การขยายพันธุ์หม่อนที่ท่อนพันธุ์ออกรากยาก


ขยายพันธุ์หม่อนที่ท่อนพันธุ์ออกรากยาก

การขยายพันธุ์หม่อนที่ท่อนพันธุ์ออกรากยาก 

วิโรจน์ แก้วเรือง           

     การเลี้ยงไหม เป็นกิจกรรมเก่าแก่ของชาวไทยภาคอีสานมาเป็นเวลาช้านาน อาจมีมาตั้งแต่สมัยบ้านเชียง หรือมากกว่า ๔,๕๐๐ ปีมาแล้วเป็นกิจกรรมที่ทำกันเกือบทุกครัวเรือน ซึ่งยังพอมีให้เห็นตามหมู่บ้านชนบทในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะหลังการทำนาเสร็จรอการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะทำการเลี้ยงไหมกอรปกับเป็นช่วงฤดูฝนต้นหม่อนที่ปลูกไว้ใกล้บ้านหรือตามหัวไร่ปลายนากำลังแตกกิ่ง ผลิใบจนเขียวสมบูรณ์ เหมาะที่จะใช้เลี้ยงไหม เมื่อเลี้ยงไหมได้รังแล้วก็สาวเส้นไหมไว้ เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวข้าวก็จะช่วยกันเก็บเกี่ยวพืชผลก่อน หลังจากนั้นแม่บ้านก็จะทำการทอเป็นผืนผ้าชนิดต่างๆ เช่นผ้าถุง โสร่ง สไบ ผ้าขาวม้าฯลฯ นอกจากเก็บไว้ใช้สอยในครอบครัวแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือจำหน่ายได้อีกด้วย ทำให้การปลูกหม่อนลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมได้สืบทอดต่อกันมาจากย่า...สู่หลาน           

     ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ รัฐบาลไทย  ส่งเสริมให้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแผนใหม่ เพื่อจำหน่ายรังให้โรงงานสาวไหม เพื่อผลิตเส้นไหมยืนไว้ใช้ภายในประเทศ ลดการนำเข้าเส้นไหมยืน มีระบบการปลูกหม่อน บำรุงรักษา และตัดแต่งหม่อนเพื่อให้ได้ใบหม่อนเพียงพอต่อการเลี้ยงไหม แต่พันธุ์หม่อนก็ยังคงใช้พันธุ์พื้นเมือง เช่น หม่อนน้อย สร้อย ตาดำ หรือคุณไพ ที่ให้ผลผลิตต่ำปีละประมาณ ๑,๓๐๐-,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ต่อมาในปี ๒๕๓๐ กรมวิชาการเกษตรได้รับรองหม่อนพันธุ์นครรราชสีมา๖๐ (นม.๖๐ )และพันธุ์บุรีรัมย์ ๖๐ (บร.๖๐) ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองมากกว่า ๕๐% คือ ปีละประมาณ ๓,๖๐๐-,๐๐๐กิโลกรัมต่อไร่ แต่หม่อนทั้ง ๒พันธุ์ก็มีข้อจำกัด เช่นหม่อนพันธุ์ บร.๖๐ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยท่อนพันธุ์แต่ทนแล้งได้น้อยกว่าพันธุ์ นม.๖๐ ดังนั้นพันธุ์ นม.๖๐ จึงเหมาะสมในการปลูกในเขตเกษตรน้ำฝนมากกว่าพันธุ์     บร.๖๐ แต่หม่อนพันธุ์นี้มีข้อจำกัดคือ ท่อนพันธุ์จะออกรากยาก ท่อนพันธุ์อายุ ๔ เดือน  จะออกรากเพียง   % ท่อนพันธุ์อายุ ๖ เดือนและ ๘ เดือนจะออกราก ๑๔ และ ๔๐%  ตามลำดับ ที่ผ่านมาการขยายพันธุ์จึงต้องใช้วิธีการติดตาบนต้นหรือกิ่งพันธุ์หม่อนที่ออกรากง่าย เช่น หม่อนน้อย ไผ่ หรือพันธุ์ที่ปลูกอยู่ในแปลงเดิมแต่การติดตาจำเป็นต้องมีความชำนาญ มิฉะนั้นจะเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ทำให้การแพร่กระจายของหม่อนพันธุ์ นม.๖๐ เป็นไปอย่างล่าช้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร           

     ขณะนี้มีวิธีที่ดีกว่า ประหยัดทั้งเวลาและเงิน  ค่าใช้จ่ายกว่าการติดตาประมาณ ๗-๑๐ เท่า สามารถขยายพันธุ์หม่อน นม.๖๐ ที่ท่อนพันธุ์ออกรากยากได้มากกว่า ๘๐% ได้หลายวิธีดังนี้คือ

วิธีที่ ๑ (ท่อนพันธุ์จะออกรากประมาณ ๘๕% ปฏิบัติได้ผลดีทุกฤดูกาล)           

     ๑.๑ ใช้กิ่งพันธุ์หม่อน นม.๖๐ อายุ  ๖-๘ เดือนใช้เฉพาะส่วนที่เป็นกิ่งแก่ (กิ่งสีน้ำตาลและสีน้ำตาลปนเขียว) หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกป้องกัน การคายน้ำของกิ่งและตาบ่มไว้ที่ห้องอุณหภูมิ ๕ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๕ วัน           

     ๑.๒ ตัดท่อนพันธุ์ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร           

     ๑.๓ นำท่อนพันธุ์ไปปักชำในกระบะเพาะชำที่ใช้ทรายผสมแกลบเผา อัตราส่วน ๑:๑ เป็นเวลา   ๓-๔ เดือน โดยรดน้ำให้กระบะมีความชื้นอยู่เสมอ           

     ๑.๔ นำกิ่งปักชำไปปลูกในแปลงได้ โดยตัดรากและกิ่งหม่อนใหม่ให้เหลือยาวประมาณ ๒-๓นิ้วก่อนนำไปปลูก 

วิธีที่ ๒ (ท่อนพันธุ์จะออกรากประมาณ ๙๐% ปฏิบัติได้ผลดีทุกฤดูกาล)           

     ๒.๑ ใช้กิ่งพันธุ์หม่อน นม.๖๐ อายุ ๖-๘ เดือนใช้เฉพาะส่วนที่เป็นกิ่งแก่หุ้มด้วยพลาสติกบ่มไว้ที่ห้องเย็น ๕ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๕วัน           

     ๒.๒ ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑.๒           

     ๒.๓ นำฮอร์โมน เอ็นเอเอ (NAA) ๙๘% จำนวน ๑ กรัม ละลายด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ ๗๐%ประมาณ  ๑๐ ซีซี (๑ ช้อนแกง)           

     ๒.๔ เติมสารละลายเอ็นเอเอ ลงในน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ จำนวน ๑ ลิตร ใช้วัสดุที่ไม่ดูดสารละลาย เช่น แท่งแก้วหรือปากกาคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าต้องการจุ่มท่อนพันธุ์จำนวนมากให้เพิ่มปริมาณสารละลาย โดยใช้อัตราส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น            

     ๒.๕ นำท่อนพันธุ์หม่อนที่เตรียมไว้ (ตัดทิ้งไว้ไม่เกิน ๑วัน) จุ่มด้านโคนลงไปในสารละลายเอ็นเอเอนาน ๓๕ วินาที           

     ๒.๖ ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑.๓           

     ๒.๗  ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑.๔

วิธีที่ ๓ (ท่อนพันธุ์จะออกรากประมาณ ๖๕% ในฤดูหนาว และ๙๕% ในฤดูฝน)           

     ๓.๑ ใช้กิ่งพันธุ์หม่อน นม.๖๐ อายุ ๖-๘ เดือน ตัดเป็นท่อนพันธุ์ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร 

     ๓.๒ ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๒.๓ , ๒.๔ ,๒.๕, ๒.๖ และ ๒.๗           

     การขยายพันธุ์หม่อนนม.๖๐ ด้วยท่อนพันธุ์จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายขึ้น แม้บางวิธีการจำเป็นต้องใช้ห้องเย็น ฮอร์โมน หรือทั้ง 2 อย่างแต่เกษตรกรสามารถติดต่อศูนย์ขยายพันธุ์ไหมของกรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ให้บ่มกิ่งพันธุ์หม่อน นม.๖๐ ก่อนนำไปขยายพันธุ์ เพราะหน่วยงานราชการเหล่านี้มีห้องเย็นอยู่ทุกแห่ง หรือการใช้ฮอร์โมน   เอ็นเอเอ ก็สามารถซื้อได้ตามร้านขายวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หรือติดต่อผ่านหน่วยงานราชการดังกล่าวข้างต้น การเปลี่ยนพันธุ์หม่อนจากพันธุ์พื้นเมืองมาเป็นพันธุ์รับรอง คือพันธุ์ นม.๖๐ จะทำให้เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่และลดขนาดต้นทุนในการผลิตอีกด้วย เกษตรกรรายย่อยที่ปลูกหม่อนไว้ข้างบ้าน หรือตามหัวไร่ปลายนา ที่เลี้ยงไหมได้เพียงเล็กน้อย หรือมีใบหม่อนไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงในฤดูแล้งต้องหาซื้อจากเพื่อนบ้าน           

     เมื่อหันมาปลูกหม่อนพันธุ์รับรองที่เป็นพันธุ์ดี เช่นพันธุ์ นม.๖๐ ก็อาจเลี้ยงไหมได้เพิ่มขึ้นในแต่ละรุ่นหรือมีใบหม่อนเพียงพอในการเลี้ยงไหมแต่ละครั้ง ในพื้นที่เท่าเดิม สิ่งเหล่านี้ถ้าเกษตรกรเอาใจใส่หน่วยงานของรัฐจริงใจในการส่งเสริมก็จะส่งผลให้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ยังคงเป็นมรดกตกทอดไปยังรุ่นหลานของชาวอีสานและชาวไทยสืบไป ดังคำกล่าวที่ว่า ไหมไทย มรดกล้ำค่าจากย่าสู่หลาน 

หมายเลขบันทึก: 117257เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หนูอยากรู้จักไหมมากขึ้นค่ะ

ตอบ คุณประภาพร

ขออภัยที่เข้ามาตอบช้า ถ้าสนใจขอเชิญไปดูได้ที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตร โทร044-514178

ขอบคุณครับ

vhjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjsssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffffgggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggg

vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv

gggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggggghhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhvvvv bbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbb bbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbvbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvbbbbbbbbbbbbbbbbbbbbnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjj...................................................................................................................6kkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkkk..........................................................................................jjjjjjjjjjj5555555555555555555555555kkkkkkkkkkkkkkkk5555555555555555555555555555555555j..............................................nnnnnnnnnnnnn...................................mmmmmmmmmmmmmmm.........................................................................................................oooooooooooooooooooooooooooo...................................................................................................................llo.............................................................................................jkkhgdssfhkkj.ggg.........................................................................................................................................6...................................................................................................................................................................................55555555555555555555555555............................................................................................

ไอ้บ้า หน้าโง่ หน้าหมา หน้าลิง หน้า ชะนี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท