป็นบุตรนายทองหล่อ นางทองคำ อาสน์สถิตย์ เริ่มบรรพชา เมื่อ พ. 2494 ขณะมีอายุ 17 ปี โดยมีพระครูวินยานุโยค(บุญ) เจ้าอาวาสวัดยางยี่แส อำเภออู่ทอง เป็นพระอุปัชฌาย์และจำพรรษาแรกที่วัดเขาพระ อำเภออู่ทอง

             ในขณะเป็นสามเณรท่านสอบได้นักธรรมตรี ในสนามหลวงวัดยางยี่แส เมื่อปีพ.. 2494 สอบได้นักธรรมโทและนักธรรมเอก ในสนามหลวงวัดสองพี่น้อง เมื่อปีพ.. 2495และ2497 ตามลำดับ และในปีพ..2497และปี พ..2498นี้ท่านก็สอบ เปรียญธรรม 3 ประโยคและ 4 ประโยค ในสนามหลวงวัดปราสาททอง สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง            เมื่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับวันที่ 4 เมษายน พ..2498 ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดท่าไชย ตำบลหัวโพธิ์ อำเภอสองพี่น้อง โดยมีเจ้าคุณพระวิบูลเมธาจารย์(เก็บ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจำนงค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอธิการหนุน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จากนั้นท่านก็ได้ศึกษาต่อดังนี้

-         ปี พ..2499 สอบได้ ป..5 ในสนามหลวงวัดมหาธาตุ สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง

-          ปี พ..2501 สอบได้ ป..6 ในสนามหลวงวัดสามพระยา สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง

-          ปี พ..2502 สอบได้ ป..7 ในสนามหลวงวัดเบญจมบพิตร สำนักเรียนวัดดอนเจดีย์

-          ปี พ..2512 สอบได้ ป..8 ในสนามหลวงวัดสามพระยา สำนักเรียนวัดสองพี่น้องหน้าที่และสมณศักดิ์ของท่าน มีดังนี้

- ..2497       เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม

- ..2500       รักษาการศึกษาธิการอำเภอสองพี่น้อง

- ..2502       เป็นพระกรรมวาจาจารย์

- ..2505       รักษาการเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง

- ..2509       รักษาการเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง

- ..2511       เป็นเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง

- ..2512       เป็นพระอุปัชฌาย์และรองเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง

- ..2514       รักษาการเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง

- ..2515       เป็นเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง

- ..2516       เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสิรินันทเมธี

- ..2522       เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

- ..2531       เป็นพระปริยัตินิเทศก์ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี

- ..2533       เป็นประธานศูนย์ครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี

- ..2539       เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชปริยัติสุธี

           ท่านเจ้าคุณเป็นผู้เอาใจใส่ในการศึกษา เป็นนักคิด นักเผยแพร่และนักพัฒนา มีผลงานมาก ที่สำคัญยิ่ง คือ ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีฯและพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่ประชาชนนิยมไปเที่ยวชมและสักการะบูชา ท่านเจ้าคุณเป็นทั้งศักดิ์ และศรี ที่คณะสงฆ์และชาวสุพรรณภูมิใจนี่คือคำพูดของพระธรรมมหาวีรานุวัตรเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีองค์ก่อนที่กล่าวถึง พระราชปริยัติสุธี

                 ในด้านผลงานหนังสือ สมัยหนึ่งท่านเคยใช้นามปากกาในการประพันธ์ว่าสอ รักศรีแทน มหาสอิ้งในการเขียนบทกลอนและบทความอื่นๆ ขณะทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการของวารสาร...”ซึ่งหมายถึงเสียงสงฆ์สองพี่น้องหรือเสียงสงฆ์สุพรรณในโอกาสที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระราชปริยัติสุธี คณะศิษย์ได้จัดพิมพ์หนังสือมรดกหลวงพ่อรวมรวมผลงานส่วนหนึ่งของท่านออกเผยแพร่ เช่นตับเบญจศีล-เบญจธรรมและตับมงคลสูตร เป็นผลงานดีเด่นซึ่งเคยตีพิมพ์ในหนังสือเพลงศาสนาหลายครั้ง

            ผลงานของท่านเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่ท่านนำมาเผยแพร่ ในรูปแบบที่ให้ผู้อ่านผู้ฟังจำกันง่ายๆ จึงปรากฏว่ามีวัดและสถาบันต่างๆหลายแห่ง ได้นำคติธรรมคำสอนของท่านมาเขียนเป็นป้ายติดไว้ตามต้นไม้บ้าง ตามศาลาบ้าง ตามแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาบ้าง จนถึงกับนำไปพิมพ์เป็นสติกเกอร์ แจกเป็นธรรมทานก็มี

            สัจภูมิ ละออ  เคยเขียนถึงความสามารถและผลงานของพระเดชพระคุณท่านลงพิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมไทยว่าเลื่องลือกันว่า พระสิรินันทเมธี(สมณศักดิ์ขณะนั้น)คารมด้านร้อยกรองนั้นเป็นเลิศ เมื่อนมัสการถาม พระคุณท่านตอบอย่างถ่อมตนว่าเป็นน่ะพอเป็น แต่เขียนน่ะไม่ค่อยได้เขียน นอกจากมีอารมณ์ขึ้นมาในเรื่องอะไร แล้วไม่ค่อยจะเกิดง่ายๆแต่เรารู้หลักเกณฑ์การเขียนนี่จะเรียกว่าเป็นนักกลอนเรียกไม่ได้เลย ไม่มีผลงาน ที่มีอยู่ก็สองเรื่องเท่านั้น คือกลอนเบญจศีล-เบญจธรรม สมัยก่อนอาตมาชอบเกี่ยวกับหนังสือ ทำวารสารอยู่ ตอนเป็นเจ้าคณะอำเภอ ชื่อ เสียงสงฆ์สองพี่น้อง ทำตั้งแต่ปี พ..๒๕๑๔ แจกทั่วประเทศเลย กลอนเบญจศีล-เบญจธรรมก็เขียนลงในวารสารนั้นแล้วในตอนหลังมีคนขอร้องให้เขียนเรื่องมงคลสูตรอาตมาก็เริ่มไปหน่อย ไม่ทันจะเข้ากลอน วารสารมันก็ล้มเลยเลิกแล้วมาเขียนต่อที่หลังลองอ่านสำนวนของท่าน ในหนังสือเพลงศาสนา เบญจศีล-เบญจธรรมและมงคลสูตรในบทที่ว่าด้วย มงคลข้อ คารโว จ นะครับ

          ใครหยามดิน หมิ่นฟ้า ต้องอาภัพ 

         ดินไม่รับ ฟ้าโกรธ โทษมหันต์           

         เป็นอย่างนี้ อยู่ได้ อย่างไรกัน                    

         เพราะฉะนั้น จงอย่า หยามฟ้าดิน           

รู้จักมี สัมมา คารวะ                                

ตามฐานะ น้อยใหญ่ ไม่ติฉิน           

ที่ด้อยกว่า เมตตา เป็นอาจิณ                   

ไม่คิดหมิ่น ผู้ใหญ่ ใจภักดี           

ต่ำเป็นดิน สูงเด่น ก็เป็นฟ้า                      

ดินศรัทธา ฟ้ารัก เป็นศักดิ์ศรี

อยู่กับใคร ที่ไหน ย่อมได้ดี            

จะไม่มี ใครชัง รังเกียจเรา

ขรรค์ชัย บุนปาน นักหนังสือพิมพ์คนดัง มักเขียนถึงท่านพระราชปริยัติสุธีในหนังสือพิมพ์มติชนอยู่บ่อยๆดังข้อความที่ว่า หลวงพ่อใหญ่(หมายถึงพระธรรมมหาวีรานุวัตร)เป็นพระที่เย็นถึงขนาด ส่วนหลวงพ่อสอิ้ง ก็คล่องโดยสำรวมทุกส่วน ศีลาจารวัตรงามไม่มีพร่องทั้งคู่

            พระราชปริยัติสุธีเป็นศิษย์รูปสำคัญของพระวิบูลเมธาจารย์(เก็บ)ท่านได้นำสิ่งที่มีคุณค่าที่อาจารย์สอนไว้มาเผยแพร่ สร้างสรรค์ ดังคำสอนที่ท่านนำไปแสดงอยู่เสมอว่าอยู่เพื่อตัว อยู่แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคม อยู่คู่ฟ้าดิน

            ตัวผมเองเคยได้ฟังปาฐกถาธรรมจากพระราชปริยัติสุธีหลายครั้ง รู้สึกประทับใจมาก โดยเฉพาะท่าน ได้นำถ้อยคำที่คล้องจอง มีความหมายลึกซึ้ง และจำง่ายๆ มาฝากไว้ทุกครั้ง พระเดชพระคุณท่านคือภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาวสุพรรณและชาวไทยยิ่งนัก

           ในโอกาสที่ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี พวกเราขอแสดงมุทิตาจิตและรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งครับ 

คำสำคัญ (Tags): #ภูมิปัญญา
หมายเลขบันทึก: 118377เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณ อ.พิสูจน์ มากที่รวมไว้ได้ละเอียดดีมาก
  • ผม และ เป็นชาวสุพรรณ  หลาย ๆ คน ยังไม่ทราบละเอียดอย่างนี้เลย
  • บล็อกของ อ.พิสูจน์ มีคุณค่ามหาศาลจริงๆ
  •  มีชาวสุพรรณบุรี และผู้ที่ศรัทธาร่วมแสดงมุทิตาจิตมากมาย  ชาวบางลี่วิทยาก็ได้มีโอกาสไปร่วมด้วย ในช่วงเย็น
  • ขอขอบคุณ ท่านผอ.ประจักษ์ที่ติดตามเยี่ยมชมและให้กำลังใจ ครูและบุคลากรตลอดมา
  • กราบหลวงพ่อเล็ก  (พระราชปริยัติสุธี ) ด้วยเครารพและศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง
  • มายืนยันร่วมกับครูพิสูจน์ว่า  ท่านเป็นที่เคราพรัก และศรัทธาเป็นอย่างยิ่งของชาวสุพรรณ ท่านเป็นพระสงฆ์  ที่เป็นตัวอย่างในการเผยแผ่พุทธศาสนาสู่การปฏิบัติตนของคนทั่วไปได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • ที่สำคัญท่านไม่ยึดติด ไม่สะสม และเป็นพระผู้ให้มาโดยตลอด
  • วิถีชีวิต และวิถีธรรมของท่าน ควรอย่างยิ่งต่อการให้เด็กได้เรียนรู้ค่ะ ครูพิสูจน์

 

 

  • ขอบพระคุณหัวหน้าลำดวนที่มาช่วยเสริมเติมเต็มครับ
  • เนื้อหา บันทึกของผม มิใช่เผยแพร่เฉพาะชาวสุพรรณ
  • แต่ผมต้องการให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงอัจฉริยภาพและจริยาวัตร ของท่าน พระราชปริยัติสุธี ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท