ผลจากการพยายามขาย "คำใหญ่คำโต" ที่ได้ผลเกินคาด นักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิตคนหนึ่ง สร้างข้อสรุปแบบ "อุปนัย" ได้ด้วยตัวเอง


วงสนทนาของเราในวันนั้น ผลัดกันตอบ ผลัดกันถาม ผลัดกันยกตัวอย่างที่เป็น Paradox โดยเฉพาะตัวอย่างที่ว่า "ถ้าคุณทำเพื่อเงินคุณจะไม่ได้เงิน" แล้วก็ตามด้วยกรณีศึกษาที่ว่า "ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเปิดร้านอาหารที่มีอาหารเลิศรสจานหนึ่ง ที่ดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน อยู่มาวันหนึ่ง เราอยากได้กำไรมากขึ้น เลยไปลดส่วนผสมเพื่อให้ต้นทุนลดลง เพื่อจะได้มีกำไรมากขึ้น แต่ผลเกิดในทางตรงกันข้าม เพราะเมื่อลดส่วนผสม รสชาติเปลี่ยนไป ลูกค้าหาย นอกจากไม่ได้เงินเพิ่มแล้ว กลับทำให้ไม่มีใครเข้าร้านเลย นี่คือตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนของ Paradox ที่ว่า ถ้าเราทำเพื่อเงินเราจะไม่ได้เงิน" อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนและใกล้ตัวชาวลุ่มน้ำปากพนังคือ การเลี้ยงกุ้ง นักศึกษาคนหนึ่งเสริมว่า "เพราะเขาต้องการเงินมาก เลยเพิ่มการเลี้ยงกุ้ง ก็เลยพากันเจ๊งทั้งระบบ ใช่ใครครับอาจารย์" ผมถึงกับตีมือผาง แล้วชี้นิ้วไปยังนักศึกษาผู้นั้น เหมือนนักบาสเก็ตบอลสแสดงความขอบคุณที่เพื่อนส่งลูกให้ชู๊ต พร้อมกับตอบว่า "ใช่เลย"

เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมานี้  ผมได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับกลุ่มนักศึกษาของศูนย์ฯ หัวไทร วันนั้นพวกเราพูดคุยแลกเปลี่ยนกันแบบกลุ่มย่อยประมาณ 10 คน  เราใช้โรงอาหารของโรงพยายาลหัวไทรเป็นแหล่งพบปะ  เพราะใกล้ที่ทำงานและที่พักของนึกศึกษาส่วนใหญ่ในกลุ่มนั้น  การสนทนาเริ่มต้นขึ้นประมาณ 17.00 น.

การสนทนาเริ่มต้นด้วย  การพูดคุยแบบสบาย ๆ  ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันแบบมิตรสหาย  แบบพี่แบบน้อง  ผมทำหน้าที่เป็นผู้จุดประกายความคิดแก่นักศึกษาในวันนั้น  โดยมีคุณสมจิต  ยิ้มสุด  เจ้าบ้านศูนย์ฯ หัวไทร  เป็นพี่เลี้ยง  และสลับกันเล่าเรื่อง

ผมเริ่มต้นด้วยการเล่าให้นักศึกษาฟังว่า  ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยชีวิต  เป็นปรัชญาการศึกษาแบบกระบวนทัศน์ที่สี่  คำนี้แม้จะเป็น "คำใหญ่คำโต" แต่ผมก็สามารถพูดได้คล่องคอมากขึ้น  เพราะผมได้อธิบายให้ฟังก่อนหน้านี้แล้วว่า  คำนี้หมายถึงอะไร  แล้วผมก็เล่าต่อว่า  "ไอ้กระบวนทัศน์ที่สี่นี้  มันมีคำหนึ่งที่เป็นคำใหญ่คำโตที่ผมอยากจะเล่าสู่กันฟัง  คำนั้นได้แก่คำว่า Paradox" เท่านั้นแหละ  เสียงฮือฮา  ผสมรอยยิ้มก็ถูกปล่อยออกมา  ก่อนที่บรรยากาศจะตึงเครียด  ผมก็รีบสาธยายต่อว่า  "ไม่ต้องตกใจ  คำนี้มันสื่อถึงความเป็นจริงแบบกระบวนทัศน์ที่สี่  ความเป็นจริงแบบนี้มันลึกซึ้งกว่าความเป็นจริงแบบกระบวนทัศน์ที่สาม  เมื่อเราเข้าใจแล้ว  เราจะเข้าใจกระบวนทัศน์ที่สี่มากขึ้น  และเราจะสนุกกับการเรียนรู้แบบกระบวนทัศน์ที่สี่" เท่านี้แหละ  ผู้ร่วมวงสนทนา  เริ่มมีท่าทีผ่อนคลาย

วงสนทนาของเราในวันนั้น  ผลัดกันตอบ  ผลัดกันถาม  ผลัดกันยกตัวอย่างที่เป็น Paradox โดยเฉพาะตัวอย่างที่ว่า "ถ้าคุณทำเพื่อเงินคุณจะไม่ได้เงิน" แล้วก็ตามด้วยกรณีศึกษาที่ว่า  "ตัวอย่างเช่น  ถ้าเราเปิดร้านอาหารที่มีอาหารเลิศรสจานหนึ่ง  ที่ดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน  อยู่มาวันหนึ่ง  เราอยากได้กำไรมากขึ้น  เลยไปลดส่วนผสมเพื่อให้ต้นทุนลดลง  เพื่อจะได้มีกำไรมากขึ้น  แต่ผลเกิดในทางตรงกันข้าม  เพราะเมื่อลดส่วนผสม  รสชาติเปลี่ยนไป  ลูกค้าหาย  นอกจากไม่ได้เงินเพิ่มแล้ว  กลับทำให้ไม่มีใครเข้าร้านเลย  นี่คือตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนของ Paradox ที่ว่า ถ้าเราทำเพื่อเงินเราจะไม่ได้เงิน"  อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนและใกล้ตัวชาวลุ่มน้ำปากพนังคือ  การเลี้ยงกุ้ง นักศึกษาคนหนึ่งเสริมว่า  "เพราะเขาต้องการเงินมาก  เลยเพิ่มการเลี้ยงกุ้ง  ก็เลยพากันเจ๊งทั้งระบบ ใช่ใครครับอาจารย์"  ผมถึงกับตีมือผาง  แล้วชี้นิ้วไปยังนักศึกษาผู้นั้น  เหมือนนักบาสเก็ตบอลสแสดงความขอบคุณที่เพื่อนส่งลูกให้ชู๊ต  พร้อมกับตอบว่า "ใช่เลย"

ก่อนที่วงสนทนาจะเลิก  มีเรื่องมหัสจรรย์เกิดขึ้นในวงพูดคุยของเรา  นักศึกษาคนหนึ่งสรุปว่า  "อย่างนี้ความจริงแบบ Paradox มันคล้าย ๆ กับ จิตสำนึกใหม่ ใช่ใหมคะอาจารย์?"  โอ้โห...เท่านั้นแหละครับ...ความรู้สึกผมสุดจะบรรยาย  ได้แต่บอกว่า...วันนี้เรามีดอกไม้บานแล้วหนึ่งดอก  และวันต่อ ๆ ไป  เราจะได้เห็นดอกไม้บานในวงเสวนาของเราอย่างนี้ต่อไปอีก...เชื่อผมได้เลย...ก่อนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน  นักศึกษาคนเดิมกล่าวว่า  "ตอนแรกก็เครียดนะที่มาเรียนมหาวิทยาลัยชีวิต  แต่พอได้ทำความทเข้าใจ  ก็เห็นได้ชัดว่า  การเรียนแบบนี้  มันก็คือการเรียนรู้ชีวิตของเรานี่เอง  ตอนนี้จึงไม่เครียดแล้ว"  ประโยคนี้เป็นการยืนยันได้ว่า  ดอกไม้ดอกนี้ได้เบ่งบานแล้วจริง ๆ ครับท่านผู้ชม...

วันหน้า...เราจะมีวงเสวนากันอีกที่ "สหกรณ์หัวไทร"  ผมเชื่อว่า  คงจะมีเรื่องราวน่าตื่นเต้นแบบนี้มาเล่าสู่กันฟังอีกแน่นอน

สวัสดิ์ พุ่มพวง

หมายเลขบันทึก: 114887เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ใหญ่จริงครับ แต่ละคำกลืนไม่ลงเลย T_T.

   paradox อีกกรณีครับ กรณีการให้สงเคราะห์อย่างลืมหูลืมตา (สุดท้ายก็อ่อนเปลี้ยเพลียแรงกันไปหมด) กับการให้โอกาสเพื่อให้เขาเกิดเห็นคุณค่า/ศักยภาพในตัวเอง (แล้วเขาจะเข้มแข็งจริง ๆ)

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท