ใคร? ต้องรับผิดชอบเมื่อผลการลงมติรัฐธรรมนูญ "ไม่รับ" และอาจจะส่งผลต่อการรับผิดชอบของผู้นำประเทศได้


วันประกาศผลมติ รับ และ ไม่รับ จะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองของไทยและอาจมีผลต่อท่านสุรยุทธ์

บทความวันนี้ผมจะไม่วิเคราะห์อะไรมาก  เกี่ยวกับการเมือง  แต่จะให้ทุกท่านได้เห็นอะไรบางอย่าง.... ว่าเห็นตามกันหรือเปล่า....

 

ผมยังไม่เห็นใครออกมาพูดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับผิดชอบต่อการไม่ผ่านมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 50 เลยสักคน  แม้แต่ คมช. เองก็ตาม

 

หากคุณเป็นนายกรัฐมนตรีฐานะผู้นำการบริหาร คุณจะทำอย่างไร?

 

ผมท้าให้เดาเลยว่าจะไม่มีใครออกมารับผิดชอบ ต่อการไม่ผ่านมติรับร่างรัฐธรรมนูญแม้แต่คนเดียว  นอกจากท่านนายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ 

 

เพราะท่านเป็นผู้นำสูงสุดในการบริหารบ้านเมืองซึ่งจะต้องรักษากรอบหรือกฎระเบียบและจารีตประเพณีอันดีงามด้วย  ดังนั้น เมื่อความเกิดความผิดพลาดโดยมติรับร่างร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำไป จะต้องมีผู้หนึ่งผู้ใดต้องออกมารับผิดชอบของการปฏิบัติการครั้งนี้  เสมือนว่าประชาชนไม่พอใจในรัฐบาล  เหมือนกับ สภาผู้แทนราษฎรโหวตไม่ไว้วางใจในการบริหารของรัฐบาล     ....ทำนองเดียวกัน ใครที่อยู่สถานะของผู้นำของรัฐบาลจะต้องออกมารับผิดชอบด้วย...

 

ดังนั้น วันประกาศผลมติ รับ และ ไม่รับ  จะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองของไทยและอาจมีผลต่อท่านสุรยุทธ์ด้วยเช่นกัน

 

การลาออกของท่านนายกเพียงคนเดียว จะไม่มีผลต่อคณะรัฐบาล  แต่ถือได้ว่าเป็นการรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเพียงผู้เดียว   ( เพราะท่านคงไม่คิดจะให้ผู้อื่น ต้องลาออกเหมือนกับท่าน ให้เกิดความวุ่นวายมากไปกว่าที่ท่านลาออก เท่านั้น )

 

การมองหาผู้นำ จะตกไปอยู่ที่ คมช. อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ คิดว่าน่าจะหาผู้นำได้ยากกว่าปกติ เพราะสถานการณ์การเมืองและระบบเศรษฐกิจเป็นภาวะที่คับขันมากทีเดียว     หากสถานการณ์ข้างต้นเป็นจริงขึ้นมา

 

จึงเป็นเรื่องที่ไม่อยากจะคิด แต่ต้องคิด แต่ผมว่า ท่านสุรยุทธ์ หรือท่านผู้อ่านคงทราบกันดี  (สมมุติว่าท่านเป็นนายกฯ ท่านจะตัดสินใจอย่างไร? กับผลที่เกิดขึ้น....)

 

ณ วันนั้นเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองไทยอีกระลอกหนึ่ง ที่ คมช. จะต้องเฟ้นหาผู้นำคนใหม่ ซึ่ง ประธาน คมช. อาจจะต้องรับภาระหน้าที่  ที่ท่าน (ต้องการ หรือ) ไม่ต้องการจะเป็น...

 

และประเด็นเหล่านี้ ฝ่ายค้านก็มองเห็นเหมือนกัน  โดยพยายามไม่ให้รับผ่านมติรัฐธรรมนูญกัน

 

หาก คมช. ไม่สามารถหาผู้นำได้จนกระทั่งประธานคมช ต้องมารับหน้าที่เอง .......ฝ่ายตรงข้าม พร้อมที่จะใช้เป็นข้ออ้าง ประท้วงรุนแรงเพิ่มขึ้น

 

ถามว่าขณะนี้เราได้เตรียมพร้อมรับมือ ในสถานการณ์เหล่านี้แล้วหรือยัง?

 

หนึ่ง   มองหาผู้นำคนใหม่?   ตัวเลือกมีน้อยเหลือเกิน ถึงมีแต่ก็ไม่น่าจะมีใครเต็มใจมาแบกรับภาระ

สอง   หรือจะให้  ประธานคมช. รับหน้าที่ไปพลางก่อน?

 

แต่ผมมองเห็นในแนวทางหนึ่งที่น่าจะพอแก้ไขได้ บ้าง คือ ควรจะมองไปที่อดีตนายกต่างๆ   ในฐานะที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาก่อน เคยเป็นผู้ที่ทำงานเสียสละมาก่อน

 

จะมองใครบ้าง?

 

ท่านชวน   ท่านบรรหาร  ท่านอานันท์  ท่านพลเอก ชวลิต

ท่านชวน  สามารถเป็นได้ แต่ท่านอยู่กับพรรคตรงข้ามอีกฝ่ายหนึ่ง  ถ้าหากท่านประสงค์จะช่วยประเทศไทยอีกครั้ง  ท่านต้องลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาพรรคและสมาชิกพรรค

 ท่านบรรหาร  สามารถเป็นได้  เพราะท่านเป็นหัวหน้าพรรคที่ไม่ค่อยจะมีความขัดแย้งกับพรรคใด  หากท่านประสงค์จะช่วยประเทศไทย ท่านต้องลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค

ท่านอานันท์  สามารถเป็นได้ แต่ท่านพร้อมหรือทำใจทำงานร่วมกับ คมช. ได้หรือเปล่าเท่านั้น  

ท่านพลเอก ชวลิต เดิมทีท่านอยู่ทางฝ่ายรัฐบาลเก่า  ดังนั้นจึงไม่เหมาะทุกประการ

ถามว่าหนึ่ง ใน สี่ ท่านนี้ ใครเป็นตัวเลือกที่น่าจะเลือกอันดับแรก... 

ท่านบรรหารน่าจะเป็นตัวเลือกอันดับแรกก่อน  เพราะผมเชื่อว่า  หากต้องการให้ท่านเสียสละเพื่อประเทศไทยแล้ว ผมว่าท่านสามารถเป็นตัวเลือกได้  สำคัญตรงที่ ท่านจะวางมือทางการเมืองหรือไม่   ใครจะมาเป็นหัวหน้าพรรคแทนท่าน ลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งต่อไป  (  การเป็นตัวแปรใหม่ทางการเมือง อาจจะส่งผลทำให้ท่านมีบทบาทใหม่ในบ้านเมืองในอนาคตต่อไป ...หากท่านมาทำหน้าที่ผู้นำประเทศแทนที่ท่านสุรยุทธ์เพื่อเสียสละการว่างเว้นผู้นำเพื่อเลี่ยงภาวะความรุนแรงทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าประธาน คมช. จำเป็นต้องขึ้นมาเป็นนายก ฯ เสียเอง    และ....  หาก คมช. ติดต่อไปท่านจะต้องคิดให้หนัก หรือ ท่านอาจจะต้องเตรียมตัวได้แล้ว   ...และมองหาผู้นำพรรคคนใหม่ในการสู้ศึกครั้งหน้า  ใคร?ควรจะเป็น... )

 

ผมมีทางเลือกอีกคนที่โดดเด่นขึ้นมาในขณะนี้  ( แต่ผมว่ามีมานานแล้ว   )

...ท่านชัยอนันต์  สมุทวณิช  ตาม ประวัติการทำงานและความสามารถ  ท่านจะเป็นผู้ที่มีความโดดเด่นมากกว่าใคร ๆ ในเหล่าบรรดานักการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน   .... กล่าวตามสถานการณ์ปัจจุบัน ท่านไม่ควรจะปรากฎอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสิ้นในระยะนี้   และ...วางตัวให้เป็นกลางมากที่สุดสมกับฉายานาม  มืออาชีพซ่อมได้ 

  

ขณะนี้มีกระบวนการชักชวนกันมากมาย เพื่อให้มีการลงมติ รับรัฐธรรมนูญ พอๆ กับ ฝ่ายตรงข้าม

 

เราจะให้มีการเลือกตั้งเร็ว หรือไม่ อยู่ที่การรับหรือไม่รับ 

 

ขอพักไว้ตรงนี้ก่อน ครับ   เท่าที่ผมเขียนมา คงจะเดาได้ว่าผมคิดอย่างไร  เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นกับการรับ หรือ ไม่รับ

 

แต่เราอย่าลืมว่าจะต้องมีผู้ที่ออกมารับผิดชอบ ผลที่ออกมาด้วย

ณ เวลานี้ ยังไม่มีใครพูดอะไรออกมาเลย?  แต่โดยหลักธรรมเนียมประเพณี หรือ โดยมารยาททางการเมืองแล้ว เราคงจะเดาได้ไม่ยาก  ใคร? จะเป็นผู้ที่ออกมารับผิดชอบ 

 

หมายเหตุ

...ได้จำข่าวที่เกี่ยวข้องกับการทำนายการเปลี่ยนตัวผู้นำทางการเมือง โดยหมอดูที่เชียงใหม่หรือไม่  ตอนแรกผมก็ไม่ได้คิดอะไร คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะไม่มีเหตุผลอะไรมารองรับ.... แต่มาช่วงหลัง เหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนไป หรือ เริ่มเห็นการบิดเบี้ยว เกี่ยวกับ พรบ ที่อาจจะเกิดขึ้นมาหลังรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 50 ถ้ามีการรับร่างจริง ๆ   ดังนั้นโอกาสที่จะไม่รับร่างจึงเกิดได้สูง  และการรับผิดชอบปฏิบัติการครั้งนี้ จึงหมายถึงการเปลี่ยนตัวผู้นำประเทศด้วยเช่นกัน 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 112934เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2007 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตอนนี้ยังไม่รู้เลยค่ะว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ร่างขึ้นมาว่างัยบ้าง ยังไม่ได้เลยไม่รู้เหมือนกันว่าจะรับหรือไม่ ใครที่ทราบช่วยบอกหน่อยได้มั้ยคะว่าอย่างไร

 

ทำไมบ้านเมืองเรามันถึงได้วุ่นวายอะไรขนาดนี้นะ ดูๆไปก็ไม่แตกต่างจากการแย่งชิงด้านวัตถุเลย ทำไมไม่คิดที่จะสร้างสรรค์ด้านศักภาพของมนุษย์บ้างนะ ด้านจิตใจ ปลูกฝังจิตใต้สำนึกที่ดีงาม จากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง สร้างความรักให้แน่นแฟ้น สร้างความสามัคคีให้เป็นปึกแผ่น ดูเยี่ยงอย่างผึ้งตัวน้อยๆสิ หรือว่าตัวต่อสิมันก็ทำงานไม่แตกต่างมนุษย์เลย บางตัวทำหนัก บางตัวไม่ได้ทำเช่นกัน มนุษย์ซะอีกที่มีดีกว่ามันคือมีธรรม แต่หาที่จะใช้ธรรมนั้นให้มีค่า แต่กลับโทษกันไปกันมาว่าคนโน้นกินบ้าน คนนี้กินเมือง อิจฉาริษยา เกิดความมักใหญ่ใฝ่สูง ต่างคนก็ไม่คิดที่จะยอมกัน ไม่ส่องลงมาเบื้องล่างว่า คนที่อยู่ข้างล่างเค้าแหงนหน้าตะเกียกตะกายแทบจะขาดใจดั่งคนที่กำลังจะจมน้ำมะลำมะล่อ ประเทศชาติกว้างใหญ่ขนาดนี้ยังมามัวแต่จะจับผิดกันงั้นเหรอ เพราะผู้นำเป็นแบบอย่างงี้สิประชากรมันถึงเอาแบบอย่างเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้นำเป็นอย่างไรประชากร หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาก็จะเป็นเยี่ยงนั้น การลงมติ หรือการเลือกตั้งจะซักกี่ครั้งก็ตามมันก็จะเป็นอย่างนี้เสมอๆ ตราบใดที่ศักภาพของความเป็นมนุษย์เราจะตกต่ำอย่างนี้และจะดิ่งลงเรื่อยๆฉันเป็นคนไทยคนหนึ่งที่ดิ้นรนเพื่อปากเพื่อท้องไม่อยากยุ่งซักเท่าไรแต่สิทธิของความเป็นมุษยชาติมันมีอยู่ในตัวของทุกคน หากเป็นไปได้ฉันอยากที่จะทำตามพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่เพียงพระองค์(พระอาญามิพ้นเกล้าที่ข้าพพระพุทธเจ้าเอ่ยพระนามของพระองค์) ด้วยความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหารนี่ คงจะทำใจให้รับร่างลำบาก  เพราะเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ลำเอียงที่สุด เช้าข้างคนที่มายึดอำนาจประชาธิปไตยอย่างน่าละอาย  หากคนที่ยังไม่เคยอ่านก็จะถูกหลอกให้รับๆไปก่อน โดยอ้างว่าจะได้เลือกตั้งเร็วๆ จะมีประโยชน์อะไรถ้าเลือกตั้งเร็วๆ แต่ได้คนเลวๆ ไร้ความสามารถมาบริหารประเทศ แล้วเราจะย้อนยุคไปอยู่สมัยจอมพลถนอม จอมพลประภาดอีกครั้ง  ชอบเหรอ...
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท