ความเหมือนและความต่างของภาษาบนโลกนี้


เรื่องของภาษา

หากเราศึกษาเรื่องภาษามาเทียบกับอีกภาษาหนึ่งบนโลกนี้ จะพบว่ามีบางคำที่มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าเราจะเทียบภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาอินเตอร์กับภาษาไทย หรือ กับภาษามลายู อาหรับ หรือไม่ก็ภาษาจีน หรือไม่ระหว่างภาษาที่สื่อกันแล้วเข้าใจกันแต่ก็อย่างน้อยก็มีความต่างกันบ้าง อย่างภาษาไทยกับภาษาลาว ภาษามาเลย์กับภาษาอินโด

จะให้ยกตัวอย่างให้ด้วยดีไหมครับ อย่างคนลาวกล่าวว่าสบายดีไหม เขาจะสื่อว่า สวัสดีนั่นเองแหละคร๊าบ ส่วนภาษามาเลย์บางคำความหมายเดียวกันแต่เขียนต่างกัน อย่าง Beda (Indo) และ Beza (malay) ที่มีความหมายว่า ต่างกัน พอลงภาคสนามจริงๆ บางทีก็เผลอว่าคุยกับใครกันแน่ ส่วนคำที่เขียนเหมือนกันเป๊ะๆ เลย ก็อย่างคำว่า Pusing ถ้าไปมาเลย์ คนจะเข้าใจว่าจะให้หมุนหรือเลี้ยวรถแน่นอน แต่ถ้าอินโดบอกว่า Pusing เขาเข้าใจว่าเราปวดหัว หรือมีใครปวดหัวแน่นอน

อีกคำบ้านเราเรียก pusat ว่าสะดือของเด็ก แต่ถ้าไปอินโดต้องใช้คำว่า pusar แทนนะ เพราะจะทำให้เขา (คนอินโด) ไม่ ง.งู สองตัว

เจอกันฉบับหน้านะ 

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษามลายู-อินโด
หมายเลขบันทึก: 111947เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้นตระกูลภาษามาจากรากเดียวกันครับ

หากดูที่ทฤษฎีทางความเชื่อในศาสนา  แต่ถ้าดูหลายๆทฤษฎี  คือการแตกกลุ่มของคน และการแตกตัวของภาษาตามไปกับคนครับอาจารย์ ตัวอย่างครับ Puket เราสามารถหาตนต่อของคำได้ตามทฤษฎีสืบสร้างครับ เสียง p ในไทย แต่เป็นเสียง b ในมลายู เป็น Buket ครับ มีอะไรคุยกันได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท