GotoKnow

สปสช.สาขาเขต (ใหม่) และสาขาจังหวัด (เดิม) “ภารกิจที่ 2”

ชายขอบ
เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2549 20:25 น. ()
แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2558 08:31 น. ()
การลงทะเบียนผู้มีสิทธิ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 6 และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545

     ต่อด้วยภารกิจที่ 2 การลงทะเบียนผู้มีสิทธิ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 6 และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดย
          มาตรา 6 บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 5 ให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงานหรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการ...
          มาตรา 8 ผู้ซึ่งมีสิทธิตามมาตรา 5 ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา 6 อาจเข้ารับบริการครั้งแรกที่หน่วยบริการใดก็ได้ และให้หน่วยบริการที่ให้บริการแก่บุคคลดังกล่าวจัดให้บุคคลนั้นลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตามมาตรา 6 และแจ้งให้สำนักงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่ให้บริการ...

     และตามที่ ทพ.กวี วีระเศรษฐกุล กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.อุดรธานี ได้ลองประมวลภารกิจของงานประกันฯ ภายหลังจากมีการตั้ง สปสช. สาขาเขตพื้นที่แล้ว ดังนี้

สาขาจังหวัด (เดิม)

 สปสช.สาขาเขต (ใหม่)

1. จัดระบบการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ: กำหนดจุดรับคำร้อง และหน่วยรับลงทะเบียน, บริหารระบบสารสนเทศ
2. การประชาสัมพันธ์ ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้หน่วยบริการ และประชาชนทราบ
3. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
4. การพัฒนาและสนับสนุนการจัดระบบการลงทะเบียนของอำเภอ
5. การวิเคราะห์สถานการณ์ การจัดระบบรายงานการลงทะเบียน
6. การจัดทำสถิติ และรายงาน แยกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียน
7. การดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิเลือกสถานบริการหลัก

                                                  

     สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จังหวัด ยังทำหน้าที่เหมือนเดิม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต จะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ  สนับสนุน และประเมินผล กรณีศูนย์ประมวลผลกลาง (Data Center) ดำเนินการแล้ว (คาดว่าประมาณ มิถุนายน 2549)  การดำเนินการของจังหวัดจะเปลี่ยนไป โดยจะทำหน้าที่แต่งตั้งนายทะเบียนในระดับอำเภอ, ตำบล  และต้องเพิ่มบทบาทในการติดตามประเมินผลระดับอำเภอมากขึ้นกว่าเดิม

     ความคิดเห็นจากผมมองว่าเป็นการขยับเข้าประชิดของ สปสช. เหมือนไม่ไว้ใจ แล้วที่ทำกันมาจนถึงวันนี้ หากไม่ใช่เพราะระบบข้อมูลเองที่ยังมีปัญหา ประชาชนได้รับการขึ้นทะเบียนเกือบหมดแล้ว ผมมองไม่เห็นประโยชน์เลย แต่หากจะเป็นผู้ตรวจสอบ  สนับสนุน และประเมินผล ก็ดี แต่ทุกวันนี้ก็มีนายหลายคน กลุ่มงานอื่น ๆ มองเห็นเป็นตัวแปลกแยก เพราะเราต้องใช้ระเบียบ กฎเกณฑ์ มาบูรณาการเข้ากัน ให้ถูกทั้งของ กสธ. และสปสช. เท่านี้เราก็เหนื่อยแล้ว นี่เล่นตัดลดงบประมาณบริหารจัดการ สปสช.สาขา แล้วเอาไปให้ฝ่ายตรวจสอบ ฝ่ายประเมินผล เหมือนลดเชื้อเพลิง แต่ไปคาดหวังเราวิ่งฉลุย พอวิ่งอืดก็ตัดงบสนับสนุนลงไปอีก ผมว่าเขากำลังคิดว่า “เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าแม่ทัพ”

     ตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน ผมได้พัฒนาและขอคำสั่งแต่งตั้งนายทะเบียน UC ถึงระดับตำบลเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนแล้ว และขณะนี้มีสมาชิกในเครือข่ายจำนวน 160 คน คนเหล่านี้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน (อย่างระมัดระวัง) และถูกต้องตามกฎหมาย ที่สำคัญคนเหล่านี้ก็ไปสร้างเครือข่ายให้ประชาชนเข้าถึงสิทธินอกเหนือจากการขึ้นทะเบียนด้วย

     ผมจึงมองไม่เห็นความจำเป็น และมองว่านี่เป็นตัวอย่างของความไม่คุ้มค่า เว้นแต่ สปสช.สาขาเขต จะรับไปดำเนินการเองทั้งหมด แต่นั่นจะยิ่งทำให้ประชาชนไม่สะดวกมากขึ้น หากจะใช้งบประมาณเท่าเดิม เพราะที่ทำ ๆ อยู่ในทุกวันนี้ส่วนหนึ่งใช้งบค่าหัวที่จัดสรรให้หน่วยบริการไป หาใช่ค่าบริหารจัดการทั้งหมดอย่างที่เข้าใจไม่

     ผมย้ายประเด็นมาขยายต่อที่นี้ก็มุ่งหวังว่าจะได้ ลปรร.กันต่อจากกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกมิติ หวังไว้อย่างนั้นครับ

เมนูภารกิจ สปสช.สาขา ทั้ง8 ภารกิจ ที่ได้มีการวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นไว้ (เชิญคลิ้กติดตามไป ลปรร.กัน)
ภารกิจที่ 1 การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
ภารกิจที่ 2 การลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
ภารกิจที่ 3 การส่งเสริมการพัฒนา และควบคุม กำกับคุณภาพ หน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ
ภารกิจที่ 4 การมีส่วนร่วมภาคท้องถิ่น และภาคประชาชน
ภารกิจที่ 5 การคุ้มครองสิทธิ/รับเรื่องร้องเรียน/ประชาสัมพันธ์
ภารกิจที่ 6 การบริหารการเรียกเก็บ และเวชระเบียน
ภารกิจที่ 7 การบริหารกองทุน/หน่วยบริการคู่สัญญา
ภารกิจที่ 8 ภารกิจอื่น ๆ


ความเห็น

UC รุ่นน้อง
เขียนเมื่อ

       หากเรามองลงไปให้ลึกอีกนิดในการประเมินภาระกิจที่ 2การลงทะเบียนผู้มีสิทธิ เราจะเห็นว่าทาง สปสช.มีวิธีคิดที่แปลกเอามากๆ คือเอาค่า Result ที่เกิดขึ้นมาคำนวณ ซึ่งหากเอาซึ่งค่า Result ที่ว่านี้คำนวณจากฐานข้อมูลประชากรคนละตัวกับฐานข้อมูลตั้งต้นในการคำนวณของ สาขาจังหวัด (คำนวณจาก DbPOP ที่ สปสช.ส่งไปให้)   หากจะให้มีความเป็นธรรมกับทางจังหวัดน่าจะเอาฐานตั้งต้นในการคำนวนวันเวลาเดียวกัน คือ ตามงวดวันที่ 17 และ 30 ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่อย่างนั้น ทาง สปสช.เอาข้อมูล ณ วันปัจจุบันเป็นตัวคิด ดังนั้นมันเป็นไปไม่ได้เลยที่ในแต่ละจังหวัดจะไม่มีค่า Error เกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากเราดูให้ดีเราจะเห็นว่า ค่า Error ที่เกิดขึ้น ส่วนมากจะเป็น ประกันสังคม ข้าราชการ  คนไทยในต่างประเทศ  บุคคลที่เสียชีวิต  ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้มันมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ในวันที่เราส่งข้อมูลมาเขายังเป็นสิทธิว่างแต่ในวันที่ สปสช.นำมาคำนวณ สิทธิของเขามีการเปลี่ยนไปแล้ว ผมจึงมีความรู้สึกว่ามันไม่แฟร์เลยที่จะนำมาตัดสินผลการทำงานของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้

ชายขอบ
เขียนเมื่อ

คุณ UC รุ่นน้อง

     โดนใจมากเลยครับ เห็นด้วย 100% ผมพูดต้องแต่คราวประชุมเรื่องตัวชี้วัดที่ กทม. ก็ไม่เห็นเปลี่ยนแปลง ประเด็นนี้นะ หากเขาจะใช้ในระดับ สปสช.(ระดับชาติ) จะได้ แต่หากลด/แยกลงมาในระดับพื้นที่จะใช้ไม่ได้เลยครับ ตามที่คุณตั้งข้อสังเกตทุกประการ

ขอเห็นด้วยคน
เขียนเมื่อ

เห็นด้วยค่ะ เจอเป็นประจำคือ คนไข้มาด้วยอาการโคม่าพูดง่ายๆ จะตายมิตายแหล่อยู่แล้ว แต่เป็นสิทธิว่างเราต้องขึ้นทะเบียน online ให้เขาไว้ก่อน(เผื่อรอด) พอส่งไปแล้ว ติด ค่า Error เพราะ กว่าสปสช.จะตรวจสอบอนุมัติมาอีกประมาณ 10 กว่าวัน แต่คนไข้อยู่ได้ 4-5 วันก็ตาย


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย