มะเขือเทศ อาหารแบบนี้มีดี


พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังคุณค่าของมะเขือเทศมาแล้วไม่มากก็น้อย... วันนี้มีข่าวดีสำหรับท่านที่ชื่นชอบมะเขือเทศมาฝากครับ...

พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังคุณค่าของมะเขือเทศมาแล้วไม่มากก็น้อย… วันนี้มีข่าวดีสำหรับท่านที่ชื่นชอบมะเขือเทศมาฝากครับ… <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">เว็บไซต์สถาบันวิจัยมะเร็งสหรัฐฯ (AICR) แนะนำให้กินมะเขือเทศเป็นประจำ เพื่อป้องกันมะเร็ง…</p><p></p><p>มะเขือเทศเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีสารพฤกษเคมี หรือสารคุณค่าพืชผัก(แคโรทีนอยด์)กลุ่ม สีแดง ที่เรียกว่า ไลโคพีน (lycopene)” สูง </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไลโคพีนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด การอักเสบ และการเผาผลาญอาหารที่มีประสิทธิภาพต่ำ </p><p></p><p>การเผาผลาญอาหารที่มีประสิทธิภาพต่ำเกิดเพิ่มขึ้นเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น เนื่องจากไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ที่ทำหน้าที่เผาผลาญอาหารเป็นกำลังงานมีประสิทธิภาพต่ำลง </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ข่าวดีคือ คนเราเพิ่มจำนวนไมโทคอนเดรีย และปรับสภาพหรือ ยกเครื่อง ไมโทคอนเดรียใหม่ได้ด้วยการออกกำลังเป็นประจำ</p><p></p><p>ไมโทคอนเดรียทำหน้าที่คล้ายๆ โรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าที่ดีย่อมสร้างกำลังงานได้มาก และปล่อยสารพิษ(ในที่นี้คือ อนุมูลอิสระ)ออกมาน้อย </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไมโทคอนเดรียของคนที่ไม่ได้ออกกำลังเป็นประจำเปรียบคล้ายเครื่องยนต์เก่าๆ ที่ปล่อยควันออกมาโฉมงโฉงเฉง(มากมาย)</p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">  </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไมโทคอนเดรียของคนที่ออกกำลังเป็นประจำมีจำนวนมากกว่า ทำให้แข็งแรงกว่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่า </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทำให้ผลิตกำลังงานออกมาได้มาก และปล่อยของเสีย โดยเฉพาะอนุมูลอิสระออกมาน้อยกว่า เปรียบคล้ายเครื่องยนต์ใหม่ที่ สะอาด กว่า(เครื่องยนต์เก่า)</p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">สรุปง่ายๆ คือ วิธีที่จะทำให้คนเราปลอดภัยจากอนุมูลอิสระมากขึ้น และลดโอกาสได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมให้น้อยลงได้แก่ </p><ol style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> หลีกเลี่ยงแสงแดดแรง โดยเฉพาะ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> หลีกเลี่ยงสารพิษ โดยเฉพาะเหล้า(เบียร์ ไวน์…) บุหรี่ ควันรถ ควันไฟ และไขมันสัตว์ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> กินโปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากสัตว์อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เพื่อลดไขมันจากสัตว์ ซึ่งมีแฝงอยู่ในเนื้อ แม้แต่เนื้อแดงก็มีไขมันสัตว์ปนอยู่ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ไม่ดื่มนมและไม่กินผลิตภัณฑ์นมชนิดไขมันเต็มส่วน (whole milk) ถ้าอายุ 2 ปีขึ้นไป… แนะนำให้ดื่มนมหรือกินผลิตภัณฑ์นมชนิดไขมันต่ำ (low fat) หรือไม่มีไขมัน (nonfat) แทน </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> หลีกเลี่ยงการอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเนื้อเยื่อรอบโคนฟัน หรือปริทนต์อักเสบ (periodontisi) ซึ่งอาจปล่อยสารเคมีที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเข้าสู่กระแสเลือด วิธีป้องกันทำได้ด้วยการแปรงฟัน-ใช้ไหมขัดฟัน (dental floss) ให้ถูกวิธีทุกวัน ไปตรวจช่องปากกับทันตแพทย์ทุก 6-12 เดือน ฯลฯ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ออกกำลังเป็นประจำ อย่างน้อยเทียบเท่าการเดินเร็ววันละ 30 นาที(ถ้าไม่อ้วน) หรือ 60 นาที(ถ้าอ้วน หรืออ้วนลงพุง) </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">กินสารต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอทุกวัน โดยเฉพาะข้าวกล้อง ผัก ถั่ว งา และผลไม้ เน้นผักและผลไม้ไม่หวานจัด กินผักให้มากกว่าผลไม้ เพื่อป้องกันโรคอ้วน และโรคอ้วนลงพุง</li> </ol><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ขอกลับมาที่เรื่องมะเขือเทศอีกครั้ง… ผลไม้ที่มีไลโคพีนสูงได้แก่ มะเขือเทศ แตงโม มะละกอ ฝรั่งพันธุ์สีแดง และเสาวรส(เกรพฟรุต)พันธุ์สีแดง</p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไลโคพีนดูดซึม(เข้าสู่ร่างกาย)ได้ดีหลังผ่านการทำอาหาร หรือกระบวนการผลิตที่ใช้ความร้อน</p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ดังนั้นซอสมะเขือเทศ หรือน้ำมะเขือเทศจึงเป็นแหล่งไลโคพีนที่ดีมาก และดีกว่าการกินสดๆ ไม่เหมือนพืชผักชนิดอื่นๆ ที่กินสดดีกว่ากินสุก(ผ่านความร้อน) </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">การศึกษาในห้องทดลองพบว่า ไลโคพีนยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งหลายชนิด รวมทั้งเซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งเยื่อบุมดลูก</p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไลโคพีนในร่างกายมีความเข้มข้นสูงที่ต่อมลูกหมากมากเป็นพิเศษ… นี่อาจเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมมะเขือเทศจึงออกฤทธิ์ได้ดีที่นี่(ต่อมลูกหมาก) </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ไลโคพีนลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากได้มาก</p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">การศึกษาในประชากรพบว่า ไลโคพีนช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับอ่อน </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">การศึกษาหนึ่งทำในประชากรผู้ชายจำนวนมาก ติดตามไป 6 ปี</p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่กินผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ (มะเขือเทศสุก ซอสมะเขือเทศ พิซซาใส่มะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ) มากที่สุดมีความเสี่ยงมะเร็งน้อยลงเทียบกับกลุ่มที่กินน้อยที่สุดดังต่อไปนี้ </p><ul style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง 35% </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดลุกลาม หรือแพร่กระจาย (advanced prostate cancer) ลดลง 53% (มะเร็งต่อมลูกหมากมีทั้งชนิดอยู่เฉพาะที่ โตช้า ไม่ค่อยร้ายแรง และชนิดลุกลาม แพร่กระจาย หรือร้ายแรง) </li> </ul><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผู้เขียนขอเพิ่มเติมคุณค่าพิเศษของมะเขือเทศ หรือน้ำมะเขือเทศอีกหน่อยคือ </p><ul style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> น้ำมะเขือเทศมีน้ำตาลต่ำมาก ประมาณ 10 มิลลิกรัม (40 แคลอรี) ต่อ 200 มิลลิลิตร และช่วยให้อิ่มได้ดี จึงใช้เสริมในสูตรอาหาร เพื่อป้องกันโรคอ้วน และโรคอ้วนลงพุงได้ดี </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">มะเขือเทศ และน้ำมะเขือเทศมีเมือก หรือเส้นใยชนิดละลายน้ำสูง ช่วยดูดซับโคเลสเตอรอลในน้ำดี และขับไปกับอุจจาระ ช่วยป้องกันโรคไขมันในเลือด(โคเลสเตอรอล)สูงได้ระดับหนึ่ง</li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">เส้นใยชนิดละลายน้ำหรือเมือกในมะเขือเทศ และน้ำมะเขือเทศ ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้า-ลดลงช้า ทำให้อิ่มนาน ไม่หิวง่าย ช่วยป้องกันโรคอ้วน และโรคอ้วนลงพุงได้ดี</li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ท่านที่มีเวลาน้อย และกินผักผลไม้น้อยกว่าวันละ 5 สี 5 ส่วนบริโภค (1 ส่วนบริโภคมีปริมาณเท่ากับแผ่น CD, ทัพพีข้าว หรือหลอดไฟชนิดมีไส้) แนะนำให้ดื่มน้ำมะเขือเทศเสริม เพิ่มสัดส่วนผักให้ถึงเกณฑ์ </li> </ul><p>ขอเรียนเชิญพวกเราหันมากินมะเขือเทศ และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารเสริมชั้นเยี่ยมกันครับ…</p><p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

  • ผู้เขียนขอปิดส่วนความคิดเห็น และงดตอบปัญหา เพื่อปรับปรุงคำหลัก (key words) บันทึกย้อนหลังไปพลางก่อน

ขอแนะนำ...                                                    

  • แนะนำให้อ่านเรื่อง "เสาวรส(เกรพฟรุต)กับเต้านม" เนื่องจากมีการศึกษาว่า เกรพฟรุตอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อาหารเสริม"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อนุมูลอิสระ"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "มะเร็ง"
  • [ Click - Click ]
  • ขอแนะนำบล็อก "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                       

</span></span><ul>

  • Many thanks to AICR > Foods that fight cancer > Tomatoes > [ Click ] > July 15, 2007.
  • <li> ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค </li>

  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 16 กรกฎาคม 2550.
  • </span> </ul>

    หมายเลขบันทึก: 112095เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท