บันทึกนี้ว่าด้วยเรื่องความลำเอียงหรืออคติ (Bias) ครับ...


การที่เราจะตัดสินหรือประเมินบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ความลำเอียงหรืออคติในตัวเราย่อมมีผลต่อการตัดสินหรือการประเมินนั้น ๆ เสมอ...

                เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมามีเรื่องเกิดขึ้นที่ออฟฟิสเรื่องหนึ่งครับ เป็นเรื่องของพี่คนหนึ่งที่ปกติอาจจะเป็นคนที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่ เนื่องจากหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมาพี่เขาพูดไม่ค่อยตรงกับความจริง...

                แต่วันนั้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นพี่เขาพูดความจริงเพราะผมอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย แต่หลาย ๆ คนที่ออฟฟิสไม่เชื่อในสิ่งที่พี่เขาบอก โดยเฉพาะหัวหน้าครับ...

                พูดถึงเรื่องของความลำเอียงหรืออคติมักจะเกิดขึ้นเสมอเวลาเราต้องประเมินสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม ตัวของความลำเอียงหรืออคตินี้มักจะมีผลต่อการตัดสินใจของเราในสถานการณ์นั้น ๆ เสมอ...

                ในที่ทำงานหัวหน้ามักจะประเมินลูกน้องของตัวเอง โดยลืมที่จะขจัดตัวอคติในใจของตนออก ผลของการประเมินจึงมักจะออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยเฉพาะเรื่องของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีผลต่อการเลื่อนตำแหน่งและขึ้นเงินเดือน...

                วันนี้เลยนำความลำเอียงหรืออคติในรูปแบบต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นในที่ทำงานมาฝากครับ...

                 Halo Effect เป็นการมองคุณลักษณะบางอย่างของคน ๆ นั้น แล้วสรุปว่าคน ๆ นั้นจะต้องมีคุณสมบัติด้านอื่นเป็นไปในแนวทางนั้นด้วย เช่น คนที่มาทำงานเร็วจะต้องทำงานเก่ง หรือคนที่แต่งกายไม่เรียบร้อยจะไม่มีความรับผิดชอบ เป็นต้น...

                 Stereotyping เป็นการเหมารวมว่าคนในกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ต้องมีลักษณะต่าง ๆ เหมือนกันหมด เช่น คนที่จบจากสถาบันการศึกษานี้จะต้องเก่งทุกคน หรือคนที่เรียนจบจากเมืองนอกจะต้องเก่งกว่าคนที่เรียนจบในเมืองไทย เป็นต้น...

                 Selective Perception เรามักจะเลือกที่จะรับรู้แค่บางสิ่งบางอย่างหรือเลือกที่จะไม่รับรู้ในบางสิ่งบางอย่าง เนื่องจากความสามารถในการประเมินผลของคนเรามีจำกัด เรื่องนี้เห็นได้จากที่หัวหน้าไม่ได้ไปคลุกคลีกับการทำงานหน้างาน นั่งประเมินผลการทำงานที่โต๊ะ ผลการประเมินจึงอาจผิดพลาดจากความเป็นจริง...

                   Projection เป็นการเอาคุณสมบัติของตนเองไปประเมินเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นและมักจะมองว่าถ้าเป็นเรา เราจะทำอย่างนี้แล้วทำไมคนอื่นไม่ทำอย่างเราบ้าง ทั้ง ๆ ที่แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน จะให้มาทำอะไรเหมือนเราทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ เช่น หัวหน้ามักจะบอกกับลูกน้องว่า ถ้าผมเป็นคุณจะทำอย่างนี้ หรือถ้าผมเป็นคุณผมจะไม่ทำอย่างนั้น เป็นต้น...

                  Contrast Effect เป็นเรื่องของการตัดสินหรือประเมินบุคคลโดยตัวเราขาดอิสระในการประเมิน เรามักจะใช้บุคคลหรือสถานการณ์ที่เราคุ้นเคยหรือเพิ่งผ่านไป มาอิทธิพลในการประเมินเสมอ ๆ ความลำเอียงหรืออคติในลักษณะนี้เห็นได้ชัดในเรื่องของการสัมภาษณ์ เรามักจะเปรียบเทียบคนที่เรากำลังสัมภาษณ์อยู่กันคนที่เราเพิ่งสัมภาษณ์ผ่านไป...

                  ในเมื่อเรารู้ว่าการที่เราจะตัดสินหรือประเมินบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ความลำเอียงหรืออคติในตัวเราย่อมมีผลต่อการตัดสินหรือการประเมินนั้น ๆ เสมอ...

                  เราก็ควรจะขจัดตัวอคติหรือความลำเอียงนี้ออกจากใจเราก่อนที่จะตัดสินหรือประเมินบุคคลหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ทุกครั้ง เพื่อให้ผลลัพธ์จากการตัดสินหรือการประเมินของเราออกมาตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด...

หมายเลขบันทึก: 115017เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะ

กรณี Selective Perception ค่อนข้างจะมีมากหน่อยไหมคะ

เวลาหัวหน้าประเมินใครที่เป็นเพื่อนเราทำงานด้วยกัน เรารู้ว่าเขามีฝีมือ

แต่หัวหน้า ประเมินด้วยperceptionของเขา ซึ่งอาจไม่ถูกตามข้อเท็จจริง เหมือนกัน

เราอาจช่วยเพื่อน โดยไปบอกหัวหน้าว่า เขาทำงานดีนะ

หัวหน้าไม่ฟัง แต่บอกว่า It's your perception not mine.

ครับ...คุณ sasinanda P....

เรื่องของการรับรู้ (Perception) สำคัญครับ...

แต่ละคนมักเชื่อและยอมรับในการรับรู้ของตนเอง มากกว่าที่จะเชื่อตามที่คนอื่นบอก...

ขอบคุณมากครับ...

ผู้น้อยหมดใจที่จะทำดีเพราะผู้ใหญ่อคติเห็นกันอยู่ทั่วไป  แล้ววันนั้นคุณเป็นแค่ผู้นั่งดูหรือทำอะไรบ้าง  เราคิดจะอยู่เฉยๆหรือจะร่วมแสดงความคิดเห็นดี  ฝากไว้ด้วยนะคะ  เพื่อสนับสนุนให้คนมีโอกาสทำความดีได้รับการยอมรับและชื่นชม

ครับ...คุณสาว P...

เห็นด้วยครับ หลายคนหมดกำลังใจที่จะทำสิ่งดี ๆเพราะผู้ใหญ่อคติ รวมทั้งการขาดโอกาสที่จะได้ทำด้วยครับ...

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีครับ

บางครั้งผมมองว่าเป็นเรื่องของกรรมของเรา ที่จะต้องมาเจอคนแบบนี้ซึ่งมีอิทธิพลกับเรา ในฐานะของผู้บังคับบัญชา วันใดที่เราใช้กรรมหมด เขาควรได้รับกรรมของเขาจากการจากไปของเรา แต่ข้อแม้ คือ เราต้องแน่ใจว่าเราไม่ได้อคติ หรือลำเอียงกับเขาด้วย

สิ่งที่น่าคิด ถ้าเรามองแบบกลางๆ คือ คนเหล่านั้นเขาไม่รู้ว่าเขาลำเอียง นี่ซิครับ

เพราะสิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเราไม่รู้ 

 

 

ครับ...คุณข้ามสีทันดร P...

เห็นด้วยครับ มองอย่างที่คุณกบว่าก็สบายใจดีครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ...คุณเอกชน P...

ขอบคุณนะครับที่แวะเข้ามาอ่าน...

การขจัดตัวอคติหรือความลำเอียงนี้ออกจากใจเรา ก่อนที่จะตัดสินหรือประเมินบุคคลหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ทุกครั้ง เพื่อให้ผลลัพธ์จากการตัดสินหรือการประเมินของเราออกมาตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด...

                       บางทีก็ทำยากเหมือนกัน  นะคะ 

               ด้วยเหตุผล  และสภาวการณ์ หลายๆอย่าง

                    ^-^ บางทีก็ไม่ตั้งใจ ลำเอียง ^-^

จะพูดอีกอย่าง..ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกัน

               คนนึง  มองว่าลำเอียง คนนึง มองว่าไม่

                 ก็จะพยายาม  ทำดีที่สุด  ละกัน  ค่ะ

                           

ครับ...คุณสายธาร P...

บางครั้งจะให้ไม่ลำเอียงเลยอาจจะทำได้ยาก...

ขอแค่พยายามจะลำเอียงให้น้อยที่สุดเป็นพอครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

หวัดดีค่ะ...

ทำไมต้องลำเอียง  ไม่เข้าใจ...

บางครั้งคนที่เค้าตัดสินใจ  คงคิดว่ายุติธรรมแล้วมั้ง

ด้วยว่าเป็นคนใกล้ชิดกันบ้าง  เอื้อประโยชน์ให้แก่กันบ้าง

และอีกหลาย ๆ เหตุผล  อันนี้ก็ต้องปลงหล่ะค่ะ  ^_^

  • รู้ตัวเลยหล่ะค่ะ ว่าบางครั้งก็เผลอลำเอียงได้เหมือนกัน
  • แต่เวลาและการเรียนรู้จะช่วยให้ดีขึ้นได้นะคะ
  • ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยขยายการเรียนรู้ให้แจ่มชัดขึ้นค่ะ
  • สบายดีนะคะ

 

ครับ...คุณ windy P...

อย่างที่คุณ windy เคยบอกครับว่า...

รำตรง ๆ ก็ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องรำเอียงด้วย...

ขอบคุณครับผม...

ครับ...ครูปู P...

สบายดีครับผม...

ไปอ่านเรื่องคนแพ้คนท้องมา แปลกแต่จริงนะครับ...

ครั้งแรกจริง ๆ ครับที่ได้ยินมา...

คนเดียวในโลกหรือเปล่าครับเนี่ย...

ขอบคุณมากครับ... 

แวะมาเรียนรู้ครับ เป็นประเด็นน่าคิดต่อจริงๆ ครับ

ครับ...อ.จารุวัจน์ P...

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญครับ...

ยิ่งคนเป็นหัวหน้ายิ่งต้องตระหนักมาก ๆ ครับ...

ขอบคุณครับผม...

Halo Effect ข้อนี้เคยเจอกับตัวค่ะ สุดท้ายเค้าก็ยอมรับในความเป็นเรา...

ครับ...คุณ ทรายชล

ความอคติบางครั้งก็ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์นะครับ...

ขอบคุณครับผม...

 

รับความรู้ครับ ... คุณ Mr.Direct :)

ผมมองเห็นความลำเอียงทุกรูปแบบในที่ทำงานผม ครับ

ระบบอุปถัมภ์ + รักเฉพาะพวกพ้อง เกิดจากความลำเอียงทั้งหมด ครับ

ขอบคุณครับ

ครับ...อ. Wasawat Deemarn

ความลำเอียงกับการทำงานเป็นของคู่กันนะครับ...

สำหรับผมแล้วผมเลือกที่จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด...

และไม่ขอเรียกหาความเป็นธรรมในที่ทำงานด้วยครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

เชื่อมากเลยความลำเอียงของเจ้านายเนี่ย และหวังว่าต่อไปใครที่จะเป็นนายคนก็ขอให้หยุดคิดสักนิดอย่ามองคนแค่ว่าคน ๆ นั้นขี้เล่นไปวัน ๆ แต่งกายไม่เรียบร้อย แต่เขาสามารถทำงานให้คุณรวดเร็ว ถูกต้อง ทันใจ แต่พวกประเภทวัน ๆ งานไม่มีทำพอนายมาเอางานขึ้นมากองจนล้นโต๊ะทำเหมือนว่างานยุ่งแต่ที่ไหนได้หมักงานไว้ บางครั้งก็ทำไม่ทันเพราะนายไม่อยู่มัวแต่คุยหรือแอบออกไปช้อบปิ้ง ส่วนคนที่รีบทำงานให้เสร็จหมด ๆ ไป กลับมองว่าพวกนี้ว่างงาน เฮ้อ

ครับ...คุณไม่แสดงตน

เรื่องของคนทำงานกับความลำเอียงนี่เป็นปัญหาเกือบทุกที่เลยนะครับ...

เราคงต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดนะครับ...

เป็นกำลังใจให้ครับผม...

การลำเอียงนี่ ถ้าเป็นบริษัทเอกชนก็ช่างมันเถอะ เพราะไม่นานบริษัทและเอกชนนั้นก็จะบรรลัยไปเอง แต่ถ้าเป็นเรื่อง ของราชการหรือระดับชาตินี่สิน่าเป็นห่วง ดูอย่างกีฬาของไทยสิ เวียดนามซึ่งเคยล้าหลังเรามาก เพราะเ๗อเรื่องของสงคราม ตอนนี้ก็กำลังจะมาเป็นคู่แข่งของเราแล้วและไม่นานก็คงจะแซงหน้าเรา ทั้งเรื่องเศรษกิจด้วย หากประเทศของเรายังไม่ยกเลิกเรื่องระบบอุุปถัมภ์ เอาแต่พรรคพวกของตัวเองด้วยความลำเอียง ท่ีเรียกว่า ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะความรัก และท่ีศาสนาพุทธของเราแย่ลงอย่างมากก็เพราะความลำเอียงนี่แหละ คนผิดถ้าเป็นพวกก็ปกป้องเอาไว้ ส่วนดนดีอย่าไปเรียกใช้หรือให้โอกาศ เป็นเรื่องท่ีน่าเศร้ายิ่งนักท่ีวัดกันท่ีคนของใครไม่ได้วัดกันท่ีความสามารถ แต่เป็นพระต้องทำใจ เพียงแต่เสียดายและสงสารศาสนา

ครับ... พระ โดนจนชิน

ขอบคุณมากครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท