รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ก็ยังต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้


รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม การจัดการความรู้

ว่าที่บัณฑิต ศูนย์เรียนรู้อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  สาขาสหวิทยาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น วันนี้ จะมาพูดเรื่อง   เรื่อง  การจัดการความรู้   ซึ่งที่ดิฉันได้รับมานี้เป็นการรับมาจากการฟังอาจารย์ศักดิ์พงศ์ หอมหวล บรรยาย เมื่อวันเรียการจัดการความรู้ แล้วนำมาสรุปใหม่  ถ้าหากว่านักศึกษาท่านใด หรือผู้รู้ท่านใด อ่านแล้วว่ามันไม่ใช่  ขอได้โปรดเขียนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย  เพราะความคิดของแต่ละคนได้ยินมา  อาจจะเข้าใจไปคนละทาง มีความแตกต่างกัน ฉะนั้นเพื่อให้วิชาการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีรสชาติมากขึ้น  สามารถแย้งได้ หรือแสดงความคิดเห็น หรือสนับสนุนได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่เข้าใจยิ่งขึ้น ไม่มากก็น้อย  

          การจัดการความรู้  มีความหมายมากมาย หลายอย่าง  แต่ที่จะบอกให้เข้าใจในวันนี้  ก็คือ  การที่จัดกิจกรรมความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่องเครือข่าย เพื่อสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อย่างเช่นที่นักศึกษาแลกเปลี่ยนเปิดบล็อคความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน  หลายๆคน   หลากหลายความรู้ จึงมีการนำความรู้หลายๆแบบ มาแลกกันอ่านอย่างต่อเนื่อง เมื่ออ่านแล้วได้ความรู้ในบางส่วนที่ตนเองยังไม่รู้และนักศึกษามาอ่านทุกวันสมำเสมอ ก็ตรงเป้าหมาย คือนำ ความรู้นี้ไปพัฒนางาน  และยังไม่พอพัฒนาตนเองด้วย  รู้สึกว่าตนจะกลายเป็นกบนอกกะลามากขึ้น 

ยังไม่พอ ดิฉันเจ้าของบล็อค มีความรู้แค่หางอึ่งเท่านั้นเอง    มีอะไรที่ยังไม่รู้ อีกมากมายทีเดียว  ถ้าหมั่นอ่าน  หมั่นหา ความรู้ก็จะกว้างมากขึ้น แต่อย่าลืมนะว่า  อย่าให้เป็นความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด  "การจัดการความรู้เป็นแค่เครื่องมือ ยังไม่ใช่เป้าหมาย"  แล้วจัดการความรู้มาเพื่อวัตถุประสงค์เป้าหมายอะไร สอบ ถามว่า  การจัดการความรู้เป็นแค่เครื่องมือ  ท่านเข้าใจว่าอย่างไร 

เพราะดิฉันก็ยังไม่เข้าใจดี  คงต้องตามล่าหาความจริงกันซะแล้ว   ในที่สุด ก็ค้นหาได้ จาก G2Kนี่เอง  ว่าเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้คือ   การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  ไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม  เมื่อแลกเปลี่ยนแล้ว นำไปสู่การพัฒนา  งาน  ทุกอย่าง  ให้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม ซึ่งความรู้เหล่านี้อาจจะได้จาก หลายทาง นำมาแลกเปลี่ยนกันได้ โดย

 1.ประสบการณ์เดิมที่ใช้ในชีวิตประจำวันแต่ยังไม่ได้นำมาจัดเพื่อการพัฒนาใหม่   ฝังซ่อนอยู่ในตนเองแต่หายังไม่เจอ เหมือนคอมพิวเตอร์ เรารู้ว่ามันเก่ง  แต่เราก็ยังใช้ไม่เป็น  คนก็จะต้องเรียนถึงจะรู้  ต้องรู้จักค้นคว้า ขวนขวาย  ถึงจะรู้จริง แล้วก็สู่การรอบรู้  ลองผิดลองถูก  หรือพรสวรรค์ที่ยังไม่แสดงออกมา ต้องสู่การปฏิบัติ ถึงจะรู้ความสามารถ แล้วสู่การพัฒนาได้ อันนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่น  ความสนใจ จะกลายเป็นพรแสวง

 2.ความรู้ที่ได้จากการทำบ่อยๆ จนเกิดทักษะ พรแสวง

3.ความรู้ที่ได้จาก(กรม)สามัญสำนึกจิตสำนึก มีเหตุผลพื้นๆ คิดวิเคราะห์

4.ความรู้ที่จากการผ่านงาน หรือกิจกรรมนั้นมาก่อน   ประสบการณ์ พรแสวง หาได้จากภายนอก ทำมากรู้มาก ทำหลายอย่าง  รู้หลายๆอย่าง  แล้วสู่การพัฒนา สู่การรอบรู้ สู่การพัฒนาตน

5.ความรู้ที่เป็น พรสวรรค์ อันเกิดจากความสามารถพิเศษเฉพาะตัว  ที่มีมาแต่กำเนิด  พรสวรรค์นี้จะแลก เปลียนกันไม่ได้  บางคนยังไม่รู้จักตนเองเลย  ต้องรู้จักตนเองด้วย ว่าถนัดอะไร  มีความสามารถแฝงเด่นไว้ในตัวมีอะไร แต่บางคนยังไม่รู้ว่าตนมีอะไรบ้าง ต้องรู้จักตน

วิชาการจัดการความรู้   ท่านผู้อ่านที่อ่านอยู่นี้ ท่านเคยได้ยินคำกล่าวว่า "รู้เขา  รู้เรา  รบร้อยครั้ง  ชนะร้อยครั้ง " อยู่บ่อยๆ คำกล่าวนี้มาจากตำราพิชัยสงครามของซุนวู  ที่มีมาแต่โบราณ และยังใช้ได้จริงจนเท่า ปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้ใช้เฉพาะในสงครามเท่านั้น แต่แทบทุกเรื่องในชีวิตของคนเราไม่ว่าจะทำอะไร  สิ่งสำคัญคือต้องรู้จัก ตนเองก่อน พอรู้ตนเอง  แล้วก็รู้เขา พอรู้เขารู้เราจนชัดเจนแล้ว  การรู้เขาก็ง่ายขึ้น  ถ้าเขาในที่นี้หมายถึง การเรียนรู้  ถ้าเราไม่ไปเรียนรู้ผู้อื่น  เราก็ไม่รู้เรา ไม่รู้เขา แล้วก็ไม่รู้ตนเองด้วย เพราะคนอื่นอาจจะเป็นกระจกสะท้อนเราได้

แต่จะรู้เขาหรือ รู้เรา ถ้าไม่ฝึกฝน ค้นหาความรู้ต่อไป และไม่นำความรู้ที่ได้มา ไปสู่การปฏิบัติสู่การพัฒนา จะมีประโยชน์อื่นอันใด ต้องรู้สู่เพื่อการพัฒนา การนำไปสู่กระบวนการปฎิบัติ ให้ดียิ่งขึ้นด้วย

--โลกานุวัฒน์ คือการประพฤติตามโลก

--หัวใจหลักของการเรียนรุ้ ก็คือหัวใจนักปราชญ์  สุ จิ ปุ ลิ  

--คุณธรรมนำความรู้ก็คือ ขะลำเอาความดีงามมาแลกเปลี่ยนกัน

--การจัดความรู้  รู้มากมาย  แต่ก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่นำมาปฏิบัติและจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง และจริงใจ  ค้นคว้าไม่มีที่สิ้นสุด

--ความรู้จึงไม่มีแบบแผน  ไม่มีการคาดคะเน  และไม่ตายตัว

--แผนที่ทางความรู้ ก็คือ เริ่มต้นหาใคร ที่มีความรู้ ถ้าหาไม่เห็นจะไปหาใครต่อ ไปจุดไหนต่อ จำเป็นในชีวิตไหม ที่จะเสียเวลาค้นหา ต้องคำนึงถึงการเสียเวลาด้วย

--การจัดการความรู้ คือ การนำคนมารวมกัน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย    

   1. รวมตัวคน หลายทักษะ     เช่นเปิดบล็อคโกทูโนนี่แหละ

  2.นำความรู้ มาร่วมคิด พัฒนารูปแบบใหม่ ตามความเหมาะสม

  3.นำความรู้ มาร่วมปฏิบัติ ทดลองเรียนรู้  วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย

 4. นำความรู้จากภายนอกเข้ามาเสริมด้วย  เทคโนโลยี ที่ทันสมัย ไปค้นหาคนพิเศษที่เข้าใจในเรื่องที่เราต้องการเรียนรู้นั้นๆ 

ดิฉันจึงขอสรุปความรู้ ที่จะต้องนำมาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ประโยชน์   เพื่อการพัฒนา  ให้ทุกอย่าง ที่ต้องการ  ให้ดีขึ้นในชีวิต ในยุคโลกาภิวัตน์ นี่คือความเข้าใจ ของดิฉันใน วิชา การจัดกระบวนการเรียนรู้  

และที่ว่า นำความรู้มาทำให้สุก  ถ้าเปรียบความรู้เช่นอาหาร  เราต้องการทำอาหารให้อร่อย  เราจะต้องสรรหาอุปกรณ์ วัตถุดิบ ที่จะนำมาปรุงอาหาร  ตลอดจนวิธีปรุงแต่งรสชาติอาหารให้อร่อย ให้หาได้ง่ายๆคือบริเวณใกล้เคียงกับความเป็นอยู่ในท้องถิ่นตน นำมาปรุงให้มีรสชาติ ไม่ต้องไปแสวงหาจากที่อื่น ที่บ้านเราวัตถุดิบมากมาย เป็นทุนอยู่แล้ว

นั่นก็คือ ความรู้ มี  แต่ยังไม่นำความรู้มาจัดระเบียบ(ทำให้สุก) จึงไม่ผ่านกระบวนการเรีนรรู้ที่ถูกต้อง ฉะนั้นความรู้มีแต่ภาคทฤษฏี  แต่จะหาคนมาปรุงแต่ง และเข้าใจความต้องการของแต่ละคน ภาคปฏิบัติ ช่างหายากจริงๆ คนที่จะปรุงคนนั้นต้องมีเป้าหมายและอุดมการณ์ ยังไม่พอ ต้องเสียสละเป็นผู้นำทางปฏิบัติได้ด้วย และความรู้ที่นำมาให้จะต้องเหมาะสมกับความต้องการ ความเป็นอยู่  ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า  ทำความรู้ให้สุก มันจึงต้องมีกระบวนการ  และที่สำคัญ  ผู้ที่จะเป็นผู้ทำอาหารให้สุก ก็คงจะเป็นผู้มีจิตใจ วิสัยทัศน์กว้างไกล  ก็คือผู้นำชุมชนทั้งหลาย  โดยมีอาจารย์ หรือผู้รอบรู้เป็นที่ปรึกษาส่งเสริมสนับสนุนกัน

    ขอขอบคุณอาจารย์  ศักดิ์พงศ์  หอมหวล โรงเรียนบ้านเม็กดำ  อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม ผู้เป็นแนวทางในการแนะนำ การหาความรู้ให้สมบูรณ์ขึ้น และได้เรียนรู้เครือข่ายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือเครือข่าย GO TO  KNOW

และขอขอบคุณอาจารย์นภพร  เชื้อขำ แห่งมหาวิทยาลัยราขภัฏพระนคร ที่กำลังให้การเรียนรู้ นักศึกษาที่กำลังเรียนปริญญาตรี ในเรื่องความสำคัญขององค์กรและเครือข่ายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ขอบคุณ อาจารย์ประจำศูนย์การเรียนรู้ อาจารย์พิชิต พิทักษ์ อาจรารย์เสริมที่ได้มาแนะนำ สภาพัฒนาการเมือง ที่พึ่งมีพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมืองและสภาองค์กรชุมชน ขึ้นมาเมื่อ วันที่  28 มกราคม  พศ. 2551 ประกาศเร็วๆนี้เอง  ยังเป็นของเก่า แต่นำมาเป็นเรื่องใหม่ เคยได้ยินว่าคัดค้านกัน แต่ไม่สนใจ

ซึ่งตามลักษณะที่พึ่งเรียน ยังเป็นความเข้าใจที่ยังใหม่อยู่  ว่า  เป็นองค์กรอิสระ เช่นเดียวกันกับตำแหน่งผู้นำท้องถิ่นทั่วไป เช่น อบต. ผู้ใหญ่บ้าน  เพียงแต่ว่าองค์กรนี้จะเข้ามาสอดส่องดูแลว่าผู้นำท้องถิ่น  ใช้งบประมาณไปในลักษณะใด แล้วจะเข้ามาเสริมแรงสนับสนุน  หรือไม่ก็อาจคัดค้านได้ หรือมีโครงการที่เห็นสมควรนำมาจัดการเอง นี่คือความเข้าใจ เพราะพึ่งได้รับ  พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมืองใหม่ๆ  ผู้เขียนมีความสนใจ แต่ไม่เข้าใจอย่างถี่ถ้วน อาจจะต้องตามล่าหาความจริง แต่ถ้ามัวหาอยู่ อาจจะเลิกล้มความสนใจ  ฉะนั้นถ้าหากท่านใด พออธิบายได้แบบชาวบ้านฟังรู้เรื่อง  ก็กรุณาตอบ หรือแนะนำให้ไปอ่านได้จากที่ใด แต่ที่อยากรู้คือ มีมาทำอะไร  มีแล้วได้ประโยชน์อะไร  มีจุดอ่อน  จุดแข็งอย่างไร และจะยั่งยืนหรือไม่

 

หมายเลขบันทึก: 115792เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2007 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท