บุญบั้งไฟบ้านกุดจาน


ประเพณีบุญบั้งไฟ

    บุญบั้งไฟมีตำนานเล่าขานมานาน จากนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่ เรื่องพระยาคันคาก ล้วนแต่กล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อให้แถน (เทวดา) ได้บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล ถือเป็นประเพณีอันสำคัญที่จะละเลยมิได้ เพราะมีความเชื่อว่า หากหมู่บ้านใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟก็อาจจะก่อให้เกิดภัยภิบัติแก่ผู้คนในชุมชน งานบุญบั้งไฟเป็นงานใหญ่ ลงทุนสูง การจัดงานจะต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของชุมชน หากปีใดเศรษฐกิจในชุมชนฝืดเคืองอาจจะต้องงดจัดงาน ซึ่งต้องไปทำพิธีขอเลื่อนการจัดที่ศาลปู่ตา (ศาลผีบรรพบุรุษหรือเทพารักษ์) ของหมู่บ้าน ความจริงแม้จะจัดหรือไม่ก็ต้องมีการไปกระทำพิธีเซ่นไหว้ที่ศาลปู่ตาอยู่ดี

หมายเลขบันทึก: 112938เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2007 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ยินดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ดูๆ แล้วคนน้อยเกือกตม....นี่อาจารย์
ขออนุญาตออกความเห็นครับ... หลัง ๆ มานี้ผมเห็นชาวบ้านร่วมกันจัด   เรื่องฟ้อนเรื่องแห่/เซิ้งในวันโฮม  เท่านั้น   ส่วนวันจุด  หลายหมู่บ้านให้คนถิ่นอื่นมาประมูลจัด  จับเวลาไล่ขึ้นไล่ลง  มีคนต่างถิ่น  มาเล่นกันเงินสะพัด  ตั้ง 2 -3 วัน   ผิดกับสมัยก่อนซึ่งมีบั้งไฟของคุ้มบ้านที่จัดบุญ   นำบั้งไฟมาจุดถวายแถน  เจ้าปู่อารักษ์หมู่บ้าน  มีรางวัลจากทางวัด-บ้านเล็กๆ น้อยๆ  ชาวบ้านก็มาเชียร์บั้งไฟคุ้มบ้านตัวเอง  อีกทั้งวันแห่ก็นิยมใช้บั้งไฟจริงมาแห่  เดี๋ยวนี้มีแต่บั้งไฟแต่งเท่านั้น  เปลี่ยนแปลงไปมากนะครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท