ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้าน : ทำไมอิสรชนไม่นำคนออกจากพื้นที่


ความเชื่อของอิสรชนเกี่ยวกับครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้าน คือ ต้องสร้างพื้นที่แห่งความสุขให้เขา เพื่อให้เขาเกิดความคิดที่จะหยุดเร่ร่อนและเปลี่ยนวิถีชีวิต จากในพื้นที่เอง โดยไม่ต้องกวาดจับ แต่ให้เดินเข้าไปยังจุดให้บริการที่ภาครัฐมีอยู่โดยสมัครใจ และจากนั้น ภาครัฐจะทำงานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะทุกอย่างจะเกิดจากความต้องการของเขาเองและมันน่าจะมีความยั่งยืนมากกว่าที่รัฐจะยัดเยียดความเหมาะสมให้ โดยจะอ้างรัฐธรรมนูญ ว่าสิ่งที่จัดสรรให้นี้คือความเหมาะสมแล้ว ??

ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้าน : ทำไมอิสรชนไม่นำคนออกจากพื้นที่ 

         หลายคนสงสัยว่าทำไม สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์) ในฐานะที่เป็นองค์กรภาคเอกนที่ทำงานเชิงลึกกับครอบครัวเร่ร่อนในพื้นที่สนามหลวง ไม่ยอมนำคนที่สนามหลวงออกจากพื้นที่?? คำถามนี้ ถ้าจะให้ตอบ ก็คงต้องตอบ ในสองส่วนของฐาคิดและที่มาของเหตุผลในการตัดสินใจทำงานในพื้นที่แทนที่จะนำคนเล่านี้ออกจากพื้นที่ 

          ถามว่าทำไมคนต่างจังหวัดถึงมาอยู่ที่สนามหลวง หลายคนอาจจะสงสัยว่า เหตุอะไรที่ทำให้คนจากต่างจังหวัดถึงได้มุ่งตรงมาที่ท้องสนามหลวงเมื่อมาถึงกรุงเทพมหานคร คำตอบที่อาจจะฟังดูแล้ว ต้อง เกิดคำถามต่อ ผสมกับเครื่องหมายคำถามที่เกิดขึ้นกลางหน้าผากของคนฟังคำตอบ แต่หาก ใคร่ครวญและพิจารณาดีดี จะพบว่ามันคือความจริงอย่างนั้น คำตอบของคำถามนี้ก็คือ คนชนบท หรือคนต่างจังหวัด ติดภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร จากภาพยนตร์ไทย ในยุคก่อน ๆ หรือบางครั้งก็ในยุคนี้ด้วย ที่ จะฉายภาพการเดินทางของตัวละครท่มาจากต่างจังหวัดว่ามาถึงกรุงเทพมหานคร คือ ต้องมาที่ท้องสนามหลวง พระบรมมหาราชวัง พร้อมบทพูดสำทับว่า หากหลงทางให้มารอที่สนามหลวง รับรองว่า ตามกันเจอแน่นอน ??? และนั่นเอง คือ หน่วยความจำ หรือ รหัสลับที่ซ่อนไว้ในสื่อที่ส่งออกไปผ่านหนังกลางแปลงในยุคหนึ่ง และฝังรากลึกจน แม้ในปัจจุบันของคำสั่งเสีย หากมาหลงทางในกรุงเทพมหานคร ก็ให้มารอกันที่ท้องสนามหลวง??? 

          แต่เรื่องราวที่สร้างความผูกพันให้กับคนที่มาใช้ชีวิตที่ท้องสนามหลวงต่าหาก คือจุดเริ่มต้นที่แท้จริงขอคำตอบว่า แล้วทำไม คนส่วนหนึ่งถึงมาใช้ชีวิตที่ท้องสนามหลวง ทำไมเราจะพบเห็นคนมานอนพักผ่อน มานอนหลับค้างคืน มาตั้งวงพูดคุย ไปจนถึงวงข้าววงเหล้ากันที่สนามหลวง หากใครเกิดทันที่จะมาหัดขับขี่จักรยานที่ท้องสนามหลวงน่าจะพอจำว่าสนามหลวงมีชีวิต มีจิตวิญญาณอะไรซ่อนอยู่บ้าง ภาพของการละเล่นกีฬาแบบไทย ๆ ทั้งตะกร้อลอดบ่วง กีฬาว่าว และอื่น ๆ ที่จะพบเห็นได้ไม่ยากนักในยุคหนึ่งของสนามหลวง รวมถึง ภาพบรรยากาศของตลาดนัดใจกลางพระนครที่ใช้สนามหลวงเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอย และ ภูมิปัญญาแบบไทย ๆ ในการใช้เวลาในวันหยุดพักผ่อน 

           ครั้นต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปของระบบสังคม การขยายตัวของเมืองที่รุกไปสู่ชานเมืองที่ปัจจุบันคือกลางใจเมืองแทนไปแล้ว สนามหลวงก็ได้รับการจัดสรรให้เป็นเขตต้องห้ามภายใต้เงื่อนไขและข้ออ้างที่ว่า เป็นเขตพระราชฐานบ้าง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวบ้าง เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์บ้าง ทำให้เกิดมาตรการแยกคนออกจากพื้นที่ เพื่อสร้างภูมิทัศน์ และ ภาพลักษณ์ของสถานที่ตามความเชื่อและความคิดของคนที่ออกมาตรการนั้น ๆ เองโดยไม่ถามความคิดเห็นคนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการพื้นที่ดังกล่าว 

          ใจจริงอยากจะเสนอให้ประเทศไทย เสนอให้สนามหลวงเป็นมรดกโลกทาวัฒนธรรมไปเสียเลยในรู้แล้วรู้รอด เพื่อที่จะได้ใช้มาตรการสากลมาจัดการให้คนอย่กับพื้นที่ได้อย่างเกื้อกูลกันและกัน พื้นที่ต้องมีคนต้องมีชีวิตชีวา ไม่ใช่กันคนออกล้อมรั้ว แล้วมานั่งภาคภูมิใจว่าสามารถจัดการให้พื้นที่ ที่เคยมีชีวิตชีวา กลายเป็นพื้นที่ร้างไปเสียเฉย ๆ 

          ความเชื่อของอิสรชนเกี่ยวกับครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้าน คือ ต้องสร้างพื้นที่แห่งความสุขให้เขา เพื่อให้เขาเกิดความคิดที่จะหยุดเร่ร่อนและเปลี่ยนวิถีชีวิต จากในพื้นที่เอง โดยไม่ต้องกวาดจับ แต่ให้เดินเข้าไปยังจุดให้บริการที่ภาครัฐมีอยู่โดยสมัครใจ และจากนั้น ภาครัฐจะทำงานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะทุกอย่างจะเกิดจากความต้องการของเขาเองและมันน่าจะมีความยั่งยืนมากกว่าที่รัฐจะยัดเยียดความเหมาะสมให้ โดยจะอ้างรัฐธรรมนูญ ว่าสิ่งที่จัดสรรให้นี้คือความเหมาะสมแล้ว ?? 

            ดังนั้น การทำงานของอิสรชนที่ยืนยันให้ ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้าน อยู่ในพื้นที่ ระหว่างรอการตัดสินใจที่จะหยุดเร่ร่อน หรือปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตก่อนที่จะ รับการดำเนินการช่วยเหลือใดใดจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน แต่ ต้องจัดสรรและสร้างข้อตกลงในการอยู่ในพื้นที่สาธารณะอย่างเหมาะสมและไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใช้บริการในพื้นที่คนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้าน หากทำได้ก็จะเกิดมิติใหม่ของการทำงานที่มองภาพของการแก้ไขปัญหาที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 118201เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท